Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44148
Title: การนับถือศาสนา การเผชิญปัญหา การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นคืนพลังของสมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Other Titles: Religious orientation, family copings, social support and family resilience among family members of person with chronic illness
Authors: กัญญาวีร์ พรหมพันธุ์
มุทิตา คำทัปน์
เมริษา ยอดมณฑป
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
สุภลัคน์ ลวดลาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Arunya.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: จิตวิทยากับศาสนา
พุทธศาสนากับจิตวิทยา
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแลที่บ้าน
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- ภาวะสังคม
โรคเรื้อรัง
Psychology and religion
Chronically ill
Chronically ill -- Home care
Chronically ill -- Social conditions
Chronic diseases
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การนับถือศาสนา (การนับถือศาสนาจากแรงจูงใจภายใน และการนับถือศาสนาจากภายในจากแรงจูงใจภายนอก) การเผชิญปัญหาของครอบครัว (การส่งเสริมการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว การรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเข้าใจการรักษาโรค) การสนับสนุนทางสังคม และการฟื้นคืนพลังของสมาชิกครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการนับถือศาสนา มาตรวัดการเผชิญปัญหาของครอบครัว มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม และมาตรวัดการฟื้นคืนพลังของครอบครัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบใส่ตัวแปรทุกตัวเข้าไปในสมการ ผลการวิจัยพบว่า 1. การนับถือศาสนาจากแรงจูงใจภายใน และ การนับถือศาสนาจากภายในจากแรงจูงใจภายนอกมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .34, p < .01 และ r = .38, p < .01 ตามลำดับ) สำหรับการเผชิญปัญหาของครอบครัว คือ การรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว การคงไว้ซึ่งการสนับสนุนทางสังคมในมีและ การเข้าใจการรักษาโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .37, p < .01; r = .36, p <. 01 และ r = .33, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนการสนับสนุนทางสังคมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการฟื้นคืนพลังของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ (r = .58, p<.01) 2. การนับถือศาสนา การเผชิญปัญหาของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการฟื้นคืนพลังของครอบครัวได้ร้อยละ 58 โดยมีการเข้าใจในการรักษาโรคมีนํ้าหนักในการทำนายสูงที่สุด (β = .35, p < .01) รองลงมา คือ การคงไว้ซึ่งการสนับสนุนทางสังคม (β = .25, p < .01) เพศ (β = .23, p < .01) ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยที่สุด (β =.16, p <.01) การคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในครอบครัว (β = .13, p <.01) การนับถือศาสนาจากภายนอก (β = .10, p <.01) การนับถือศาสนาจากภายใน (β = .02, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคม (β = -.05, p < .01)
Other Abstract: The study aimed to examine relationships among religious orientation (internal and external religious orientation), family coping (family relation, maintaining social support, and understanding the medical situation), social support and family resilience. Participants were 160 family members of persons with chronic illness in central provinces of Thailand. Instruments were Religious Orientation Scale, Family Coping Scale, Social Support Scale and Family Resilience Scale. Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression analysis with enter method were used to analyze the data. Findings revealed as below. 1. Intrinsic and extrinsic religious orientations were positively and significantly correlated with family resilience (r = .34, p < .01 and r = .38, p < .01 respectively). Regarding family coping, family relation, maintaining social support, and understanding the medical situation were positively and significantly correlated with family resilience (r = .37, p < .01; r = .36, p < .01 and r = .33, p < .01 respectively). In addition, social support was positive and significantly correlated with family resilience (r = .58, p < .01). 2. Religious orientations, family coping, and social support significantly predict family resilience of family members of persons with chronic illness and accounted for 58 percentage of total variance of family resilience. The salient predictor was the medical situation (β = .35, p < . 01), followed by maintaining social support (β = .25, p < .01) gender (β = .23, p <.01) duration (β = .16, p < .01) family relation (β = .13, p < .01) extrinsic religious orientation (β = .10, p < .01) internal religious orientation (β = .02, p < .01) and social support (β = -.05, p < .01)
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44148
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyavee_pr.pdf980.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.