Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43085
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: A RELATIONSHIP BETWEEN HEALTH LOCUS OF CONTROL WITH HEALTH BEHAVIOR AND THE QUALITY OF LIFE IN THE ELDERLY OF THE NORTHEASTERN
Authors: สโรชา อยู่ยงสินธุ์
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: ssukonthasab@gmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
พฤติกรรมสุขภาพ
คุณภาพชีวิต
Health behavior
Quality of life
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ คุณภาพชีวิต และหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 450 คน โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานคุณภาพชีวิต WHOQOL- 26 แบบสอบถามความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม (r) เท่ากับ 0.79 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย 1. ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพภายในตน และความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพจากผู้อื่นอยู่ในระดับสูง ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพแบบบังเอิญอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับดี 2. ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพภายในตน และความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพจากผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และที่ระดับ .05ตามลำดับ ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพแบบบังเอิญมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพภายในตนและความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพจากผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และที่ระดับ .05ตามลำดับ ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพแบบบังเอิญมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปผลการวิจัย ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพภายในตนอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และมีคุณภาพชีวิต
Other Abstract: The purposes of this study were to study health locus of control, health behavior, and quality of life and to find a relationship between health locus of control, health behavior, and quality of life in the elderly of the northeastern. This study was descriptive study, consisted of 450 elderly subjects in the northeastern. The Data were collected by using questionnaires which is the WHOQOL-26 Scale. The item of objective congruent (IOC) of the health locus of control questionnaire and the health behavior questionnaire were 0.97 and 0.96 respectively, also the reliability were 0.79 and 0.85 respectively. The data analysis was conducted by using percentages, mean, standard deviations and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results of this study were as follows 1. The elderly in the northeastern had a high level of internal health locus of control and powerful others health locus of control. Chance health locus of control had a moderate. The overall health behavior was in very good level and the overall quality of life of the elderly in the northeastern was in good level. 2. The internal health locus of control and powerful others health locus of control had a low level of a significant positive correlation with health behavior (P < .01, .05 respectively). Chance health locus of control a low level of a significant negative correlation with health behavior (P < .01). 3. The internal health locus of control and powerful others health locus of control had a low level of a significant positive correlation with quality of life (P < .01, .05 respectively). Chance health locus of control a moderate level of a significant negative correlation with quality of life (P < .01). Conclusion: Mostly, the elderly had a high level of internal health locus of control which is very useful for having preferred health behavior and quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43085
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.557
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.557
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578331539.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.