Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43499
Title: ผลของการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากข้าวเจ้าต่อการสร้างแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ที่วัดจากลม หายใจออกและอาการของโรคในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนชนิดที่ไม่ใช่ท้องผูกเด่นเปรียบเทียบกับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากข้าวสาลีหรือถั่วเขียว
Other Titles: Effect of Rice Carbohydrate Ingestion on Intestinal Hydrogen Gas Production and Symptoms in Non-constipation Irritable Bowel Syndrome Patients compared with Carbohydrate from Wheat or Mungbean
Authors: สิทธิกร ลินลาวรรณ
Advisors: สุเทพ กลชาญวิทย์
ฐนิสา พัชรตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: gsutep@hotmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลำไส้ -- โรค
บริโภคกรรม
Intestines -- Diseases
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลของการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากข้าวเจ้าต่อการสร้างแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออก และอาการของโรคในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนชนิดที่ไม่ใช่ท้องผูกเด่นเปรียบเทียบกับ การบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากข้าวสาลีหรือถั่วเขียว ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย โรคลำไส้แปรปรวนมีกลไกการเกิดโรคจากหลายปัจจัย โดยพบว่าอาหารมีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษา ข้าวเป็นแหล่งอาหารที่มีรายงานว่าสามารถย่อยสลายได้สมบูรณ์ เกิดแก๊สในลำไส้รวมถึงเกิดอาการระบบทางเดินอาหารน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดอื่น ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารประเภทนี้ในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนยังมีน้อย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากข้าวเจ้าในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนชนิดที่ไม่ใช่ท้องผูกเด่นต่อการสร้างแก๊สไฮโดรเจนในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออก และการเกิดอาการของโรคภายหลังการรับประทานเปรียบเทียบกับการรับประทานคาร์โบไฮเดรตจากข้าวสาลีหรือถั่วเขียว ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่ไม่ใช่ท้องผูกเด่นตามนิยาม Rome III 20 คนเข้าร่วมการศึกษา โดยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้รับประทานอาหารทดลองที่ผลิตจากข้าวเจ้า ข้าวสาลี หรือแป้งถั่วเขียวในปริมาณที่เท่ากัน ทำการตรวจวัดปริมาณแก๊สในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออกด้วยเครื่องbreath test ร่วมกับประเมินความรุนแรงของอาการลำไส้แปรปรวนโดยใช้แบบสอบถาม (100 mm VAS) ตั้งแต่ก่อนทาน หลังทานมื้อเช้า 4ชั่วโมงและหลังทานมื้อกลางวัน 4ชั่วโมง ทุก 15นาที จนครบ 8ชั่วโมง จากนั้นเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์แล้วนัดผู้ป่วยมาทำการศึกษาต่อในลักษณะเดิมด้วยอาหารทดลองจนครบ 3 ครั้ง ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมดสามารถร่วมการศึกษาได้ตลอดการศึกษาและไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ปริมาณแก๊สในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออกก่อนรับประทานอาหารในแต่ละครั้งไม่มีความแตกต่างกัน หลังรับประทานอาหารทดลอง 5 ชั่วโมงพบว่าปริมาณแก๊สไฮโดรเจนและมีเทนในกลุ่มข้าวสาลีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบกับข้าวเจ้าและแป้งถั่วเขียว(p<0.05) มีค่าarea under the curveมากที่สุดในกลุ่มข้าวสาลี รองลงมาได้แก่ แป้งถั่วเขียวและข้าวเจ้าตามลำดับ(H2: 4120.5 ± 45.5 vs. 2356.1 ± 13.9, 2267.3 ± 14.6 ppm-min, p<0.001 และCH4 : 1616.0 ± 15.8 vs. 943.1 ± 5.2, 946.5 ± 6.0, p<0.05) อาการแน่นอึดอัดท้องและอิ่มเร็วเป็นอาการที่พบมากในกลุ่มที่ทานข้าวสาลีเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ทานข้าวเจ้า(3.0 ± 0.6 vs. 2.2 ± 0.6 and 3.4 ± 0.5 vs. 2.5 ± 0.5, p<0.05).โดยที่อาการทางเดินอาหารอื่น ได้แก่ ปวดท้อง แสบท้อง คลื่นไส้ ปวดอยากถ่ายอุจจาระ จุกแน่นท้อง เรอและรู้สึกกรดไหลย้อนไม่มีความแตกต่างกัน สรุป การรับประทานอาหารที่ผลิตจากข้าวเจ้าจะเกิดปริมาณแก๊สในลำไส้ที่วัดจากลมหายใจออก อาการแน่นอึดอัดท้องและอิ่มเร็วน้อยกว่าการรับประทานอาหารจากข้าวสาลีหรือแป้งถั่วเขียว ดังนั้นข้าวเจ้าจึงเป็นแหล่งอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่ไม่ใช่ท้องผูกเด่น
Other Abstract: EFFECT OF RICE CARBOHYDRATE INGESTION ON INTESTINAL HYDROGEN GAS PRODUCTION AND SYMPTOMS IN NON-CONSTIPATION IRRITABLE BOWEL SYNDROME PATIENTS COMPARED WITH CARBOHYDRATE FROM WHEAT OR MUNGBEAN Background: Diet plays an important role in management of irritable bowel syndrome (IBS). Previous studies suggested that rice is completely absorbed in the small bowel and produced less intestinal gas production and gastrointestinal(GI) symptoms compare to wheat. The benefit of rice carbohydrate in IBS has not been clearly demonstrated. Objective: To determine the effect of rice flour on intestinal hydrogen gas production and IBS symptoms compared to wheat or mungbean flour Methods: Twenty non-constipation IBS patients (13 F, age 46±11 yrs) underwent H2 breath test studies and GI symptom evaluations after ingestions of standard rice or wheat meals [rice or wheat noodle, 90 gm (dry weight) of rice or wheat flour] in a randomized double-blind crossover study with a 1 week-washout period. After an overnight fast, intestinal gas production and GI symptom scores in response to the standard meals (given at 8.00 am and 12.00 pm) were evaluated at baseline and every 15 minutes after the first standard meal for 8 hrs. The GI symptoms were evaluated using visual analog scales. Results: All subjects completed the studies without any adverse events. The hydrogen(H2) and methane(CH4) concentration in breath sample was similar at baseline (p>0.05). Beginning at hour 5 after breakfast, the H2 and CH4 production was significantly increased after wheat noodle ingestion compared to rice noodle ingestion (p<0.05) The AUC of H2 and CH4 were greater after wheat noodle ingestion compared to rice noodle ingestion (H2: 4120.5 ± 45.5 vs. 2356.1 ± 13.9, 2267.3 ± 14.6 ppm-min, p<0.001 and CH4 : 1616.0 ± 15.8 vs. 943.1 ± 5.2, 946.5 ± 6.0, p<0.05). The mean symptom scores for bloating and satiety symptoms were significantly increased after wheat ingestion compared to rice or mungbean ingestion (3.0 ± 0.6 vs. 2.2 ± 0.6 and 3.4 ± 0.5 vs. 2.5 ± 0.5, respectively, p<0.05). Other GI symptoms including abdominal pain, abdominal burning, nausea, urgency of stool, heartburn, belching and regurgitation were not significantly different comparing between after rice and wheat ingestion. Conclusions: Rice flour ingestions produce significantly less intestinal gas production, bloating and satiety symptoms compared to wheat flour ingestions. This study suggests that rice is a better source of carbohydrate for non-constipation IBS in relative to wheat or mungbean carbohydrate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43499
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.979
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.979
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574173030.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.