Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43906
Title: แบบจำลองน้ำหนักบรรทุกจรสำหรับการออกแบบสะพานของประเทศไทย
Other Titles: LIVE LOAD MODEL FOR BRIDGE DESIGN OF THAILAND
Authors: สมาวิษฐ์ พฤกษ์จินดา
Advisors: ทศพล ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: tospol_pk@yahoo.com
Subjects: น้ำหนักจร -- แบบจำลอง -- ไทย
แบบจำลองทางวิศวกรรม -- ไทย
สะพาน -- การออกแบบ -- ไทย
Live loads -- Models and modelmaking -- Thailand
Engineering models -- Thailand
Bridges -- Design -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบสะพานในประเทศไทยนั้น โดยปกติอ้างอิงมาตรฐาน AASHTO ของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก แต่ด้วยความแตกต่างของพิกัดน้ำหนักตามกฎหมาย และลักษณะทางกายภาพของรถบรรทุกของไทยนั้นแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งในความเป็นจริงรถบรรทุกของไทยยังมีการบรรทุกเกินพิกัดจำนวนมาก ดังนั้นการประยุกต์ใช้มาตรฐาน AASHTO ในการออกแบบสะพานของไทย โดยไม่ปรับเปลี่ยนแบบจำลองน้ำหนักบรรทุกจร (Live load model) ให้เหมาะสม จึงอาจไม่เหมาะสม เพราะสะพานอาจมีระดับความปลอดภัยไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณค่าก่อสร้างและบำรุงรักษา งานวิจัยนี้จะศึกษาและนำเสนอแบบจำลองน้ำหนักบรรทุกจรที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบสะพานในประเทศไทย ด้วยวิธีตัวคูณเพิ่มน้ำหนักบรรทุกและความต้านทาน (LRFD) โดยการประยุกต์ทฤษฎีความเชื่อมั่นของโครงสร้าง (Structural reliability) มาวิเคราะห์หาตัวคูณเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจร (Live load factor) ที่เหมาะสม จากข้อมูลยวดยานที่ตรวจวัดจริงในภาคสนาม จำนวน 8,814 คัน และข้อมูลคุณสมบัติของสะพานที่มีความยาวช่วงระหว่าง 5-80 เมตร เนื่องจากวิศวกรไทยจะคุ้นเคยกับแบบจำลองน้ำหนักบรรทุกจรแบบ HL-93 ของมาตรฐาน AASHTO การปรับใช้แบบจำลองดังกล่าวจึงเป็นการสะดวก แม้ลักษณะทางกายภาพของแบบจำลองจะแตกต่างกับลักษณะของรถบรรทุกไทย ซึ่งผลของความแตกต่างนี้และความแตกต่างของพิกัดน้ำหนักทำให้ต้องปรับแก้ค่าตัวคูณเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจรของ AASHTO ที่กำหนดไว้เท่ากับ 1.75 ให้สอดคล้องกับสภาพยวดยานของไทย ผลการวิเคราะห์หาค่าตัวคูณเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจรพบว่า หากคงค่าตัวคูณเพิ่มไว้ที่ 1.75 ตามมาตรฐาน AASHTO จะทำให้สะพานที่ออกแบบมีระดับความปลอดภัยต่ำกว่าเกณฑ์ความปลอดภัยตามมาตรฐานค่อนข้างมาก กล่าวคือสะพานจะมีค่าความน่าจะเป็นที่จะวิบัติได้สูงถึง 1/2660 สำหรับอายุการใช้งาน 75 ปี ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติถึง 1.62 เท่า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเสนอควรให้ใช้ค่าตัวคูณเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจรเป็น 2.20 สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ออกแบบสะพานของไทย เพื่อให้ได้ระดับความปลอดภัยและอายุการใช้งานสะพานสอดคล้องกับเป้าหมายในการออกแบบตามมาตรฐานสากล
Other Abstract: The design of bridges in Thailand adopts the American’s AASHTO standard. However, due to the differences in limited legal weights of trucks, their configurations, and their overloaded behaviors between Thailand and America, directly applying the live load model from AASHTO without modification might lead to either sub-standard design in term of bridge safety or higher construction cost. This research studies and proposes the live load model that is suitable for bridge design of Thailand using the load and resistant factor design (LRFD) framework. Employing the structural reliability analysis, the suitable live load factor is determined based on the actual field records of 8,814 trucks and the properties of the bridges having span lengths between 5-80 m. Although, the HL 93 load pattern from AASHTO is significantly difference with Thai’s truck configurations. The application of this load pattern is proposed, since the Thai engineers feel familiar and convenience. Consequently, the live load factor of 1.75 from AASHTO needs to be modified to cope with this difference and the inconsistent of legal weight limits. The obtained results clearly indicate that the direct use of live load factor of 1.75 based on AASHTO LRFD standard could lead to the significantly lower safety of the designed bridges than normal acceptable standard. In other words, the probability of failure of the bridges will be approximately 1/2660 for 75 year useful life, which is 1.62 times the normal standard value. Therefore, based on the obtained reliability analysis, the research proposes to increase the live load factor to be 2.20 for bridge design in Thailand in order to achieve the safety and useful life criterions as required by the international standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43906
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1369
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1369
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570410021.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.