Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44551
Title: แบบจำลองรายได้ของสถานีรถโดยสารในประเทศไทย
Other Titles: REVENUE MODEL OF BUS TERMINALS IN THAILAND
Authors: ศิริพงษ์ เย็นใจ
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saksith.C@chula.ac.th,saksith.c@gmail.com
Subjects: รายได้ -- แบบจำลองทางเศรษฐมิติ
สถานีรถประจำทาง -- ไทย
รถประจำทาง -- ไทย
Income -- Econometric models
Bus terminals -- Thailand
Buses -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์รายได้จากการดำเนินการของสถานีขนส่งผู้โดยสารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้คาดการณ์แนวโน้มของรายรับของสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองในประเทศไทยจากอดีตที่อาจจะมีผลต่อในอนาคตได้โดยควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อรายได้ของสถานี ปัจจัยเหล่านี้สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มได้แก่ 1. จำนวนเที่ยวรถโดยสารประจำทางที่เข้าใช้สถานี 2. ลักษณะทางกายภาพของสถานี 3. จำนวนประชากรในบริเวณที่ตั้งของสถานี 4. ลักษณะของที่ตั้งสถานีบนโครงข่ายเส้นทางรถโดยสาร และ 5. ลักษณะการใช้ที่ดินรอบสถานี โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลในการสร้างแบบจำลองจากฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ประจำสถานี และ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของสถานี โดยมีข้อมูลจากสถานีขนส่งทั้งสิ้น 76 สถานีระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2555 ในการวิเคราะห์ความถดถอย ผู้วิจัยได้ตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดข้อสมมติความแปรปรวนคงที่ (Homoscedasticity) ผู้วิจัยจึงใช้ Robust Standard Error สำหรับทดสอบสมมติฐานทางสถิติของสัมประสิทธิ์ในสมการถดถอย ผลการวิเคราะห์แบบจำลองพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ โดยปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ของสถานีขนส่งผู้โดยสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากจะเป็นจำนวนเที่ยวรถโดยสารที่เข้าใช้สถานีแล้ว ยังรวมถึงจำนวนประชากรในอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานี, ลักษณะทางกายภาย , ลักษณะการใช้พื้นที่ที่ดินรอบสถานีบางตัวแปร และตำแหน่งของสถานี โดยผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองนี้จะเป็นประโยชน์ในการประเมินรายได้ของสถานีและการกำหนดอัตราค่าใช้บริการสถานีที่เหมาะสมในอนาคต
Other Abstract: This paper presents the results from the analysis of operating revenues of bus terminals, with the objective of constructing the model to predict the revenue of inter-city bus terminal from the past to the future. The model controls for four groups of factors affecting the revenue, namely: 1. number of bus trips using terminal, 2. physical characteristics of terminal, 3. number of population in the district where the terminal is located, 4. location of terminal relative to bus route network, and 5. Land use. The authors compiled data from Department of Land Transport’s database, National Statistical Office, and interview survey of passenger terminal’s officials. These data are available from 76 bus terminals between 2008 and 2012. We conducted regression analysis of bus terminal revenues and found that the homoscedastic errors assumption is violated. Therefore, we used Robust Standard Error for statistical inferences about regression coefficients. The results of the estimated model show satisfactory level of goodness of fit. The factors affecting bus terminal’s revenue that are statically significant include not only the number of bus trips using terminal, but also population in the district where terminal is located as well as physical, some variable of land use and geographical characteristics of terminal. The findings from this study will be useful in estimating revenues of bus terminals and for determining appropriate fees for use of terminals in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44551
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.559
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570564021.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.