Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43439
Title: การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่โล่งว่างภายในวัดริมน้ำ เพื่อรองรับกิจกรรมงานประเพณีประชุมชน กรณีศึกษาวัดกระโดงทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: CHANGING USES OF THE OPEN SPACE SUPPORTING TRADITIONAL ACTIVITIES IN A WATERFRONT TEMPLE. A CASE STUDY OF KRADONGTHONG TEMPLE, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA PROVINCE.
Authors: เสฎฐวุฒิ บำรุงกุล
Advisors: เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: terdsak@gmail.com
Subjects: ที่ราบลุ่มน้ำ
การดำเนินชีวิต
Alluvial plains
Conduct of life
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ด้วยบริบทของพื้นที่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนกลางที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยภาคกลางตั้งแต่อดีตจึงมีความผูกพันและเชื่อมโยงกับโครงข่ายทางน้ำอย่างแนบแน่น การพัฒนาพื้นที่ให้ทันสมัย (Modernization) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ระบบโครงข่ายการคมนาคมทางบกเข้าสู่พื้นที่ชุมชนริมน้ำ (Motorization) และส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพหรือวิถีชีวิตของคนในชุมชน ด้วยเหตุนี้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่โล่งว่างภายในวัดริมน้ำเพื่อรองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนจึงเป็นการศึกษาที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยวัดริมน้ำเป็นพื้นที่จุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานและเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนที่สำคัญของคนไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่โล่งว่างภายในวัดริมน้ำในการรองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนและผลสืบเนื่อง โดยใช้วัดกระโดงทอง ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นวัดกรณีศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์มนุษย์และสัณฐานวิทยาสถาปัตยกรรมลุ่มแม่น้ำ โดยทำการศึกษาผ่านการรวบรวมข้อมูลลักษณะพื้นที่และประเพณีประชุมชนที่สำคัญในอดีตจนถึงปัจจุบันจากเอกสารและการสำรวจภาคสนาม เพื่อนำไปจัดทำผังแผนที่และรูปตัดของพื้นที่วัดที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางกายภาพและพื้นที่รองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนในแต่ละช่วงเวลา แล้วจึงนำมาวิเคราะห์หาจุดเปลี่ยนและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่ด้วยเทคนิคการซ้อนทับข้อมูลกิจกรรมประเพณีและผังแผนที่วัด จากการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและพื้นที่รองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนเกิดจากปัจจัยเชิงพื้นที่ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญภายนอกวัด 2 ปัจจัยได้แก่ 1) การขุดคลองชลประทานเจ้าเจ็ด-ผักไห่ตัดคลองรางจรเข้ เป็นปัจจัยเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นที่ภายในวัดกระโดงทองจากสังคมน้ำสู่สังคมบก และ 2) การสร้างสะพานเสนาบดีเชื่อมโครงข่ายการสัญจรทางบกระหว่างบ้านโพธิ์และบ้านแพนที่เป็นปัจจัยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่ จากปัจจัยทั้ง 2 ส่งผลให้ลักษณะสัณฐานการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของวัดกระโดงทองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงได้แก่ ช่วงที่ 1 การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพพื้นที่โล่งฯ ของวัดริมน้ำบนพื้นฐานของโครงข่ายทางน้ำเป็นหลัก ช่วงที่ 2 การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพพื้นที่โล่งฯ ของวัดริมน้ำบนพื้นฐานของโครงข่ายทางน้ำที่มีโครงข่ายทางบกขยายตัวเข้ามา และช่วงที่ 3 การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของวัดริมน้ำบนพื้นฐานและปัจจัยของโครงข่ายทางบกเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพื้นที่ไปสู่สังคมบกส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้พื้นที่ในการรองรับกิจกรรมประเพณีประชุมชนจากพื้นที่โล่งว่างริมน้ำเป็นพื้นที่ถมดิน โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่โล่งว่างดังกล่าวส่งผลให้มีการใช้งานพื้นที่ริมน้ำน้อยลงจนนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ตามลำดับ การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำที่สำคัญจึงควรเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่รักษาสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างโครงข่ายทางบกและโครงข่ายทางน้ำที่มีต่อพื้นที่วัด เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการใช้งานพื้นที่ริมน้ำในการรองรับกิจกรรมประเพณีชุมชนต่างๆ ต่อไป
Other Abstract: With the context of the central Chao Phraya River watershed, which is considered floodplain, the lifestyle and livelihoods of the central region’s people have always been closely bound to the river network. The modernization of the area, so far, has led to the development and evolution of land transportation networks for waterfront communities. This also affects different aspects including the area’s landscape and the lifestyle of the locals. For these reasons, the study of changes on the open space within the temple’s area on the riverside for the development of the community’s traditional activities is an important study reflecting the causes and effects of the changing landscape from past to present as waterfront temples were the areas where settling and a community’s traditional activities began to develop. This study aims to study the changing characteristics of the open space in waterfront temples for a community’s traditional activities and its consequences using the specific case study of the Kra Dong Thong temple, Baan Pho subdistrict, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. This study integrated knowledge on human geography and basin architecture morphological studies. The information collected included data on the area’s features and important community traditions from past to present from documents and a field survey to create the temple’s maps and cross-section of the measured area which showed changing physical components and how the area used for the community’s traditional activities developed over time. The data were then analyzed to find the turning point and the effects arising from the change of the area with the technique of overlaying the pieces of information between traditions held in the temple and the temple’s map itself. From the study, it was found that the physical change and the changing of the area for the community’s traditional activities were caused by two area factors outside the temples, which were also important turning points. They were 1) the excavation of the Jaojed-Phakhai irrigation canal across the Rangjorakhe canal, which was the starting factor causing the change of the area inside the Kra Dong Thong temple changing from a water-based society to a land-based society and 2) the building of the Senabodee bridge connecting the land transportation networks between Baan Pho and Baan Phan was another factor stimulating the area’s change. These two factors led to the distribution of the area’s changing morphology of Kra Dong Thong temple into three phases. Phase one was the physical change of the open space based on the water transportation network completely. Phase two was the physical change of the open space within the temple’s area by the riverbank when there was the expansion of land transportation. Phase three was when the change of the physical characteristics was mainly done on the basis of the land transportation networks. The changing of the area’s characteristics into a land society led to the adjustment of the area used for the community’s traditional activities from open space by the riverbank to used land. The changing use of the riverbank land led to reduced use of the land which subsequently led to the deterioration of the area. The development of the area on the riverbank should then be redeveloped to maintain the balance of the relationship between land transportation networks and water transportation networks and stimulate the use of the area on the riverbank for the community’s traditional activities in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43439
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.903
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.903
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573347725.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.