Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44079
Title: การวิเคราะห์ความเข้าใจและการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของครูตามนโยบายการศึกษา
Other Titles: An analysis of teachers’ perceived understandings and practices according to educational policies
Authors: โชคอนันต์ จึงเจริญรัตน์
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นโยบายการศึกษา -- ไทย
ครู -- การประเมิน
Education and state -- Thailand
Teachers -- Rating of
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้าใจในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครู (2) เพื่อวิเคราะห์ระดับการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครู (3) เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในนโยบายการศึกษาที่คลาดเคลื่อนตามการรับรู้ สาเหตุของความเข้าใจนโยบายการศึกษาที่คลาดเคลื่อนตามการรับรู้และปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 6 จังหวัด ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) ปีการศึกษา 2554 จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 แบบ คือ (1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถามสำหรับครูในสถานศึกษา เรื่องการวิเคราะห์ความเข้าใจและการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของครูตามนโยบายการศึกษา (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเข้าใจและการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของครูตามนโยบายการศึกษา วิเคราะห์ผลด้วยสถิติบรรยาย และ two - way ANOVA ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โดยภาพรวมความเข้าใจในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 พบว่า ครูที่มีอายุการทำงาน10-20 ปีมีความเข้าใจในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้มากกว่ากลุ่มอื่น ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษามีความเข้าใจนโยบายการศึกษาตามการรับรู้มากกว่าครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษา ครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีความเข้าใจในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้สูงกว่าระดับครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี และ ขนาดสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีความเข้าใจนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครู มากกว่ากลุ่มอื่น 2. ภาพรวมการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 พบว่า ครูที่มีอายุการทำงาน10-20 ปีมีการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้มากกว่ากลุ่มอื่น ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษามีการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้มากกว่าครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษา ครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้สูงกว่าระดับครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี และ ขนาดสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษมีการปฏิบัติงานในนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ของครู มากกว่ากลุ่มอื่น 3. ครูมีความเข้าใจนโยบายการศึกษาตามการรับรู้ที่คลาดเคลื่อน ในนโยบายที่มีคำไม่สื่อความหมายโดยตรง เช่น นโยบายการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และมนุษยศาสตร์ ทั้งที่เป็นการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยการประยุกต์ เพื่อใช้ประโยชน์ในบริบทของสังคมไทยมากขึ้นคำว่า “การวิจัยพื้นฐานและการวิจัยการประยุกต์”และ นโยบายโครงการตำราแห่งชาติ โดยมาจาก 3 สาเหตุ คือ ตัวนโยบายการศึกษาเข้าใจยากยังไม่ชัดเจน สถานศึกษายังขาดการแจ้งรายละเอียดของข้อมูลที่ชัดเจน และ ครูไม่สนใจในนโยบายการศึกษาจึงขาดการตีความที่ชัดเจน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของครูตามนโยบายการศึกษา คือ นโยบายการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ครูบางท่านยังมีเข้าใจในตัวนโยบายการศึกษาที่คลาดเคลื่อน ภาระงานของครูมีมาก ครูไม่ร่วมมือในการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาไม่จริงจัง งบประมาณมีไม่เพียงพอ
Other Abstract: The purposes of this study were to: (1) to analyze level of teachers’ perceived understanding according to educational policies. (2) to analyze level of teachers’ perceived practices according to educational policies. (3) to analyze teachers’ perceived misconceptions regarding educational policies, causes of such misconceptions, and difficulties in the practice. The sample consisted of 395 teachers working in six schools under the Office of Basic Education, Ministry of Education in Bangkok and its perimeter in academic year 2011. The instruments used for data collection were a questionnaire and interview questions. The data were analyzed using descriptive statistics and two way ANOVA. Results revealed that: (1) Overall, teachers’ perceived understanding according to educational policies was in the “good” level with a mean of 4.07. Teachers having 10-20 year working experience had better understanding according to educational policies than the others. Secondary school teachers had better understanding according to educational policies than primary school teachers. Teachers with degrees higher than bachelor’s one had better understanding according to educational policies than teachers with bachelor’s degree. Teachers in extra-large schools had better understanding according to educational policies than the others. (2) Overall, teachers’ perceived practices according to educational policies were in the “good” level with a mean of 4.09. Teachers having 10-20 year working experience had better practices according to educational policies than the others. Secondary school teachers had better practices according to educational policies than primary school teachers. Teachers with degrees higher than bachelor’s one had better practices according to educational policies than teachers with bachelor’s degree. Teachers in extra-large schools had better practices according to educational policies than the others. (3) Teachers had some misconceptions according to educational policies regarding unclear statements such as policies about doing more research on science and technology, social science, religions, arts, culture, and humanities, fundamental research and applied research, and the National Textbook Project which had three causes: educational policies was difficult to understand, schools did not report their information well enough, and teachers were not interested in educational policies. Problems and difficulties regarding educational policies were frequent changes in educational policies, some teachers having misconceptions about educational policies, teachers’ workload, lack of cooperation among teachers, inconsistency in policy follow-up process, and insufficient budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44079
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.91
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.91
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chokanan_ju.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.