Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44927
Title: การส่งเสริมการขายที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค : กรณีศึกษาของประเทศไทย
Authors: พงศ์สิน ลัคนากุล
Advisors: สุษม ศุภนิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Susom.S@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมการขาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
Sales promotion -- Law and legislation -- Thailand
Consumer protection -- Law and legislation -- Thailand
Competition, Unfair
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในปัจจุบันนี้ ได้มีการแข่งขันกันทางด้านโฆษณาและการส่งเสริมการขายกันอย่างมาก เช่น การชิงโชค การให้ของแถมของรางวัล หรือการลดราคา เป็นต้น ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายขึ้นมาว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่กำกับการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีลักษณะเป็นพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมเพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคและกระบวนการแข่งขันของผู้ประกอบการได้อย่างเป็นธรรมและเพียงพอหรือไม่ เพียงใด ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาถึงทฤษฎีหลักการของการส่งเสริมการขายและกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขายในด้านของการคุ้มครองผู้บริโภคและกการแข่งขันทางการค้า โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของเครือสหภาพยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ตามลำดับ ผู้วิจัยพบว่า กฎหมายของประเทศข้างต้นมีบทบัญญัติที่ชัดเจนซึ่งกำหนดให้รายการส่งเสริมการขายในบางรูปแบบเป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า และมีการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมการจัดรายการส่งเสริมการขายในหลายๆ รูปแบบ เช่น ในประเทศญี่ปุ่นจะมีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมูลค่าของแถมหรือรางวัล ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่กำหนดควบคุมระยะเวลาในจัดรายการส่งเสริมการขายที่มีการให้ของแถมหรือลดราคา ส่วนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปก็มีการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขายที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมไว้โดยเฉพาะอีกด้วย เป็นต้น แต่ในประเทศไทยกลับมีเพียงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในด้านการโฆษณาซึ่งมุ่งเน้นที่จะควบคุมที่ข้อความที่แสดงต่อผู้บริโภค แต่ไม่ได้ควบคุมถึงรูปแบบของการจัดรายส่งเสริมการขาย โดยในกรณีการชิงโชค ก็จะมีหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบการจัดรายการส่งเสริมการให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอ และในด้านการคุ้มครองการแข่งขันทางการค้า ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ก็ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำที่ถือว่าเป็นวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมไว้อย่างกว้างๆ เท่านั้น ซึ่งยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการนำไปใช้พิจารณาหรือปฏิบัติตาม ดังนั้น ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอว่า ควรนำมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มาแก้ไขและปรับใช้ เนื่องจากสามารถใช้ควบคุมรูปแบบของการส่งเสริมการขายได้ โดยให้อำนาจแก่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าสามารถกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขายที่เป็นวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามแนวทางของประเทศต่างๆ ที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
Other Abstract: Nowadays, the business conducts of the entrepreneurs are strong competitive in advertising and sales promotion, for example, sweepstakes, premiums, and price reduction. From this, a legal issue has arisen that whether Thailand has sufficient regulation on controlling the sales promotion, which is considered as unfair trade practice, to protect the fair competition and consumer rights. In this thesis, the researcher studies the theory of sales promotion and laws on the sales promotion concerning consumer protection and competition, by comparing with the laws of the European Union, the laws of the United States of America, and the laws of Japan respectively. It is found that the laws of the said countries clearly specify certain types of sales promotion to be considered as unfair trade practices. There are also several rules to control the sales promotion in many ways. For example, Japan has a law on the value of the premiums, the United States of America has a law controlling the period of time of the sales promotion which includes premiums or price reduction, and the European Union law specifies the types of sales promotion which are considered unfair. However, in Thailand there is only Consumer Protection Act B.E. 2522 regarding the advertising, intending to control the statement shown to the consumers. The Consumer Protection Act does not control the types or methods of sales promotion. For the sweepstakes, the Gambling Act B.E. 2478 only requires that it must have been permitted from the authority before. This is insufficient and unable to control or monitor the sales promotion to be fair to the consumers. For the competitive protection, section 29 of the Competition Act B.E. 2542 only and vaguely mentions the criteria of the unfair trade practices without a clear guideline to follow. Therefore, this thesis suggests that section 29 of the Competition Act B.E. 2542 be amended and apply to control the sales promotion by authorizing the Competition Commission to specify certain types of sales promotion to be considered as unfair trade practices in accordance with the practice of the above mentioned countries.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44927
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1705
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1705
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsin_lu.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.