Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42951
Title: การแปรของสระสูงยาว (i:, ɨ:, u:) ในภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราชตามตัวแปรอายุ เพศ และวัจนลีลา
Other Titles: VARIATION OF LONG HIGH VOWELS (i:, ɨ:, u:) IN NAKHON SI THAMMARAT DIALECT BY SPEAKERS’ AGE, GENDER AND STYLE
Authors: สุวรรณรัตน์ ราชรักษ์
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: amaraprasithrathsint@gmail.com
Subjects: ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น (นครศรีธรรมราช)
ภาษาถิ่น -- การออกเสียง
Thai language -- Dialectology (Nakhon si Thamaarat)
Dialectology -- Pronunciation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการสังเกตภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราชในปัจจุบันพบว่าคำไทยที่เขียนด้วยสระสูงยาว มีการออกเสียงในคำบางคำเหมือนคำในภาษาไทยกรุงเทพ และถึงแม้จะมีผลงานในอดีตกล่าวถึงปรากฏการณ์นี้ แต่ก็ยังไม่มีคำอธิบายเหตุผลของการแปรดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการแปรของสระสูงยาว (i:, ɨ:, u:) ในภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราช เพื่อวิเคราะห์รูปแปร และความสัมพันธ์ของรูปแปรกับสิ่งแวดล้อมทางเสียงและตัวแปรสังคม โดยตั้งสมมติฐานว่า สระสูงยาว (i:, ɨ:, u:) ในภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราชมีรูปแปร 2 รูปคือ รูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] และรูปแปรท้องถิ่น [e:, ə:, o:] โดยมีเงื่อนไขการปรากฏตามสิ่งแวดล้อมทางเสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะต้น และพยัญชนะท้าย และมีการแปรตามตัวแปรสังคมได้แก่ อายุ เพศ และวัจนลีลา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการออกเสียงคำที่สะกดด้วยสระ และ ที่ตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาทั้งสิ้น 80 คน แบ่งเป็นเพศชาย 40 คน และเพศหญิง 40 คน อายุระหว่าง 12 – 80 ปี และมีระดับการศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้ตอบคำถามรายการคำ จำนวน 36 คำ เพื่อทดสอบวัจนลีลาแบบเป็นทางการ และ ให้พูดคุยตามหัวข้อสนทนาที่กำหนดให้ 4 หัวข้อเพื่อทดสอบวัจนลีลาแบบไม่เป็นทางการ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าสระสูงยาว (i:, ɨ:, u:) มี 2 รูปแปร คือรูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] และรูปแปรท้องถิ่น [e:, ə:, o:] รูปแปรที่ปรากฏมากที่สุดคือรูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] ในการวิเคราะห์อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางเสียง ซึ่งได้แก่เสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะต้น และเสียงพยัญชนะท้าย พบว่ารูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] ปรากฏกับทุกสิ่งแวดล้อมทางเสียง และปรากฏมากกว่ารูปแปรท้องถิ่น [e:, ə:, o:] เกือบทุกกรณี นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะพยางค์ที่บราวน์และดิลเลอร์กล่าวไว้ว่าควรออกเสียงเป็น [e:, ə:, o:] กลับพบการปรากฏของรูปแปร [i:, ɨ:, u:] ในอัตราที่สูงมาก จึงสรุปได้ว่าภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราชมีการแปรของเสียงที่ต่างไปจากเงื่อนไขของบราวน์และดิลเลอร์ เมื่อพิจารณาปัจจัยทางสังคมพบว่า การแปรของสระสูงยาว (i:, ɨ:, u:) มีความสัมพันธ์กับตัวแปรเพศ อายุ และวัจนลีลา กล่าวคือ เพศหญิงใช้รูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] มากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุน้อยใช้รูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] มากกว่าผู้ที่มีอายุมาก และในวัจนลีลาแบบเป็นทางการใช้รูปแปรมาตรฐาน [i:, ɨ:, u:] มากกว่าวัจนลีลาแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้..
Other Abstract: From my observation of Nakhon Si Thammarat dialect nowadays, words spelled with long high vowel (i:, ɨ:, u:) are unusually pronounced as the corresponding words in Bangkok Thai. Even though there have been studies on this phenomenon, no explanation of such variation has been provided. Therefore, this study aims to examine the variation of long high vowels (i:, ɨ:, u:) in Nakhon Si Thammarat dialect in order to analyze their variants and their relationship with phonological environments and social factors. It is hypothesized that each of the long high vowels (i:, ɨ:, u:) has two variants: the standard one [i:, ɨ:, u:] and the vernacular one [e:, ə:, o:], and that their occurrences are influenced by phonological environments; i.e., tones, initial consonants and final consonants, and the speakers’ age, gender and style. Data was collected from 80 informants in Tambon Suan Khan, Change Klang District, Nakhon Si Thammarat Province. They were 12-80 years old and divided into 40 males and 40 females. Formal style data was obtained by asking them questions so that they would answer them by using 36 words in a list and informal style data was elicited by having them talk on four topics about everyday life. The results of the analysis show that each of the long high vowels (i:, ɨ:, u:) has two variants: standard and vernacular. The standard variants occur more frequently than vernacular ones. Concerning the phonological environments, the results show that the standard variants [i:, ɨ:, u:] appear in all the environments and are used more frequently than the vernacular ones in almost all of the environments. The syllable structures that according to Brown and Diller require [e:, ə:, o:] turn out to contain both [i:, ɨ:, u:] and [e:, ə:, o:]. It is also found that there is a significant correlation between social factors and the use of long high vowels. Female speakers use the standard variants more frequently than male. Young speakers are found to use the standard variants more frequently than older speakers. Also, the standard variants are used more in formal style than in informal style. These results confirm the hypotheses of this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42951
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.424
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.424
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480196222.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.