Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43465
Title: | การศึกษาดูประสิทธิภาพและความปลอดภัยของขดลวดMagnesium alloy ชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา Paclitaxel (Propulxar I) และเคลือบยาPaclitaxel plus Sirolimus (Propulxar II) เพื่อเปรียบเทียบกับ Cobalt Chromium Sirolimus Eluting Stent (ProNOVA XR) ซึ่งไม่สามารถสลายตัวได้ ในหลอดเลือดแดงหัวใจหมู |
Other Titles: | STUDY OF FEASIBILITY AND SAFETY OF A SINGLE AND DUAL DRUG ELUTING BIOABSORBABLE MAGNESIUM ALLOY STENT COMPARE WITH COBALT CHROMIUM SIROLIMUS ELUTING STENT IN PORCINE CORONARY ARTERIES |
Authors: | ขวัญศิริ นราจีนรณ |
Advisors: | สุพจน์ ศรีมหาโชตะ พิงพล จรูญรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | s_srimahachota@yahoo.co.th phingphol.cha@mahidol.ac.th |
Subjects: | หลอดเลือดแดง โรคสัตว์ Arteries Animals -- Diseases |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มางานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา1ชนิดคือ Paclitaxel (Propulxar I) และเคลือบยา2 ชนิด คือ Paclitaxel และSirolimus (PropulxarII) เพื่อเปรียบเทียบกับ ขดลวด Cobalt Chromium ซึ่งไม่สามารถสลายตัวได้ และเคลือบยา 1 ชนิดคือSirolimus(ProNOVA XR) ในหลอดเลือดแดงหัวใจหมู วิธีการศึกษา หมูขุน อายุ 3-4 เดือน จำนวน 10 ตัวนำมาสวนหลอดเลือดหัวใจ โดยถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใส่ ขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา1ชนิดคือ Paclitaxel(Propulxar I)เปรียบเทียบกับขดลวด Cobalt Chromium ซึ่งไม่สามารถสลายตัวได้ และเคลือบยา 1 ชนิดคือSirolimus(ProNOVA XR)ในหมู5 ตัว และกลุ่มที่สอง ใส่ ขดลวด Magnesium alloy ชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา 2 ชนิดคือ Paclitaxel และ sirolimus (Propulxar II) เปรียบเทียบกับProNOVA XRในหมูอีก 5 ตัว โดยหมู ทุกตัวจะได้รับ แอสไพริน 300 มิลลิกรัม และ Clopidogrel 75 มิลลิกรัมทุกวันตลอดการศึกษา หลังจากนั้นนำมาสวนดูหลอดเลือดหัวใจและตรวจวัดด้วยการถ่ายภาพตัดขวางโดยใช้คุณสมบัติโคฮีเรนซ์ของแสง optical coherence tomography(OCT)จากนั้นนำหัวใจหมูมาศึกษาดูทางพยาธิวิทยา ที่1,2 หรือ 3 เดือนตามลำดับ ผลการศึกษาจากการศึกษาพบว่าขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา1ชนิด(Propulxar I) และเคลือบยา 2 ชนิด (Propulxar II) มี Fesibilityที่ดี คือมี Overall of Stent Performance ที่ดีเยี่ยมทั้งในแง่ของการใส่ขดลวดในหลอดเลือด การรักษาสภาพและโครงสร้างของหลอดเลือด อีกทั้งประสบความสำเร็จในการใส่ขดลวดในหมูทุกตัวโดยที่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนภายใน24 ชั่วโมงหลังทำหัตถการ จากการศึกษาพบว่า ขดลวดทุกชนิด( Propulxar I , Propulxar II และ ProNOVA XR)มี Endotholializationที่สมบูรณ์ ที่ 2 เดือน โดยที่ 1 เดือนพบมีendothelialization 95-100% อีกทั้งไม่พบภาวะ stent thrombosis ในขดลวดทุกชนิด และพบว่าขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา1ชนิดคือ paclitaxel (Propulxar I) มีการสลายตัวได้มากกว่าขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา2ชนิดคือ paclitaxel และ sirolimus (Propulxar II) เล็กน้อยโดยที่เริ่มเห็นการสลายตัวไปบางส่วน (น้อยกว่า50%)ที่เวลาผ่านไป3 เดือนแต่โดยภาพรวม ขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา2ชนิด(Propulxar II) มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากกว่าขดลวดแมกนีเซียมชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา1ชนิด(Propulxar I) โดย Propulxar II ไม่พบการทำให้เกิด myocardial infarction ในขณะที่ Propulxar I พบภาวะ myocardial infarction 20% และ Propulxar II ยังพบมีเปอร์เซนต์การตีบของหลอดเลือดจากการวัดด้วย OCTภายหลังจากใส่ขดลวดไปนาน 3 เดือนสูงกว่าPropulxar I โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่36 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Propulxar I มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่59 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ Propulxar II