Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43427
Title: | ขนาดของห้องชุดพักอาศัยที่มีผลต่อการใช้สอยของผู้พักอาศัยในอาคารชุดระดับราคาปานกลาง บริเวณเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กรณีศึกษา : โครงการ ลุมพินี วิลล์ พหล-สุทธิสาร โครงการลุมพินี วิลล์ รามอินทรา-หลักสี่ และโครงการลุมพินี วิลล์ ลาซาล-แบริ่ง ของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | IMPACT OF UNIT SIZE IN MEDIUM-PRICED CONDOMINIUMS ON TENANT UTILIZATION : A CASE STUDY OF THE LUMPINI VILLE PHAHOL-SUTTHISARN, LUMPINI VILLE RAMINTRA-LAKSI AND LUMPINI VILLE LASALLE-BEARING OF L.P.N. DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY LIMITED |
Authors: | มัลลิกา ฟักทองพันธ์ |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | kpanitchpakdi@yahoo.com |
Subjects: | อาคารชุด -- การออกแบบ Condominiums -- Design |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีผู้ต้องการซื้อส่วนใหญ่มีระดับราคา 1-2 ล้านบาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการพัฒนาการออกแบบและลดขนาดห้องชุดพักอาศัยลง เพื่อให้ระดับราคาสอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้บริโภค(Affordable) การวิจัยนี้ เลือกศึกษากรณีอาคารชุดของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) (LPN) ซึ่งเป็นมีการดำเนินงานมายาวนานและมีการพัฒนารูปแบบห้องชุดขนาดเล็กมาโดยตลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการใช้สอยพื้นที่ในห้องพักที่มีขนาดแตกต่างกันของผู้พักอาศัย รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหา ข้อดี และข้อจำกัดของการใช้พื้นที่ของแต่ละแบบ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางการออกแบบห้องพักที่สอดคล้องกับลักษณะของผู้อยู่อาศัย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ผังห้องชุด การถ่ายภาพ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบ การสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 218 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก 21 ตัวอย่าง โดยเลือกศึกษาห้องชุด 3 ขนาด คือ 30 ตร.ม. 25 ตร.ม. และ 22.5 ตร.ม. ใน 3 โครงการ คือ ลุมพินี วิลล์ พหล-สุทธิสาร(LV-PS) โครงการลุมพินี วิลล์ รามอินทรา-หลักสี่ (LV-RL) และโครงการลุมพินี วิลล์ ลาซาล-แบริ่ง (LV-LB) ตามลำดับ ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัยทั้ง 3 โครงการ มีลักษณะดังนี้ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของห้องชุด มีช่วงอายุอยู่ในวัยทำงานประมาณ 26-50 ปี มีผู้พักอยู่ด้วย 1-2 คน ซึ่งอาศัยคนเดียวหรืออยู่กับสามี/ภรรยาเป็นหลัก ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทและข้าราชการ สำหรับผู้อยู่อาศัยในโครงการ LV-LB มีรายได้ครัวเรือน 10,000-30,0000 บาท/เดือน ขณะที่ผู้อยู่อาศัยในโครงการ LV-PS และโครงการ LV-RL มีรายได้ครัวเรือน 40,000-90,000 บาท/เดือน จากการวิเคราะห์ลักษณะผังห้องชุดของทั้ง 3 โครงการ พบว่า ประกอบด้วย พื้นที่ 4 ส่วนหลัก คือ พื้นที่อเนกประสงค์ ห้องน้ำ ส่วนครัว และส่วนระเบียง มีการจัดวางฟังก์ชั่นเหมือนกัน คือ แยกพื้นที่อเนกประสงค์และวางงานระบบไว้แนวเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการเดินท่อและประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยเรียงจากทางเข้าห้องหลัก คือ ห้องน้ำ ส่วนครัว และระเบียง จากการวิเคราะห์ลักษณะการใช้สอยพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยใน 3 โครงการ พบว่า ส่วนใหญ่มีการใช้พื้นที่ตรงตามลักษณะผังห้องชุดที่บริษัท LPN ได้ออกแบบไว้ อย่างไรก็ตาม มีผู้อยู่อาศัยจำนวน 1 ใน 4 ของทั้งสามโครงการมีการใช้พื้นที่ไม่ตรงตามผังห้องชุดที่ออกแบบไว้ ซึ่งพื้นที่ส่วนที่ใช้ไม่ตรงตามผังห้องชุดมากที่สุดคือ ส่วนรับประทานอาหาร ซึ่งจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพื่อเก็บของ และไปรับประทานอาหารในบริเวณพื้นที่นั่งเล่นแทน ผลการวิเคราะห์ด้านความพึงพอใจต่อการใช้พื้นที่ในภาพรวม พบว่า ผู้อยู่อาศัยในโครงการ LV-LB มีระดับความพึงพอใจน้อย ซึ่งแตกต่างจากผู้อยู่อาศัยในโครงการ LV-PS และโครงการ LV-RL ที่มีระดับความพึงพอใจมาก สำหรับความพึงพอใจต่อการใช้งานตามพื้นที่แต่ละส่วน(Functions) พบว่า ผู้อยู่อาศัยทั้ง 3 โครงการ มีพื้นที่ที่ชื่นชอบมากที่สุดคือ ส่วนห้องนอนและห้องนั่งเล่น ส่วนพื้นที่ระเบียง เป็นส่วนที่ชื่นชอบน้อยที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน สำหรับพื้นที่ที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือส่วนระเบียง พื้นที่แต่งตัว และห้องน้ำ เนื่องจากมีขนาดเล็ก และพื้นที่ที่ผู้พักอาศัยต้องการให้เพิ่มขนาดเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ในกรณีที่ขนาดห้องชุดมีขนาดเท่าเดิม 3 ลำดับแรก คือส่วนระเบียง ห้องนั่งเล่น และห้องน้ำ ตามลำดับ ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ระดับความพึงพอใจต่อการใช้พื้นที่ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ห้องชุดและการจัดวางฟังก์ชั่นที่เหมาะสม ดังนั้น ข้อค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ปรับปรุงในการออกแบบห้องชุดขนาดเล็ก เพื่อให้ห้องชุดสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้อยู่อาศัยในเรื่องพื้นที่และความสะดวก อาทิ ไม่ควรกั้นห้องในส่วนของนั่งเล่นและส่วนนอน เพราะจะทำให้ดูแคบ ควรกั้นพื้นที่ส่วนงานระบบคือ ห้องน้ำ ส่วนครัว และระเบียง เพื่อป้องกันกลิ่นและยังช่วยประหยัดการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพียงตัวเดียว การลดพื้นที่ครัวลงเนื่องจากการใช้งานน้อย เพื่อไปเพิ่มพื้นที่ส่วนระเบียง ตู้เสื้อผ้า หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ ควรเพิ่มพื้นที่เก็บของโดยการเพิ่มความสูงของห้อง หรือทำเฟอร์นิเจอร์ Built-in ในส่วนที่เป็นมุมอับ เป็นต้น |
