Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44723
Title: ไทยจ๋า : การสร้างบทละครใบ้ที่ผนวกความตลกขบขันกับเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทย
Other Titles: Thai Ja : writing a pantomime script that blends humour with criticism of Thai society
Authors: เพียงไพฑูรย์ สาตราวาหะ
Advisors: ปริดา มโนมัยพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: buapaida@hotmail.com
Subjects: ละครใบ้ -- ไทย
ละครใบ้ -- แง่สังคม -- ไทย
ละครใบ้ -- แง่สังคม -- อารมณ์ขัน
ละครใบ้ -- การประพันธ์
Pantomime -- Thailand
Pantomime -- Social aspects -- Thailand
Pantomime -- Social aspects -- Humor
Pantomime -- Authorship
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง ไทยจ๋า: การสร้างบทละครใบ้ที่ผนวกความตลกขบขันกับเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทย ตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าหากมีการสร้างบทละครใบ้ที่เน้นหยิบยกสถานการณ์หรือเหตุการณ์เฉพาะที่คนไทยสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวกับเนื้อหาที่ถูกนำเสนอในละครใบ้ได้ทันที จะทำให้ได้บทละครใบ้ที่มีสามารถผนวกองค์ประกอบสำคัญทั้งสองอย่างคือมีความตลกขบขันและมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยร่วมสมัยอย่างลึกซึ้ง ผู้วิจัยเริ่มต้นจากศึกษาวิธีการสร้างบทละครใบ้จากนักแสดงและกลุ่มนักแสดงละครใบ้ในประเทศไทยจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ ศึกษาวิธีการสร้างบทละครใบ้จากตำรา บทความวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นผู้วิจัยจะนำกระบวนการที่สังเคราะห์ได้มาสร้างบทละครใบ้กรณีศึกษาเรื่อง ไทยจ๋า โดยใช้แนวคิดเรื่องการนำเสนอแก่นความคิดหลักของเรื่องผ่านโครงสร้างและองค์ประกอบของบทละครพูด และ แนวคิดการสร้างบทละครด้วยวิธีการทำงานแบบร่วมมือกัน มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างบทละครร่วมกับแนวคิดเรื่องการสร้างบทละครใบ้ ผู้วิจัยทดลองสร้างบทละครใบ้ร่วมกับนักแสดงละครใบ้ จนได้บทละครใบ้เรื่อง ไทยจ๋า ที่ประกอบไปด้วยละครใบ้ขนาดสั้นทั้งหมด 7 เรื่อง และได้ทดลองจัดแสดงต่อหน้าผู้ชมเพื่อเก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้ชมต่อบทละครใบ้ที่มีการผนวกความตลกขบขันกับเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทย
Other Abstract: Thai Ja: Writing a Pantomime Script That Blends Humour with Criticism of Thai Society is a creative research based on the hypothesis that pantomime script writing procedure that focuses on using specific situations and events to which the Thai audience can relate spontaneously their personal experiences, would efficiently combine two essential elements of pantomime script, consisting of humour and serious critical content of Thai contemporary society. The researcher started the research by studying pantomime script composing approaches, interviewing Thai pantomime performers, and observing their works in progress. Moreover, the researcher studied the concept of pantomime script from textbooks, academic papers and related researches, subsequently evaluated the studies and writes a new pantomime script. The researcher also used two methods as additional devices of script writing process; which are the concept of presenting main idea through plot structure and elements in spoken play script, and the concept of collaborative creation. The researcher composed a new pantomime script together with a selected group of performers and achieved a new experimental pantomime script called Thai Ja consisting of 7 short pantomimes. Afterwards, the researcher organized the show case of Thai Ja to collect feedbacks and comments from the audience.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปการละคร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44723
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.604
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.604
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
piangpaitoon_sa.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.