ยังพบมีการอักเสบและการบาดเจ็บของหลอดเลือดน้อยกว่า Propulxar I อีกด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่า Propulxar II มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ ขดลวด Cobalt Chromium, ซึ่งไม่สามารถสลายตัวได้และเคลือบยา 1 ชนิดคือSirolimus (ProNOVA XR)โดย ProNOVA XR ไม่พบการทำให้เกิด myocardial infarction และพบมีเปอร์เซนต์การตีบของหลอดเลือดจากการวัดด้วย OCTภายหลังจากใส่ขดลวดไปนาน 3 เดือน เฉลี่ยอยู่ที่39 เปอร์เซ็นต์ สรุปการศึกษา ขดลวด Magnesium alloy ชนิดที่สามารถย่อยสลายตัวได้ซึ่งเคลือบยา2 ชนิดคือ paclitaxel และ sirolimus (Propulxar II)มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากกว่าขดลวดที่เคลือบยาหนึ่งชนิดคือ paclitaxel (Propulxar I) โดยที่มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ ขดลวด Cobalt Chromium, ซึ่งไม่สามารถสลายตัวได้และเคลือบยา 1 ชนิดคือSirolimus(ProNOVA XR) |
Other Abstract: | Background : This experimental nonrandomized prospective self-control study in the animal model was designed to assess the feasibility and safety of single(paclitaxel) and dual drug eluting (paclitaxel and sirolimus) bioabsorbable magnesium alloy stents compared with a single drug eluting(sirolimus), non-bioabsorbable, cobalt chromium stent in porcine coronary arteries. Method : Ten healthy pigs were divided into two groups. Both groups underwent stent implantation in coronary arteries. One group had a single drug eluting (paclitaxel) bioabsorbable, magnesium alloy stent (Propulxar I) compared with a single drug eluting(sirolimus), non-bioabsorbable, cobalt chromium stent (ProNOVA XR) and the other group had dual drug eluting (paclitaxel plus sirolimus) bioabsorbable, magnesium alloy stent (Propulxar II) compared with ProNOVA XR stent. Aspirin 300 mg/day and clopidogrel 75 mg/day were administered after stenting.The groups were then followed up at 1, 2 and 3 months by coronary angiogram and optical coherence tomography(OCT). Histopathological evaluation was also done after the animals were euthanized by a lethal dose of KCL under general anesthesia at 1,2 or 3 months. Results : All stents were excellent in overall performance (deliverability, vessel-preserved curvature, inflation and deflation technique). Angiographic success without procedure-related complications within 24 hours was noted in all cases. Endothelialization of all stents were nearly complete at 1 month and complete endothelialization was found at 2 months. No stent thrombosis was found. Additionally, partial degradation (less than 50%) was obviously found after 3 months. Propulxar II stents were safer and more efficacious when compared to Propulxar I stents in terms of myocardial infarction (0% vs 20%), inflammation score of vessels, injury score of vessels and percent stenosis of vessels (36% vs 59%) and comparable with single drug eluting (sirolimus), non-bioabsorbable, cobalt chromium stents (ProNOVA XR) in terms of myocardial infarction (0% vs 0%) and percent stenosis of vessels (36% vs 39%). Conclusion: In healthy porcine coronary arteries, the feasibility, efficacy and safety of dual drug eluting(paclitaxel and sirolimus) bioabsorbable, magnesium alloy stents (Propulxar II) seem to be better than single drug eluting (paclitaxel) bioabsorbable, magnesium alloy stents (Propulxar I) and comparable to single drug eluting (sirolimus), non-bioabsorbable, cobalt chromiumstents(ProNOVA XR). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43465 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.933 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.933 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574112730.pdf | 7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.