Other Abstract: | At present, the number of condominiums in Bangkok and its vicinity is growing fast. There is high competition among housing companies. Some companies decreased the unit size of their condominiums to sell them at lower prices so their target market can afford it. In 2004, they averaged 30 square meters which decreased to 25 square meters in 2007, and 22 in 2011. Due to the rad shrinking of unit-size, his study study aimed to investigate the utility of space in small-sized condominiums. The case study was the condominiums built by L.P.N. Development Public Company Limited. We chose to focus on this company due to its high market share of mi-priced housing. The study compared three projects: Lumpini Vill (Phahol-Suthisarn)--30 square-meter units, Lumpini Vill (Ramintra-Laksi)--25 square-meter units, and Lumpini Vill (Lasalle-Bearing)--22.5 square-meter units. The research methodology included observation, interview with the designer, 218 questionnaires, and 21 in-depth interviews with unit owners. The study found that a unit in the three projects consisted of multi-purpose area, a bathroom, a bedroom, and a balcony. The multi-purpose area was separated while other areas were in the same direct line to save cost and to facilitate lining systems. From the door, there was a bathroom, a kitchen, and a balcony respectively. Concerning the financial status and social status of the residents, it was found that most of them were the unit owners. Most of them were working people aged 26-50. One to two persons lived in each unit. Mostly the owners lived alone or lived with their spouse. Most of them were office workers or civil; servants. Concerning the residents at LV-LB, the monthly income per family was 10,000-30,000 baht. The monthly income per family of the people who lived at LV-PS and LV-RL was 40,000-90,000 baht. Concerning space utility, it was found that most residents used the space as designed by L.P.N. However, one fourth of the residents did not use the space as planned by L.P.N. The most frequently adjusted space was the dining area, which the residents used as storage area, and they dined in the living room instead. Concerning the residents' satisfaction, the residents of LV-LB were a little satisfied with the space utility, whereas the residents of LV-PS and LV-RL were very satisfied with the space utility. Moreover, concerning functionality, residents of the three projects liked the bedroom and the living room best, while they liked the balcony least because it was small, which made it hard to utilize. The three most inconvenient areas were the balcony, the dressing room, and the bathroom because they were small. If the total space remained the same, the three areas which the residents wanted to increase most were the balcony, the living room, and the bathroom respectively. Therefore, it is suggested that the project owner make the most of the space available. The size cannot be adjusted, so space utilization needs to be adjusted. For example, more space is needed in the balcony, the bathroom, and the wardrobe. Less space is needed for the kitchen and the dining area because the residents do not use them often. No partition is needed between the bedroom and the living room, but a partition between this area and the kitchen and the bathroom is necessary to reduce odors. One air-conditioner is needed for the bedroom and the living room. In addition, the height of the room should be increased and, if possible, built-in furniture should be set. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43427 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1888 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1888 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573312725.pdf | 19.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.