Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42996
Title: การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีภูมิหลังเป็นตัวแปรกำกับ: การเปรียบเทียบระหว่าง PLS-SEM และ CB-SEM
Other Titles: DEVELOPMENT OF A MEASUREMENT MODEL AND A CAUSAL MODEL OF UNDERGRADUATE STUDENTS’ STATISTICAL LITERACY WITH BACKGROUND AS THE MODERATORS: A COMPARISON BETWEEN PLS-SEM AND CB-SEM ANALYSES
Authors: มารยาท โยทองยศ
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: duangkamol.t@chula.ac.th
Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: สถิติ -- การศึกษาและการสอน
การศึกษา -- วิจัย
Statistics -- Study and teaching
Education -- Research
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลการวัดของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีภูมิหลังเป็นตัวแปรกำกับ 2) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีภูมิหลังเป็นตัวแปรกำกับ และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีภูมิหลังเป็นตัวแปรกำกับระหว่าง PLS-SEM และ CB-SEM ตัวอย่างในการวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย จำนวน 1,014 คน ได้จากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการรู้สถิติ โมเดลการวิจัยที่ใช้ตรวจสอบมี 2 ลักษณะ คือ โมเดลการวัดการรู้สถิติซึ่งการรู้สถิติประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ และลักษณะนิสัย โดยองค์ประกอบด้านความรู้มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ทักษะการรู้หนังสือ ความรู้สถิติศาสตร์ ความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้เชิงบริบท และทักษะเชิงวิพากษ์ และองค์ประกอบด้านลักษณะนิสัย มี 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ท่าทีเชิงวิพากษ์ และความเชื่อและทัศนคติต่อสถิติ และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีซึ่งมีตัวแปรการเรียนรู้สถิติด้วยเทคโนโลยี และการมีประสบการณ์กับสถิติส่งผลต่อการรู้สถิติ โดยทั้งสองโมเดลมีตัวแปรภูมิหลัง คือ เพศ กลุ่มสาขาวิชา การเรียนวิชาสถิติระดับปริญญาตรี และการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีเป็นตัวแปรกำกับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ และการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุกลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรม XLSTAT-PLSPM และ LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) โมเดลการวัดการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีซึ่งประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ และลักษณะนิสัย โดยองค์ประกอบด้านความรู้มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ทักษะการรู้หนังสือ ความรู้สถิติศาสตร์ ความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้เชิงบริบท และทักษะเชิงวิพากษ์ และองค์ประกอบด้านลักษณะนิสัย มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ท่าทีเชิงวิพากษ์ และความเชื่อและทัศนคติต่อสถิติ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบทั้งสองด้านและตัวบ่งชี้ทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบด้านความรู้มีน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่าองค์ประกอบด้านลักษณะนิสัย ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบด้านความรู้ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดใกล้เคียงกัน คือ ทักษะการรู้หนังสือ และความรู้สถิติศาสตร์ รองลงมาคือ ความรู้คณิตศาสตร์ ความรู้เชิงบริบท และตัวบ่งชี้ที่มีน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุด คือ ทักษะเชิงวิพากษ์ ส่วนตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบด้านลักษณะนิสัยพบว่า ท่าทีเชิงวิพากษ์มีน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่าความเชื่อและทัศนคติต่อสถิติ นอกจากนี้ภูมิหลังด้านการเรียนวิชาสถิติระดับปริญญาตรีมีอิทธิพลเป็นตัวแปรกำกับน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทักษะเชิงวิพากษ์ โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่เคยเรียนวิชาสถิติมีน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทักษะเชิงวิพากษ์สูงกว่ากลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่เคยเรียนวิชาสถิติ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีตัวแปรการเรียนรู้สถิติด้วยเทคโนโลยีและการมีประสบการณ์กับสถิติส่งผลต่อการรู้สถิติมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการเรียนรู้สถิติด้วยเทคโนโลยีและการมีประสบการณ์กับสถิติส่งผลต่อการรู้สถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการมีประสบการณ์กับสถิติมีอิทธิพลต่อการรู้สถิติมากกว่าการเรียนรู้สถิติด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้อิทธิพลของการเรียนรู้สถิติด้วยเทคโนโลยีต่อการรู้สถิติในกลุ่มนิสิตนักศึกษาชายสูงกว่านิสิตนักศึกษาหญิง 3) การเปรียบเทียบโมเดลการวัดและโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีทั้งโมเดลในภาพรวมและโมเดลที่มีภูมิหลังของนิสิตนักศึกษาเป็นตัวแปรกำกับระหว่าง PLS-SEM กับ CB-SEM พบว่า ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีต่างกันเรื่องการมีนัยสำคัญและขนาดของพารามิเตอร์ ค่าประเมินโมเดล (R2) และผลการเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์ระหว่างภูมิหลังของนิสิตนักศึกษา ในขณะที่โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการรู้สถิติของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีต่างกันเรื่องขนาดของพารามิเตอร์และค่าประเมินโมเดล (R2)
Other Abstract: The objectives of this research were to: 1) develop a measurement model and 2) a causal model of undergraduate students’ statistical literacy with background variables as the moderators, and 3) compare the measurement model and the causal model of undergraduate students’ statistical literacy with background variables as the moderators between PLS-SEM and CB-SEM analysis. The sample, randomly selected using two-stage sampling, consisted of 1,014 undergraduate students. The research instrument was a questionnaire using Likert scale and multiple choices. The research variables were divided in two parts; knowledge and disposition. The first part consisted of 5 indicators: Literacy, statistical knowledge, mathematical knowledge, context knowledge and critical skill, and the latter consisted of 2 indicators: critical stance and believe and attitude toward Statistics. Data analyses were descriptive statistics, independent t-test, confirmatory factory analysis, confirmatory factory analysis multiple groups, path analysis, path analysis multiple groups using XLSTAT-PLSPM and LISREL analysis for model validation. The major findings were summarized as follows: 1) the measurement model of undergraduate students’ statistical literacy with background variables as moderators fit to the empirical data. The analysis results revealed that all indicators had significant loadings with the causal relationships between indicators and constructs. The comparison of the measurement model between background variables indicated measurement invariance. 2) The casual model of undergraduate students’ statistical literacy with background variables as the moderators fit to the empirical data. Two factors: learning statistics with technology and experience with statistics had significant effects on statistical literacy. The comparison of the causal models of undergraduate students’ statistical literacy between background variables indicated model invariance. 3) The comparison between using PLS-SEM and CB-SEM methods to validate the measurement model and casual model of undergraduate students’ statistical literacy both overall and with background variables as moderators provided significantly different results in parameters’ statistical significance and magnitude, R2 for model assessment and result in comparison of parameter between groups for the measurement model of undergraduate students’ statistical literacy. Nevertheless, the casual model of undergraduate students’ statistical literacy provided significantly different results in parameters’ magnitude and R2 for model assessment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.465
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.465
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484234127.pdf15.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.