Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43966
Title: การนำรายงานการสืบเสาะข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน
Other Titles: PRE-DISPOSITION REPORT IN JUVENILE COURT
Authors: ปิยรัตน์ วงศ์งามขวัญ
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: pareena.lawchula@gmail.com
Subjects: ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน
Juvenile delinquency
Juvenile justice, Administration of
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รายงานการสืบเสาะและพินิจเด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม อันเป็นวัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงการนำรายงานการสืบเสาะและพินิจมาใช้ในการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนและรูปแบบของรายงานการสืบเสาะและพินิจ เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย จากการศึกษาพบว่าในรายงานการสืบเสาะและพินิจมีข้อมูลที่เป็นผลร้ายต่อเด็กและเยาวชนที่เป็นจำเลย โดยเฉพาะข้อมูลด้านประวัติการกระทำความผิดและสาเหตุการกระทำความผิด จึงมีข้อสงสัยแก่ประชาชนว่าข้อมูลในรายงานการสืบเสาะและพินิจอาจมีอิทธิพลเหนือการวินิจฉัยความผิดได้ เพราะรายงานการสืบเสาะและพินิจของประเทศไทยเข้ามาในกระบวนการพิจารณาคดีนับแต่ยื่นฟ้องคดีต่อศาล ก่อนศาลวินิจฉัยว่าเด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด นอกจากนี้รายละเอียดข้อมูลในรายงานการสืบเสาะและพินิจยังมีบางประเด็นที่ขาดความสมบูรณ์ ดังนั้นการนำข้อมูลในรายงานการสืบเสาะและพินิจมาใช้ในการพิจารณาคดีต้องนำมาใช้ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเท่านั้น ห้ามศาลนำข้อมูลในรายงานมาใช้เพื่อวินิจฉัยความผิดของจำเลย โดยการพิสูจน์ความผิดของจำเลยต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด และศาลต้องวินิจฉัยความผิดของจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มาจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากรายงานการสืบเสาะและพินิจ นอกจากนี้รายงานการสืบเสาะและพินิจควรเพิ่มเติมรายละเอียดของข้อมูลบางประการ เพื่อให้การนำข้อมูลในรายงานการสืบเสาะและพินิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและเพื่อป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชน
Other Abstract: Pre-disposition report is regarded as a tool for rehabilitating juvenile delinquents become law-abiding citizens, which is the ultimate goal of the juvenile justice system. Therefore, the objective of this research is to study the use and the format of pre-disposition report to fulfill the aim of the law. The research found that there is some contain information in the pre-disposition report may cause negative effect to the juvenile; especially prior criminal histories and the factors contributing to the juvenile delinquency. Hence, it remains doubt that the information in the pre-disposition report may influence on conviction since it is generally taken into consideration before adjudication hearing. Moreover, some parts of the pre-disposition report are lacking in details. Consequently, the pre-disposition report must be applied only as a supplement in finding treatment measures for juvenile delinquents. In addition, proven guilty is based on criminal justice procedure; a plaintiff presents an evidence in support of his allegation and a defendant is to be found guilty or not guilty by plaintiff and defendant's evidence; not the pre-disposition report. Furthermore, this thesis suggests that pre-disposition report should be more detailed in order to assist the court in making informed dispositions that are genuinely in the best interest of the child and to prevent the juvenile from the aforementioned negative effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43966
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1419
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1419
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586003034.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.