Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์en_US
dc.contributor.authorน้ำทิพ สุขโชคอำนวยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:51Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:51Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43401
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลเป็นหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในกฎหมายลักษณะละเมิด เนื่องจากเป็นหลักที่นำมาพิจารณาการกระทำของผู้กระทำละเมิด ว่าการกระทำของผู้กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายหรือไม่ อันเป็นหลักที่นำมาซึ่งความรับผิดของผู้กระทำละเมิด แต่การปรับใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน ได้มีการปรับใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะละเมิด เฉกเช่นเดียวกับกฎหมายอาญา แต่กฎหมายอาญากับกฎหมายแพ่งมีเจตนารมณ์ของกฎหมายแตกต่างกัน คือ กฎหมายอาญามีเจตนารมณ์จะลงโทษบุคคลผู้กระทำผิดให้เข็ดหลาบ ส่วนกฎหมายแพ่งนั้นเป็นเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายหรือการแก้ไขให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเท่านั้น จึงทำให้หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลที่ใช้ในกฎหมายลักษณะละเมิดในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการเยียวยาผู้เสียหายของกฎหมายแพ่ง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะละเมิดของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการจำกัดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดไว้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดมากกว่าที่ควร จากการศึกษาการปรับใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะละเมิดในส่วนของประเทศไทยและเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั้งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในประเด็นปัญหาดังต่อไปนี้ คือ (1) ปัญหาการปรับใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะละเมิดให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการเยียวยาของกฎหมายแพ่ง (2) ปัญหาการจำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (3) ปัญหาการนำหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะสัญญามาปรับใช้กับความรับผิดเพื่อละเมิด พบว่าแม้ประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันมาตรา 823 ก็ตาม แต่ทั้งสองประเทศก็ได้มีการปรับใช้ที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ได้มีการนำหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะสัญญามาปรับใช้ในความรับผิดเพื่อละเมิด เฉกเช่นเดียวกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ได้มีการนำหลักความคาดเห็นตามประมวลกฎหมายสัญญาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มาตรา 113 มาปรับใช้กับความรับผิดเพื่อละเมิดเช่นเดียวกัน อันทำให้การปรับใช้กฎหมายมีความสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกเหนือจากนี้ทั้งในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็มีแนวทางการจำกัดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดไว้อย่างชัดเจน โดยประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจะจำกัดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดไว้ในขอบเขตที่วิญญูชนซึ่งมีความสามารถ ความระมัดระวังเดียวกันกับผู้กระทำละเมิดในภาวะเช่นนั้นสามารถคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้ และความเสียหายที่ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดนั้นยังถูกจำกัดในขอบเขตที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครองไม่ให้เกิดขึ้นเท่านั้น ส่วนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะจำกัดความรับผิดของผู้กระทำละเมิดไว้ในขอบเขตที่วิญญูชน และผู้กระทำละเมิดคาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นได้เท่านั้น ความรับผิดเพื่อละเมิดและความรับผิดทางสัญญาต่างก็เป็นความรับผิดทางแพ่งเหมือนกัน กฎหมายลักษณะสัญญานั้น คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายได้มีนิติสัมพันธ์หรือมีหนี้กันอยู่ก่อน อันแตกต่างจากกฎหมายลักษณะละเมิดที่คู่กรณีมิได้มีหนี้หรือนิติสัมพันธ์กันมาก่อน จึงทำให้การพิจารณาหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของประเทศไทยในกฎหมายทั้ง 2 ลักษณะนี้ แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดเพื่อละเมิด หรือ ความรับผิดตามสัญญา ต่างก็มีวัตถุแห่งหนี้ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเหมือนกัน ต่อมาเมื่อมีการขัดขืน ไม่กระทำการหรือฝ่าฝืนการงดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด และก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้น ผู้นั้นจะต้องรับผิด ด้วยเหตุนี้ความรับผิดเพื่อละเมิดจึงเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้อย่างหนึ่งเหมือนกับความรับผิดเนื่องจากการผิดสัญญา ดังนั้น เพื่อให้การปรับใช้หลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายลักษณะละเมิดมีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการเยียวยาของกฎหมายแพ่ง ผู้วิจัยขอเสนอให้มีการนำคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 ซึ่งเป็นหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายสัญญามาใช้บังคับใช้กับความรับผิดเพื่อละเมิดen_US
dc.description.abstractalternativeCausation is an important principle for consideration in the law of tort. This principle is used to consider whether the violation act has caused any damage to others or not. This principle leads to the tort-feasor’s liabilities. In Thailand, presently, causation in the law of tort has been applied to cases in the same way as causation in criminal law. Nevertheless, civil law’s purpose, which is to compensate or restored the former condition of an injured person, differs from that of criminal law, which aims to punish a wrongdoer. Therefore the causation principle being used in the law of tort presently is not in accordance with the civil law’s purpose to cure an injured person. Moreover, the causation principle in the law of tort in Thailand does not clearly provide measures to limit the liabilities of a tort-feasor which causes the tort-feasor to be liable more than one should. By studying and comparing Thai application of causation principle with that ofFederal Republic of Germany (Germany) and People Republic of China (PRC) in the following topics : (1) application of the causation principle in the law of tort and the intention of the restoration in Civil Law (2) the limitation of the tort-feasor’s liabilities (3) issues in using causation principle in contract law in tort liability, I found that the tort law in Thailand used article Section 823 German Civil Code (BGB) as a model. However, Thailand and Germany apply the law differently. Nowadays, Germany applies the causation principle in the contract law to the tort liability. People Republic of China also applies foreseeability principle in its contract law Section 113 to its tort liability. This is for consistency and harmonization in the law. Moreover, both Germany and People Republic of China (PRC) tort law clearly provide limitation of a tort-feasor’s liabilities . Germany limits a tort-feasor’s liabilities within a scope that a lay person who has the same level of ability and care as the tort-feasor and under the same condition foresees or should have foreseen. The injuries that the tort-feasor is liable for is also limit within the scope that the law aims to prevent from happening only. As for People Republic of China, a tort-feasor’s liabilities is limited within a scope that a lay person and the tort-feasor foresees or should have foreseen only. Both tortious liabilities and contractual liabilities are civil liabilities. In contract law, both parties has an existing juristic relation or debt which differs from tort law in which a juristic relation or debt does not exist between both parties before. Consequently, the causation principle in both laws should be considered exclusively. However, tortious liabilities and contractual liabilities both have a subject of obligation to perform or not to perform something. Later, when there is non-performance or violation of a forbearance which causes injuries, there will be liabilities. For this reason, tortious liabilities, like contractual liabilities, are sources of debt. Therefore, in order for the application of causation principle in tort law to be consistent with the purpose to cure the injured person, the author proposed that causation principle in contract law Section 222 of the Civil and Commercial Code be applied to the tort liability.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.868-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ละเมิด
dc.subjectความรับผิดทางแพ่ง
dc.titleปัญหาหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายละเมิดen_US
dc.title.alternativeCAUSATION IN THE LAW OF TORTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorajarnkorn@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.868-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485992334.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.