Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42971
Title: การศึกษาการจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A STUDY OF KNOWLEDGE MANAGEMENT OF TEACHERS IN PRIVATE EDUCATION INSTITUTIONS IN BANGKOK METROPOLIS
Authors: ธิดารัตน์ เสวิกุล
Advisors: เอกชัย กี่สุขพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ekachaiks@hotmail.com
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
โรงเรียนเอกชน
Knowledge management
Private schools
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ผ่านเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารอบที่สองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2552 ในระดับดีและมีผลการทดสอบระดับชาติปี พ.ศ. 2554 ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ทั้งหมด 30 โรงเรียน โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ของ Marquardt (2011) ทั้ง 6 ด้าน คือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บและการสืบค้นความรู้ การวิเคราะห์และสร้างเหมืองข้อมูล การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ และการประยุกต์ใช้และการปรับข้อมูลให้ถูกต้องเที่ยงตรง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จำนวน 360 คน และครู จำนวน 364 คน รวมทั้งหมด 724 คน ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 601 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 83.01 ผลการวิจัย พบว่า 1) การแสวงหาความรู้ สถานศึกษามีการกำหนดสิ่งที่ครูต้องแสวงหาความรู้ และมีการสนับสนุนให้ครูมีการแสวงหาความรู้ใหม่ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การสร้างความรู้ มีการจัดเวลาเฉพาะให้ครูได้เข้าร่วมประชุมภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และการเข้าร่วมประชุมรวมเพื่อสร้างหรือพัฒนาความรู้ใหม่ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด การสร้างความรู้ใหม่ส่วนมากอยู่ในด้านการพัฒนาหลักสูตร และเทคนิคการสอนแบบต่างๆ 3) การจัดเก็บและการสืบค้น มีการกำหนดประเภทความรู้เพื่อทำการจัดเก็บ และมีการประมวลและกลั่นกรองความรู้ก่อนการจัดเก็บความรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การวิเคราะห์และสร้างเหมืองข้อมูล วิธีการเพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง คือ การกำหนดหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการนำข้อมูลความรู้ต่างๆมาวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆมาจัดการข้อมูลของสถานศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้เพื่อจัดการข้อมูลของสถานศึกษา คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยใช้ร่วมกับโปรแกรมการสืบค้น 5) การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ ครูมีการถ่ายโอนความรู้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้เพื่อนครูได้รับรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 6) การประยุกต์ใช้และการปรับข้อมูลให้ถูกต้องเที่ยงตรง วิธีการปรับข้อมูลความรู้ของสถานศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ คือ การบันทึกหลังการปฏิบัติงานของครู และการประเมินผลการจัดการความรู้ของครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: This research aimed to study knowledge management of teachers in Private Basic Education Institutions in Bangkok Metropolis, obtaining a good level based on the ONESQA's evaluation criteria and evaluation standard of quality education on the second round from 2006 – 2009, and having the national test results in 2011 equivalent to or above the average level, 30 schools. By using the conceptual framework of Marquardt (2011) covering all six aspects of knowledge management: knowledge acquisition, knowledge creation, knowledge storage, analysis and data mining, knowledge transfer and dissemination and knowledge application and validation. Sample in this study consisted of 360 administrators and 364 teachers, 724 in total. 601 questionnaires have been returned (83.01%). The research results showed that: 1) Knowledge acquisition; what was practiced most was that teachers needed to acquire the institutions determined what members of the same groups subjects and attended a group meeting and encouraged teachers to seek new knowledge; 2) Knowledge creation; There was a specific time when the teachers participated in a meeting with the group for create or develop new bodies of knowledge. Most of the new knowledge concerned development of curriculum and teaching techniques; 3) Knowledge storage; the knowledge was categorized and refined before being stored and retrieval, was practiced most; 4) Analysis and data mining; what was practiced most that method to get the correct knowledge was to determine a person or unit authority or responsibility in bringing various knowledge to be analyzed and validated as well as using a variety of information technology to management the information in schools. And information technology to be used to manage school data network was the Internet, to be applied in conjunction with search engine program; 5) Knowledge transfer and dissemination; what was practiced most that teacher used to transfer knowledge from self-study to fellow teachers; and 6) Knowledge application and validation; the method that was practiced most to improve knowledge existing in the school in order to obtain the correct and up-to-date knowledge was to record the after-performance of teachers and evaluation of knowledge management of teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42971
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.410
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.410
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483359827.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.