Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43759
Title: | การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Other Titles: | PROPOSED PROCESSES FOR COMMUNITY EMPOWERMENT TO STRENGTHEN PEACE AND RECONCILIATION FOR LOCAL AUTHORITIES |
Authors: | ณัฐปภัสร์ วรธันย์ผาสุข |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | chanita.r@chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารรัฐกิจ -- ส่วนภูมิภาค การบริหารรัฐกิจ -- ส่วนภูมิภาค Communities -- Citizen participation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยเงื่อนไขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน และ3) นำเสนอกระบวนการเสริมพลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน เก็บข้อมูลด้วยสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรีตำบล ปลัดเทศบาลตำบล นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร ปลัดเทศบาลนคร เป็นต้น และหัวหน้าชุมชนกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ประธานชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นต้น จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เทศบาลตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ3) เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 12 คน เทศบาลตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 12 คน และเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชนใน 3 ด้าน คือ 1) บทบาทในการเริ่มต้น โดยการสร้างและเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยน เกิดการสร้างการรวมกลุ่มภายในชุมชน กระจายอำนาจชุมชนจัดการตนเอง 2) บทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการร่วมกัน โดยเริ่มจากการให้ความรู้ผ่านกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ เป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงเป็นคนกลางในการประสานภาคีความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและหน่วยงานอื่นๆภายในพื้นที่ และ3) บทบาทการส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน โดยการส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนในระยะยาว เสริมสร้างจิตสำนึกของชุมชน ส่งเสริมให้เกิดกลไกชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถจัดการความขัดแย้งด้วยตนเองได้ สร้างเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในขณะที่การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชนจะต้องประกอบด้วยปัจจัยเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ ภาวะผู้นำ การให้ข้อมูลข่าวสาร การเมืองท้องถิ่น ทุนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นประเพณี ความเชื่อ ความเป็นเครือญาติ วัฒนธรรม สำหรับกระบวนการเสริมพลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชนตามแนวคิดของเปาโล แฟร์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างการรับรู้และความตระหนัก 2) การส่งเสริมการตั้งคำถามร่วมกัน 3) การส่งเสริมการดำเนินการร่วมกัน และ4) การส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ผลการดำเนินการ |
Other Abstract: | This study was survey research aimed at: 1) studying the roles of local administrative organizations in strengthening community peace and reconciliation; 2) studying the factors and conditions of local administrative organizations in strengthening community peace and reconciliation and 3) proposing local administrative organization empowerment processes for strengthening community peace and reconciliation. Data were collected by structured in-depth interviews with local administrative organization staff such as the presidents of the tambon administrative organizations, deputy chief executives of the tambon administrative organizations, chief tambon officers, deputy chief tambon officers, municipal clerks, chief municipality officers, deputy chief municipality officers, etc., and the heads of various community groups such as community chairmen, village headmen, sub-district headmen, etc., from local administrative organizations with good practices composed of three namely; 1) Pho Thong Local Administrative Organization, Tha Sala, Nakhon Sri Thammarat, 2) Wiang Pang Kam Local Administrative Organization, Mae Sai, Chiangrai and 3) Khon Kaen Municipality, Muang, Khon Kaen, which were divided into twelve people from Pho Thong Local Administrative Organization, Tha Sala, Nakhon Sri Thammarat, twelve people from Wiang Pang Kam Local Administrative Organization, Mae Sai, Chiangrai, and twelve people from Khon Kaen Municipality, Muang, Khon Kaen, which was a total of thirty-six people. According to the findings, the local administrative organizations had roles of strengthening community peace and reconciliation in the following three areas: 1) beginning roles by creating and opening forums for discussion, exchanges, the formation of community groups and dissemination of power for self-management of communities; 2) roles in promoting and supporting joint operations beginning with the provision of education through various types of activities; serving as a community consultants, promoting community participation in managing conflicts, including neutrality in coordinating cooperative efforts among local administrative organizations, communities and other agencies in the area and 3) roles in promoting sustainability by promoting community participation in designating long-term plans, promoting community awareness, sponsoring community mechanisms enabling communities to self-manage conflicts and forming cooperative networks. At the same time, strengthening community peace and reconciliation needs to include the following factors and conditions: leadership, provision of news and information, local politics and social assets such traditions, beliefs, familial networks and culture. According to Paulo Freire’s concept, local administrative organization empowerment processes to strengthen community peace and reconciliation can be divided into four steps comprising the following: 1) strengthening perception and awareness; 2) promoting questions from shared issues; 3) promoting joint operations and 4) promoting communities to critique outcomes together. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43759 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1216 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1216 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5383460327.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.