Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44016
Title: | โนรา : รำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว |
Other Titles: | Nora : Ramkienprai-Yeaplookmanao |
Authors: | สุพัฒน์ นาคเสน |
Advisors: | สุรพล วิรุฬห์รักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Surapone.V@chula.ac.th |
Subjects: | โนรา การรำ -- ไทย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพน์เรื่องรำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบ ขั้นตอนการรำ บทบาท และความเชื่อ วิธีวิจัยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์นายโรงโนราผู้ทรงคุณวุฒิด้านโนรา และจากประสบการณ์ของผู้วิจัยในการเรียนรู้ การดู และการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองมีวิทยากรเป็นนายโรงโนรา 5 ท่าน ตามความอาวุโส คือ พร้อม จ่าวัง เลื่อน ละอองแก้ว ยก ชูบัว (ศิลปินแห่งชาติ) ครื้น สงวนทอง กลิ่น พานุรัตน์ ทั้งนี้เลือกจากผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะโนราสามารถสาธิตการำได้ด้วยตนเอง ผ่านการประกอบพิธีกรรมครอบเทริค ผูกผ้าใหญ่อย่างถูกต้อง อายุ 60 ปี ขึ้นไป และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไป จากนั้นนำความรู้มาจัดโครงสร้างเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและศึกษาสามัญลักษณะ การรำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว เป็นการรำโนราที่เกี่ยวข้องกับการทำคุณไสย การรำชุดนี้ต้องแสดงโดยนายโรงโนรา และแสดงเฉพาะในการประชันโรงเท่านั้น การรำเริ่มด้วยรำเฆี่ยนพรายและจบด้วยรำเหยียบลูกมะนาว ในการรำนี้มีหมอกบโรงเป็นผู้ช่วยด้านพิธีกรรม ผลการศึกษาพบว่า การรำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาว อาจแบ่งออกได้เป็น 8 ขั้นตอน คือ พิธีกรรมก่อนรำ การรำอวดความสามารถเฉพาะตัว การเรียนจิตวิญญาณของฝ่ายตรงข้าม การรำเข้าหาตัวพราย การเฆี่ยนตัวพราย การรำเข้าหาลูกมะนาว การเหยียบลูกมะนาว และทำพิธีปลงอนิจจัง จากการเปรียบเทียบการรำของนายโรงโนราทั้ง 5 ท่าน พบว่า มี 2 แนว แนวที่ 1 คือ มีการำอวดความสามารถเฉพาะตัวในช่วงต้นของกระบวนรำเฆี่ยนพราย หลังจากนั้นเป็นการรำพร้อมกับการบริกรรมคาถาจนจบกระบวนรำ แนวที่ 2 คือการรำอวดความสามารถเฉพาะตัวสลับกับการรำพร้อมบริกรรมคาถาไปโดยตลอด สำหรับความเชื่อที่สอดแทรกอยู่ในการรำนี้พบว่า มีความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ดัดแปลงมาจากคติในศาสนาพุทธ ฮินดู มุสลิม และการนับถือผีการแต่งกายของนายโรงโนราในการรำนี้เหมือนเครื่องแต่งกายของนายโรงโนราทั่วไป แต่โพกผ้ายันต์แทนการสวมเทริด ส่วนหมอกบโรงแต่งกายแบบพื้นบ้านธรรมดา ปัจจุบันการรำเฆี่ยนพราย-เหยียบลูกมะนาวหาดูได้ยากมาก เนื่องจากโนราประชันโรงที่สมบุรณืแบบไม่ค่อยมีจัดเหมือนในอดีต ดังนั้นควรมีการศึกษา การบันทึก และการสืบทอดการรำอันศักดิ์สิทธิ์นี้ไว้เป็นสมบัติของโนราสืบไป |
Other Abstract: | This thesis aims at studying the form, sequence, function and belief of Nora : ramkiemprai-yeaplookmanao. The methodology is based upon related documents, interviewing important nora artists, nora scholars ; and from researcher’s experience in learning, viewing, and training. Five nora artists were selected as resource persons based upon their gualifications as : 1. Head of the trupoe, 2. Can demonstrate the dance cy themselves, 3. Being authorized to perform nora sacred rituals, 4. Over 60 years old, and 5. Being welknown and recognized at large. Then all of the knowledges were structure and compared to cross check the correctness and to find the common characteristics. Ramkienprai-yeaplookmanao is a dance piece related to black magic or super natural power. It must be performed by the head of the troupe at the nora competition only. The dance begins with ramkienprai and with ramyeaplookmanao. Mohkobrong or assistant is required for ritual activities. The research finds that this dance piece can devided into 8 consecutive parts. They ar : 1. Predance rituai, 2. Dance showing one’s expertise, 3. Calling the spirit of the opposing party, 4. Approaching the spirit, 5. Whipping the spirit, 6. Approaching lime fruits also represent that spirit, 7. Stamping the lime fruits, and 8. Purghtion of the spirit. Dance comparison of the five nora artist’s finds two different patterns. First pattern starts with (a) dance showing one’s expertise which is followed by (b) dance incorporated with spiritual invocation. Second pattern is the alternation between (a) and (b) in rapid succession, Pertaining to the belief in the dance, there are believes drawn from Buddhism, Hinduism, Islamism and Animism. Nora dancer dresses in traditional nora style but using a magic cloth to cover his head instead of the crown. His assistant dresses in tradition costume. Today, very few ramkienprai-yeaplookmanao seen because nora competition in full scale is rarely performed. Thus, there should be studying, recording, documenting, and disseminating this sacred dance as a treasure of nora in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44016 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supat_Na_front.pdf | 817.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch1.pdf | 737.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch2.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch3.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch4.pdf | 864.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch5.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch6.pdf | 944.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_ch7.pdf | 753.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supat_Na_back.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.