Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43885
Title: การใช้ถ่านชีวภาพในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองเพื่อการเพิ่มผลผลิตและกักเก็บคาร์บอน
Other Titles: USE OF BIOCHAR IN SOYBEAN FIELDS FOR INCREASING YIELD AND CARBON SEQUESTRATION
Authors: จามร อยู่เย็น
Advisors: เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
ทวีวงศ์ ศรีบุรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: w.m.saowanee@gmail.com
thavivongse.s@chula.ac.th
Subjects: การปลูกพืช
ถ่านไม้
Planting (Plant culture)
Charcoal
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองเพื่อการเพิ่มผลผลิตและกักเก็บคาร์บอน ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาถ่านชีวภาพป่าเด็ง ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาวิจัยนี้กำหนดให้มี 4 ตำรับทดลอง (Treatment) แต่ละตำรับการทดลองทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง แปลงทดลองขนาด 2×5 เมตร ได้แก่ ตำรับการทดลองควบคุมที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ (BC 0) ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (BC 1) 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (BC 2) และ 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (BC 3) ผลการศึกษาพบว่า ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพสามารถเพิ่มปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable Potassium) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองควบคุมที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ การใส่ถ่านชีวภาพสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตเมล็ดถั่วเหลือง กล่าวคือ ความสูงลำต้น จำนวนข้อ น้ำหนักแห้งลำต้น น้ำหนักแห้งใบ และความยาวรากของถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองควบคุม ขณะที่จำนวนฝักรวมและผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพในอัตรา 2 และ 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีน้ำหนักเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 และ 36.8 ตามลำดับ การใส่ถ่านชีวภาพลงในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองส่งผลให้การสะสมคาร์บอนในส่วนต่าง ๆ ของถั่วเหลืองมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ปริมาณการสะสมคาร์บอนในส่วนต่าง ๆ ของถั่วเหลือง ไม่ว่าจะเป็นในลำต้น ใบ ฝัก และเมล็ดของตำรับทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพมีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใส่ถ่านชีวภาพลงในดินส่งผลให้การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผิวดินมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพแต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเพิ่มปริมาณการใส่ถ่านชีวภาพลงในดินในทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วเหลือง การประเมินการกักเก็บคาร์บอนสุทธิจากการศึกษานี้พบว่า พื้นที่ควบคุมซึ่งไม่ได้ใส่ถ่านชีวภาพสูญเสียคาร์บอนออกจากพื้นที่ ขณะที่พื้นที่ที่ใส่ถ่านชีวภาพมีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนสุทธิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่ง BC 0 สูญเสียคาร์บอนสุทธิออกจากพื้นที่ -467.8 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ BC 1 BC 2 และ BC 3 กักเก็บคาร์บอนสุทธิลงในพื้นที่ 786.8 2,032.3 และ 3,282.8 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
Other Abstract: The study of the use of biochar in soybean fields for increasing yield and carbon sequestration was conducted in the Pa-Deng Biochar Research Center (PdBRC), Pa-Deng Sub-district, Kaeng Krachan, Petchaburi. The experiment used four plots of soybean with three replicates. Each experimental plot was 2 x 5 meter in size. The field experiment was conducted with biochar amendment at rates of 0, 1, 2 and 3 kilogram per square meter (BC 0, BC 1, BC 2 and BC 3). The results showed that the biochar treated soil had elevated levels of total nitrogen (TKN) and exchangeable potassium; the differences were statistically significant at p<0.05. The biochar treated soil increased the growth and yield including stem height, number of nodes, dry weight of stem, dry weight of leaf and root length of soybean significantly (p<0.05) in comparison to the untreated control group. The weight of soybean seeds taken from the BC 2 and BC 3 treatments increased by 28.9% and 36.8%, in comparison to the control group. Adding biochar in the soybean fields could increase carbon content in many parts of soybean. Carbon content of stem, leaf, pod and seed in treated biochar fields increased significantly (y<0.05) in comparison to the control group. The biochar treated soil had elevated levels of CO2 emission; the difference was statistically singificant at p<0.05 but it was not consistent in all growth stages. Results from the assessment of carbon sequestration showed that the soil in the control group lost carbon but the soil with biochar retained carbon. The carbon sequestration level increased significantly. In BC 0, the net loss of carbon from soil was -467.8 kilograms per rai, while in BC 1, Bc 2 and BC 3 the net level of carbon sequestered into soil was 786.8, 2, 032.3 and 3,282.8 kilograms per rai, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43885
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1325
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1325
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487253620.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.