Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43874
Title: | การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF A CULTURAL COMPETENCE SCALE AND AN ANALYSIS OF TEACHERS’ CULTURAL COMPETENCES |
Authors: | กมลชนก ชำนาญ |
Advisors: | อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | auyporn.r@chula.ac.th |
Subjects: | ครู -- การประเมิน ความสามารถในการสื่อสาร Teachers -- Rating of Communicative competence |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือเพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรมของครู 2) ศึกษาระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู และ 3) เปรียบเทียบระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรมชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) มีเนื้อหาที่ครอบคลุมองค์ประกอบความสามารถทางวัฒนธรรม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบความรู้ทางวัฒนธรรมมีข้อคำถามจำนวน 12 ข้อ 2) องค์ประกอบทักษะทางวัฒนธรรมมีข้อคำถามจำนวน 13 ข้อ 3) องค์ประกอบความตระหนักทางวัฒนธรรมมีข้อคำถามจำนวน 14 ข้อ และ 4) องค์ประกอบความสามารถในการสื่อสารมีจำนวนข้อคำถามจำนวน 11 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window วิเคราะห์เกณฑ์ปกติวิสัย และการวิเคราะห์โมเดลการวัดด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรม คือ แบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรมของครูที่พัฒนาขึ้น มีจำนวนข้อคำถาม 50 ข้อ ใช้การพัฒนาตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่การศึกษาเอกสารเพื่อนิยามเชิงปฏิบัติการ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อช่วยในการสร้างข้อคำถามและทดลองใช้กับตัวอย่าง คุณภาพแบบวัด ประกอบด้วย ความตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC 0.60 - 1.00 ความเที่ยงรายด้าน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.74 - 0.88 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 อำนาจจำแนกของแบบวัดนั้น สามารถจำแนกกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรม (ค่าไคสแควร์ = 7.23, p = 0.12, องศาอิสระ = 4, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01) สรุปได้ว่า องค์ประกอบและตัวแปรที่มุ่งวัดความรู้ทางวัฒนธรรม ทักษะทางวัฒนธรรม ความตระหนักทางวัฒนธรรม และความสามารถในการสื่อสาร มีความตรงเชิงโครงสร้าง แสดงให้เห็นว่าตัวแปรแฝงสามารถวัดได้ด้วยตัวแปรสังเกตได้หรือองค์ประกอบในโมเดลได้จริง การสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายเป็นคะแนนมาตรฐานที พบว่า แบบวัดความสามารถทางวัฒนธรรมมีคะแนนมาตรฐานอยู่ที่ช่วง T 20 - T 76 (2) ผลการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (3) ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความสามารถทางวัฒนธรรมของครูที่มีภูหลังแตกต่างกัน พบว่ามีเพียงตัวแปรเพศ และระดับการศึกษาที่มีความแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีความสามารถทางวัฒนธรรมสูงกว่าเพศชาย และครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทมีความสามารถทางวัฒนธรรมสูงกว่าปริญญาตรี |
Other Abstract: | The research objectives were 1) to develop a cultural competence scale 2) to examine the quality of the cultural competence scale and 3) compare cultural competence of teachers from different teacher’s backgrounds. The samples consisted of 395 teachers from secondary schools (M.1-6). The cultural competence scale has a rating scale of 5 levels. It has 50 question items and divides into four components. 1) The cultural knowledge component has 12 items. 2) The cultural skill component has 13 items. 3) The cultural awareness component has 14 items. And 4) the communicative skill component has 11 items. The data of this research was analyzed by descriptive statistics, t-test , one – way ANOVA, correlation analysis through SPSS for Window, T-score, Cronbach’s alpha coefficient and confirmatory factor analysis through LISREL. The research results were as follows: 1) The development of cultural competence scale was developed from documentary analysis and the qualitative data collecting.The cultural competence scale has content validity by the IOC from 0.60 to 1.00. The reliability of each component was 0.74 to 0.88 and The Cronbach’s alpha reliability coefficient of the scale was 0.93. This scale could discriminate at .01 significant level. There was a construct validity proof by the confirmatory factor analysis. (Chi-square= 7.23 , p = 0.12 ,degree of freedom = 4, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMR = 0.01) The norm of the cultural competence scale is in the range T20 – T76. 2) The level of cultural competence in teachers is high level. 3) The comparison of teacher’s cultural competence based on their background. Female teacher had higher cross cultural competence than male teacher at the statistically significant difference of 0.01. The master’s degree had higher cross cultural competence than bachelor ‘s degree. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43874 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1333 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1333 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483801827.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.