Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44637
Title: การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแคนลายแม่บทของครูสมบัติ สิมหล้า
Other Titles: A STUDY OF TRANSMISSION PROCESSES OF PROTOTYPICAL KHAEN PERFORMANCE BY SOMBUD SIMLA
Authors: สราวุฒิ สีหาโคตร
Advisors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: narutt.s@chula.ac.th
Subjects: สมบัติ สิมหล้า
แคน -- การแสดง
Sombad Simla
Kaen -- Performance
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแคนและการวิเคราะห์ลายแม่บททั้ง 6 ลาย ได้แก่ ลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้าย ลายเซ และลายสร้อย ของครูสมบัติ สิมหล้า 2) สร้างคู่มือฝึกทักษะการบรรเลงแคนลายแม่บททั้ง 6 ลาย ได้แก่ ลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้าย ลายเซ และลายสร้อย ตามแนวทางการสอนของครูสมบัติ สิมหล้า วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1.ครูสมบัติ สิมหล้า ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงแคนอย่างเข้มข้นจากบิดาของท่านและครูหมอแคน จนเชี่ยวชาญด้านการบรรเลงแคนและการถ่ายทอดแคน สามารถแบ่งกลุ่มลูกศิษย์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่มีพื้นฐานด้านการบรรเลงแคนลายแม่บทมาแล้ว 2) กลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานด้านการบรรเลงแคนลายแม่บท แต่มีพื้นฐานการบรรเลงแคนมาแล้ว 3) กลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานการบรรเลงแคน สำหรับการเรียนการสอนการบรรเลงแคนลายแม่บทของครูสมบัติ สิมหล้า มี 2 ลักษณะ คือ การสอนแบบเดี่ยวและการสอนบรรเลงประกอบหมอลำ โดยสอนที่บ้านและสถาบันการศึกษาที่ได้รับเชิญ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลักการสอนที่สำคัญ 4 ประการ คือ สอนตามระดับความสามารถของผู้เรียน สอนวิธีการบรรเลง สอนบทเพลง สอนทักษะอย่างเป็นขั้นตอนโดยการสอนแบบมุขปาฐะด้วยการอธิบาย สาธิต อุปมา อุปมัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งครูสมบัติ สิมหล้า เน้นมากที่สุด คือ การทำเสียงหรือสร้างเทคนิคในการบรรเลงให้หลากหลาย ชัดเจน เพื่ออรรถรสในการฟัง และได้ทำการวิเคราะห์ลายแคนแม่บทเพื่อนำไปจัดสร้างคู่มือการสอนทักษะการบรรเลงแคนลายแม่บท โดยการนำเอาทฤษฎีของ ณรุทธ์ สุทธจิตต์ สนอง คลังพระศรี และสถาพร นุชดอนไผ่ มาพัฒนาและประยุกต์ในการวิเคราะห์ลายแม่บทครั้งนี้ 2. คูมือการสอนทักษะการบรรเลงแคนลายแม่บทของครูสมบัติ สิมหล้า ประกอบด้วย 1) ปก 2) คำนำ 3) คำชี้แจงในการใช้คูมือ 4) สารบัญ 5) เนื้อหาสาระที่จำเป็นสำหรับการสอนและการฝึกทักษะการบรรเลงแคนลายแม่บท ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของแคน ลักษณะทางกายภาพของแคน ช่วงเสียงและตำแหน่งของเสียงแคน บทบาทหน้าที่ของแคนในวงดนตรีพื้นบ้านประเภทต่างๆ โน้ตแบบฝึกและบทเพลงที่ใช้ในการสอน 6) วิธีการสอนและขั้นการฝึกทักษะ ได้แก่ ขั้นที่ 1 รู้จักผู้เรียน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้สอนทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับผู้เรียน ขั้นที่ 2 พื้นฐานการจับแคนและท่าทางในการบรรเลงแคน ขั้นที่ 3 การใช้ลิ้นในการตัดลม ขั้นที่ 4 การแบ่งหน้าที่ของนิ้ว และการไล่นิ้ว ขั้นที่ 5 ฝึกเทคนิคและการสร้างเสียงต่างๆ 7) การวัดและประเมินผล 8) แหล่งข้อมูล
Other Abstract: This research aims to 1) study the transmission process of the six primary songs of the Khaen including Lai Yai, Lai Noi, Lai Soudsanaen, Lai Po Sai, Lai Say, and Lai Soi and 2) develop a teaching manual for the six primary modesof the Khaen in accordance with the teachings of Sombat Simlah. This study uses a qualitative research methodology through data collection in the form of in-depth interviews. The data is analyzed by using an interpretive method and inductive reasoning approach and presented in a descriptive manner. The findings firstly suggest that Sombat Simlah acquired his skills in playing and teaching the six primary modes of Khaen through receiving intensive training from his father and various Khaen artists. His students are divided into three categories as 1) those with the basic skills in performing primary modes 2) those with the basic skills to play Khaen but have no prior basic skills to its primary modes and 3) those who have no basic skills to play Khaen. His two methods of teaching the primary modes comprise of a one-on-one session and in playing the pieces of Mor Lam music. Sombat Simlah teaches at home in a traditional manner and at universities where he is invited. His four principles of teachings are based on the level of the student, the method of playing, the compositions, and the step-by-step technique where he uses oral transmission to explain and demonstrate so students understand and are able to perform correctly. Sombat Simlah gives the highest focus on creating diverse and sharp sounds and techniques for the audience’s pleasure. Secondly, the teaching manual on the primary songs of the Khaen by Sombat Simlah consists of the manual information, contents, teaching and training methods on the primary modes of the Khaen, assessment and evaluation, and references.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44637
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.772
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.772
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583478927.pdf15.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.