Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44870
Title: | การพัฒนาระบบเฝ้าระวังรังสีแกมมาที่ระบุตำแหน่งด้วยจีพีเอสผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ |
Other Titles: | Development of a gps interfaced gamma monitoring system via mobile network |
Authors: | วสันต์ วงศ์สิโรจน์กุล |
Advisors: | เดโช ทองอร่าม อรรถพร ภัทรสุมันต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | decho.t@chula.ac.th Attaporn.P@chula.ac.th |
Subjects: | รังสีแกมมา โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก Gamma rays Cell phones Global Positioning System |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบวัดรังสีขนาดเล็กที่สามารถระบุตำแหน่งการวัดได้ด้วยจีพีเอส และสามารถสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยได้ออกแบบระบบให้รองรับการจัดระบบวัดรังสีทั้งแบบนับรวมและนับแยกพลังงานที่ประกอบด้วย วงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำ วงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูง วงจรขยายสัญญาณพัลส์ วงจรวิเคราะห์แบบช่องเดี่ยว วงจรนับรังสี วงจรตั้งเวลา และวงจรเรตมิเตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงในอนาคต ดังนั้นในการพัฒนาวงจรเหล่านี้จึงได้เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ภายในประเทศเพื่อความประหยัดและหาอุปกรณ์ทดแทนได้ง่าย ผลการทดลองจัดระบบวัดรังสีแบบนับรวมพบว่าสามารถนับรังสีที่อัตรานับสูงสุดได้ถึง 150 กิโลเคานต์ต่อวินาทีในส่วนวงจรนับรังสี โดยในส่วนวงจรเรตมิเตอร์สามารถวัดได้สุงสุดที่ 100 กิโลเคานต์ต่อวินาที สำหรับการตั้งเวลานับรังสีสามารถทำได้ตั้งแต่ 1 วินาที ถึง 99 นาที ในขณะที่การจัดระบบวัดรังสีแบบแยกนับเฉพาะพลังงานนั้นมีผลทดสอบความไม่เป็นเชิงเส้นของสเกล LLD และ ของอุปกรณ์วิเคราะห์แบบช่องเดี่ยวพบว่ามีค่าเป็น 0.20 และ 0.21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในการทดสอบการหาตำแหน่งโดยจีพีเอสพบว่าสามารถระบุตำแหน่งได้โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร และจากการทดลองวิเคราะห์สเปกตรัมพลังงานของ Cs-137 ด้วยหัววัดรังสีชนิด NaI(Tl) ขนาด 2 นิ้ว พบว่าให้ผลเป็นที่พอใจสำหรับการใช้งานด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยพื้นฐานด้วยค่าความเป็นเชิงเส้นของการปรับเทียบพลังงานเป็น 0.9996 |
Other Abstract: | This research was aimed to develop a portable type radiation measuring system with a GPS locator that communicates result via mobile network. The system was designed to support both integral and differential counting and consists of low voltage power supply, high voltage power supply, pulse amplifier, single channel analyzer, scaler, timer and ratemeter. For ease of future maintenance, materials and devices were locally available and economical. The test results indicated that the maximum counts for integral counting of the scaler was found to be 150 kcps and ratemeter was found to be 100 kcps. The counting time could be set from 1 second to 99 minutes. The nonlinearity test of LLD and of the single channel analyzer in differential counting system was found to be 0.20% and 0.21% respectively. GPS receiver of system can achieve accuracies of approximately 10 meters. The energy spectrum of Cs-137 obtained by using a 2”x 2” NaI(Tl) scintillator detector was very satisfactory with energy calibration linearity of 0.9996. The performance of this system was adequate for education and basic research. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44870 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1663 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1663 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wasan_wo.pdf | 6.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.