Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43262
Title: | รูปแบบการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการและจ้างควบคุมงานก่อสร้าง ภาครัฐ |
Other Titles: | PROCUREMENT MODELS OF PROJECT MANAGEMENT CONSULTANT AND CONSTRUCTION SUPERVISION CONSULTANT FOR PUBLIC SECTOR |
Authors: | ศานิต กี่บุตร |
Advisors: | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | vtraiwat@chula.ac.th |
Subjects: | การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การก่อสร้าง การบริหารโครงการ Government purchasing Building Project management |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการก่อสร้างอาคารของภาครัฐมีการจ้างงานบริหารงานก่อสร้าง เพื่อการบริหารโครงการ และการควบคุมงาน ทั้งที่เป็นการจ้างบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้างในสัญญาเดียวโดยผู้รับจ้างรายเดียว และการจ้างบริหารโครงการและจ้างควบคุมงานก่อสร้างแบบแยกสัญญาโดยแยกผู้รับจ้าง ทั้งนี้การกำหนดว่าโครงการใดจะเลือกทำสัญญาแบบใดปัจจุบันยังไม่มี แนวทางการพิจารณา ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กำหนดอย่างชัดเจน ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาในการดำเนินการจัดจ้าง เช่น ปัญหาการยกเลิกการจัดจ้างที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาหลังใหม่ เป็นต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง การบริหารโครงการ และการควบคุมงานก่อสร้างของภาครัฐ ศึกษารูปแบบและขอบเขตการให้บริการวิชาชีพบริหารงานก่อสร้าง การเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ของรูปแบบการจ้างการบริหารโครงการ และการควบคุมงานก่อสร้าง รวมถึงเสนอแนะแนวทางการพิจารณาจ้างการบริหารโครงการ และการควบคุมงานก่อสร้างของภาครัฐ การศึกษานี้ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ หลักเกณฑ์ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ้างของภาครัฐ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพการบริหารงานก่อสร้าง พร้อมทั้งศึกษากรณีตัวอย่างโครงการก่อสร้าง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานการบริหารโครงการ การควบคุมงานก่อสร้าง การจัดจ้างผู้บริหารโครงการ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ในช่วงที่ผ่านมา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อสรุปและเสนอแนะแนวทางการพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ และการควบคุมงานก่อสร้างของภาครัฐ ผลการศึกษา สามารถสรุปข้อดี-ข้อเสีย ของการจัดจ้างบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้างในสัญญาเดียวโดยผู้รับจ้างรายเดียว ข้อดีคือ ผู้ควบคุมงานรับรู้ข้อมูล เงื่อนไข และข้อจำกัดของโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการ ทำให้สามารถหาทางป้องกัน และติดตามการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาโครงการ ข้อเสียคือ หากเกิดความผิดพลาดจะไม่มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมตรวจสอบ สำหรับแนวทางการพิจารณารูปแบบจ้างการบริหารโครงการ และการควบคุมงานก่อสร้าง ว่าโครงการใดควรจัดจ้างแบบใด ขึ้นอยู่กับขนาด และความซับซ้อนของโครงการ กล่าวคือโครงการที่มีความซับซ้อนมากควรจัดจ้างบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้างในสัญญาเดียวโดยผู้รับจ้างรายเดียว โครงการที่มีความซับซ้อนปานกลางที่มีขนาดใหญ่ และขนาดปานกลาง หรือโครงการที่มีความซับซ้อนน้อยแต่มีขนาดใหญ่ ควรจัดจ้างทั้งผู้บริหารโครงการและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง โดยอาจแยกสัญญาและแยกผู้รับจ้าง และโครงการที่มีขนาดเล็กมีความซับซ้อนปานกลางหรือน้อยหรือโครงการที่มีขนาดปานกลางแต่มีความซับซ้อนน้อย อาจจ้างผู้ควบคุมงานเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้การจัดประเภทโครงการว่าโครงการใดมีขนาดใหญ่ หรือเล็ก และมีความซับซ้อนมาก หรือน้อย ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณา จากการศึกษา พบประเด็นที่มีผลต่อการให้บริการวิชาชีพบริหารงานก่อสร้าง คืออัตราค่าบริการวิชาชีพงานควบคุมงานภาครัฐไม่มีความเหมาะสมกับขอบเขตงาน และสถานการณ์ปัจจุบัน สมาคมวิชาชีพควรศึกษาและเสนออัตราที่เหมาะสมแก่ภาครัฐเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติวิชาชีพของผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรคำนวณจากค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง |
Other Abstract: | Construction building projects of the public sector have procurement models of project management consultant (PMC) and construction supervision consultant (CSC), for both single and split contracts. The procurement models presently have no guidelines appropriate for use for each project. Sometimes they cause problems in the procurement process, such as contract abrogation of PMC and CSC in a new Thai parliament project. This study aims to study the laws and regulations of PMC and CSC procurements, and study the types and scope of services, and compare the advantages and disadvantages of both types of procurement while also suggesting guidelines of procuring PMC and CSC in the public sector. This study is the study of the procurement model of PMC and CSC, the construction practice fundamentals, case studies, and interviews of construction managers, construction supervisors, owners, and designers. Finally, all data was analyzed and conclusions drawn. The studies found that the advantages of single contract are decreasing the coordination process, and the construction supervisor can know the information, condition, and limitations at the beginning of the construction process. These advantages help to prevention damage, and provide continuous monitoring throughout the project construction period. The disadvantages are there is no agency to inspect the fallibility. Guidelines for procuring PMC and CSC depend on the scale and complexity of the project. In conclusion, a highly complex project should be procured by single contract. Medium complexity and medium to large projects should be procured by split contract. Medium to low complexity and small projects should be procured by only construction supervision consultant. The categories of complexity and the size of project are from the interviews with the experts. So, there should be further research about the classification of complexity and the size of the project for the procurement process in detail. Additionally, the study found the issue which greatly affects the construction service in the public sector is inadequate payment for construction supervision consultant. This is not commensurate with the current scope of work. Professional associations should study and suggest the appropriate payment rate to the public sector to be relevant to the actual practice. So, the service will be efficient and it should be calculated from the real cost for working. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43262 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.670 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.670 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5374205225.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.