Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44103
Title: | ขันติธรรมและเสรีภาพทางศาสนา ตามแนวคิดของจอห์น ล๊อก : ศึกษารัฐไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475-2540 |
Other Titles: | John Locke's concepts of toleration and freedom of religion : A study of Thai state under constitution from B.E. 2475 to 2540 (1932-1997) |
Authors: | ปรีดา สถาวร |
Advisors: | ไชยันต์ ไชยพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chaiyan.C@chula.ac.th |
Subjects: | ศาสนากับสังคม ไทย -- ศาสนา เสรีภาพในการนับถือศาสนา ล็อค, จอห์น, ค.ศ. 1632-1704 |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดขันติธรรมและเสรีภาพทางศาสนาของ จอห์น ล็อก แล้วนำมาเป็นกรอบการศึกษารัฐไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๔๗๕-๒๕๔๐ ผลการศึกษาสามารถสร้างกรอบแนวคิดและวิเคราะห์ขันติธรรมและเสรีภาพทางศาสนาของรัฐไทยได้ ใน ๒ ด้าน คือ ด้านที่หนึ่ง สิ่งที่ต้องมีขันติธรรม คือ ศาสนา ตามแนวคิดของ ล็อก สังคมการเมืองและศาสนจักรมีเป้าหมายและวิธีการที่แตกต่างกัน เหตุทางญาณวิทยาและเทววิทยา ทำให้รัฐไม่อาจใช้วิธีการของตน คือ การใช้กำลังไปบังคับเรื่องราวทางจิตวิญญาณได้ สำหรับสังคมการเมืองไทย ศาสนาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องทางจิตวิญญาณ แต่ถือเป็นรากฐานทางศีลธรรมที่รัฐต้องปกป้อง ศาสนาที่รัฐจะมีขันติธรรมได้ ต้องมีความเชื่อและพิธีกรรมที่ไม่ขัดกับศาสนาของรัฐ ด้านที่สอง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับขันติธรรม เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีขันติธรรม กับ ผู้ได้รับขันติธรรม คือ ๑) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนจักร รัฐไทยมีอำนาจเข้าไปจัดรูปแบบและโครงสร้างของศาสนจักรและสามารถใช้อำนาจบังคับในพื้นที่ของศาสนจักรได้ ๒) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและศาสนจักรประจำชาติ กับคนต่างศาสนา รัฐเคยไม่มีขันติธรรมต่อชาวคริสต์และมุสลิม ภายใต้ลัทธิชาตินิยมในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แม้เหตุการณ์คลี่คลายลง แต่ก็ยังมีทัศนะในทางลบต่อคนต่างศาสนาอยู่บ้าง ๓) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและศาสนจักรจารีตกับกลุ่มชาวพุทธด้วยกัน เหตุทางเทววิทยาของ ล็อก คือ ความรอดเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล รัฐจึงไม่สามารถใช้อำนาจบังคับได้ สำหรับรัฐไทยจากการที่เห็นว่าศาสนาเป็นรากฐานทางศีลธรรมที่รัฐต้องปกป้อง รัฐจึงมีกฎหมายที่ทำให้รัฐและศาสนจักรจารีตสามารถบังคับต่อผู้ที่ไม่เห็นพ้องด้วย ได้ ๔) ความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองด้วยกัน ระหว่างชาวพุทธด้วยกันจะมีขันติธรรมต่อกันได้มากกว่าขันติธรรมที่รัฐจะให้แก่พลเมืองบางกลุ่ม จากการศึกษามีข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนจักร การปรับปรุงกฎหมายเพื่อการมีขันติธรรมและเสรีภาพทางศาสนา และการให้ความสำคัญกับศาสนาที่เป็นวิถีทางไปสู่ประโยชน์สูงสุดของชาติ ไม่ใช่ศาสนาที่เป็นเป้าหมายในตัวเอง |
Other Abstract: | This study was carried out to analyze John Locke’s concepts of toleration and freedom of religion. The concept was used to examine the Thai state under the Constitution during 1932 to 1997. The study of Locke’s concept constructed two conceptual and analytical frameworks for a study of Thai state’s toleration and religious freedom. The first framework involved object of toleration, that is religion. With regard to Locke’s theory, civil society and church (religious societies) differ in ends and means. The nature of church entails that state should not use coercive means in the sphere of spiritual matters. However, in the case of the Thai society, religion is not only the spiritual basis but also a moral standard that the Thai state has to uphold. Therefore, religious beliefs and worships that the Thai state can tolerate must not conflict with the state church. Secondly, it deals with the people involved in toleration, namely, the tolerator and the tolerated. This framework analyses four relationships between the tolerator and the tolerated. The first is the relation between state and church. The Thai state has a power to organize and structure the religious society including a power of law enforcement over the religions’ sphere. The second lies in the relations amongst the state, the state church and the citizen of other religions. In this matter, the Thai state used to have intolerance with the Christian and Muslim during the Pibulsongkram government. Although the intolerance declined later on, however, the negative attitude to other religions still exist tacitly. The third is the relationship between the state, the orthodoxy and the Buddhist sects or religious movement. In Locke’s concept, it is the responsibility of each individual to seek for the truth and the way to heaven, so the state or anyone can not use coercive means in this religion matter. Nevertheless, the Thai state proclaims that religion is the basis for moral standards that the state has to uphold. Thai state, then, issued laws that allow state and orthodoxy to sanction heretics or schism. The last is the relationship amongst the citizens. The extent of mutual toleration amongst the Buddhists themselves is higher than the state’s toleration towards some group of citizens. This study has some suggestions with regard to the restructuring of the relationship between the state and the religious society, and the need for reforming law for more religious freedom and toleration. It also proposed that religion should be disposed as a means to gain the public good in civil society instead of accomplishing of their own goals. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44103 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.763 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.763 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
preeda_sa_front.pdf | 904.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch1.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch2.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch3.pdf | 10.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch4.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch5.pdf | 5.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch6.pdf | 9.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_ch7.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
preeda_sa_back.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.