Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44220
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา : การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนและความไว |
Other Titles: | A development of the composite indicators of quality evaluation of higher education institutions : uncertainty and sensitivity analyses |
Authors: | วารุณี ลัภนโชคดี |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.K@Chula.ac.th Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันอุดมศึกษา -- การประเมิน ประกันคุณภาพการศึกษา ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Universities and colleges -- Evaluation Educational indicators |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินคุณภาพของรายงานการประเมินตนเองและรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพของรายงานการประเมินตนเองและรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถาบันอุดมศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา ตัวบ่งชี้รวมคุณภาพของรายงานการประเมินตนเอง และตัวบ่งชี้รวมคุณภาพของรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถาบันอุดมศึกษา แหล่งข้อมูลสำหรับการวิจัยประกอบด้วยรายงานการประเมินตนเอง 173 ฉบับ และรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก 200 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบรายการตรวจสอบสำหรับการประเมินงานประเมินโครงการ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) รายงานการประเมินตนเองของสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันคือ รายงานฯ ของสถาบันฯ ทุกแห่งมีคุณภาพในภาพรวมระดับพอใช้ มีคุณภาพในมาตรฐานด้านความเป็นไปได้และ ด้านความเหมาะสมชอบธรรมอยู่ในระดับพอใช้ และมีคุณภาพในมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง รายงานของสถาบันทุกประเภท ยกเว้นรายงานฯ ของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง มีคุณภาพในมาตรฐานด้านอัตถประโยชน์อยู่ในระดับดี ส่วนรายงานฯ ของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางส่วนใหญ่มีคุณภาพในมาตรฐานด้านอัตถประโยชน์อยู่ในระดับดี มีรายงานฯ เพียงส่วนน้อยมากที่มีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง 2) รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน คือ รายงานฯ ส่วนใหญ่มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ มีรายงานฯ เพียงส่วนน้อยที่มีคุณภาพในระดับดี โดยรายงานฯ ของทุกสถาบันมีคุณภาพด้านอัตถประโยชน์อยู่ในระดับดีและมีคุณภาพในมาตรฐานด้าน ความเหมาะสมชอบธรรมอยู่ในระดับพอใช้ รายงานส่วนใหญ่มีคุณภาพในมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับพอใช้ แต่ยังมีรายงานที่มีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง วิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันประเภทเดียวที่ ทุกสถาบันในกลุ่มมีคุณภาพในมาตรฐานด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับดี รายงานฯ ส่วนใหญ่ของสถาบันประเภทที่เหลือทั้งหมด มีคุณภาพในมาตรฐานด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับพอใช้ 3) ผลการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวบ่งชี้รวมที่แสดงคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ลำดับที่ของสถาบันฯ มีความแปรปรวนที่เกิดจากการใช้รูปแบบการรวมที่แตกต่างกัน แหล่งความไม่แน่นอนที่มีอิทธิพลต่อความแปรปรวนของลำดับที่ของสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทมากที่สุดคือการให้น้ำหนักตัวบ่งชี้ย่อย รองลงมาคือการปรับค่าตัวบ่งชี้ย่อยให้เป็นมาตรฐาน และการรวมตัวบ่งชี้ย่อยเข้าด้วยกัน ตามลำดับ 4) ผลการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนของตัวบ่งชี้รวมที่แสดงคุณภาพของรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกและรายงานการประเมินตนเองของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ความแปรปรวนของลำดับที่คุณภาพของรายงานฯ ที่เกิดจากการใช้รูปแบบการรวมที่แตกต่างกันมีน้อยมาก การจัดลำดับที่คุณภาพรายงานโดยใช้ค่าตัวบ่งชี้รวมที่เป็นค่าเฉลี่ยของผลการประเมินใน 4 มาตรฐานนั้นเป็นการจัดลำดับที่ที่ไม่มีความลำเอียง |
Other Abstract: | The three objectives of this research were 1) to evaluate the quality of the higher educational institutes' self assessment reports and external quality assessment reports. 2) to synthesize the quality evaluation’s results of higher educational institutes' self assessment reports and external quality assessment reports. 3) to develop composite indicator of higher educational institutes' quality; composite indicator of the quality of higher educational institutes' self assessment reports; composite indicator of the quality of higher educational institutes' external quality assessment reports. The data sources consisted of 173 self assessment reports and 200 external quality assessment reports. Research instrument was program evaluations metaevaluation checklist. The significant research findings were as follows: 1) The quality of higher educational institutes' self assessment reports was approximately equal in all institutes' types. All institutes' reports had fair overall quality, fair in feasibility and propriety standard but poor in accuracy standard. The quality of the reports in all institutes' types, except special higher educational institutes was good in utility standard. But almost all reports in special higher educational institutes had good quality in utility standard; only a few had poor quality. and should be improved. 2) The quality of higher educational institutes' external quality assessment reports in all institutes' types were approximately equal. The overall quality of most reports was fair; only a few reports was good. The quality of all institutes’ reports was good in utility standard and fair in propriety standard. Most of all institutes' reports were fair in accuracy standard; there were some reports, the quality of which was poor and should be improved. The community college type was the only one that all institutes’ reports were good in feasibility standard. The quality of most reports in all remaining institutes' types was fair in feasibility standard. 3) The uncertainty analysis results of the composite indicator of higher educational institutes' quality founded that the higher educational institutes' rank varied according to different combination format. The uncertainty source having the highest effects on variation of the institutes' rank in all institutes' types was the sub-indicator weighting, next was the sub-indicator normalization and the sub-indicator combination respectively. 4) The uncertainty analysis results of the composite indicator of the quality of higher educational institutes' self assessment reports and external quality assessment reports revealed that there were very small variation in the evaluation reports’ quality rank due to different combination format. Ranking the evaluation reports’ quality using composite indicator derived from averaging evaluation results in 4 standards yielded unbiased ranking. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44220 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1054 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1054 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Warunee_La.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.