Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45006
Title: การบริหารจัดการโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัดที่มีราคาขายต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554
Other Titles: Project management in the low-cost townhouse projects under 1.5 million baht per unit : a case study of Pathum Thani since 2011
Authors: อิสริยะ บุญญราศรี
Advisors: พรรณชลัท สุริโยธิน
อวยชัย วุฒิโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: sphancha@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การก่อสร้าง -- ไทย -- ปทุมธานี
บ้านแถว -- ไทย -- ปทุมธานี
Row houses -- Thailand -- Pathum Thani
Building -- Thailand -- Pathum Thani
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการบริหารจัดการโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัดที่มีราคาขายต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสภาพปัญหาหรืออุปสรรค ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาของโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัดที่มีราคาขายต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทต่อหน่วย ผู้วิจัยเลือกวิธีการเก็บข้อมูลโดยอาศัยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยสัมภาษณ์ผู้จัดการหรือตัวแทนองค์กร 10 โครงการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโครงการที่ทำมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 โครงการ และจดทะเบียนจัดสรรถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งต้องไม่เป็นบริษัทมหาชนในประเด็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานองค์กรข้อมูลการจัดการงานก่อสร้างและปัญหาหรืออุปสรรคของโครงการ แล้วนำมาสรุปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ จากผลการศึกษา เรื่องการบริหารจัดการโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัดที่มีราคาขายต่ำกว่า 1.5 ล้านบาทต่อหน่วยพบว่า โครงการมีการวางแผนการก่อสร้างโดยให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสูญเสียน้อยที่สุด โดยมีทรัพยากรด้านเงินทุนเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดแผนบริหารจัดการโครงการเมื่อพิจารณาจากข้อมูลสามารถจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการตามรูปแบบเงินทุนของโครงการ แยกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เงินทุนส่วนตัว 100% กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้ทุนจากธนาคารพาณิชย์ 100% และกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เงินทุนส่วนตัวและทุนจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มนี้ ประสบปัญหาหรืออุปสรรคในโครงการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เงินทุนส่วนตัว 100% จะพบปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ปัญหาด้านบุคลากร ขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรในงานกก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้ทุนจากธนาคารพาณิชย์ 100% พบว่าเนื่องจากเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับระยะเวลา จึงพบปัญหาที่เกิดจากจากความต้องการด้านบุคลากร และกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เงินทุนส่วนตัวและทุนจากธนาคารพาณิชย์ เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรการเงินต่อการจัดการทรัพยากรการก่อสร้างต่างๆ ในโครงการ จากปัญหาหรืออุปสรรคในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรในงานก่อสร้างของโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัด ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นการวางแผน การบริหารองค์กร การควบคุมและประเมินผลโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงการทาวน์เฮ้าส์ราคาประหยัดที่มีราคาขายต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท ให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในอนาคต
Other Abstract: The study aims to investigate the management strategies of low-cost townhouse projects in Phathumthani since 2011 as well as the problems encountered regarding management. It then goes on to propose possible solutions to those problems. The researcher chose to collect information through survey questionnaires and interviews with selected groups of samples including managers of the housing projects and representatives from the 10 real estate development companies. These companies have had experience in managing more than 5 housing projects in recent years, are properly registered according housing laws and are not listed as public limited companies. Data collected from the questionnaires and interviews provided general information about these real estate developers along with their strategic plans, problems and obstacles. This information was then used in the analysis process. The results of this study show that in terms of property management, these townhouse developers pay close attention to optimal resource utilization with capital being the key driving force in running the business. Based on the information obtained for this study, these developers can be grouped into three categories according to the type of funding they have. They are the self-funded developers, developers who take out property development loans from banks, and developers who both invest their own money and take out loans from banks. Each of these developers, however, faces their own challenges. The challenge faced by self-funded developers is poor organizational management which includes the lack of a long term resource management plan while developers with bank loans have to deal with the problems of time limitation and lack of staff. For developers who are self-funded and take out loans from banks, the problem lies in the financial resource management for each housing project. Based on the study of problems and obstacles in resource management of low-cost townhouse projects, the researcher proposes that these developers need to implement strategic planning, management plans, and proper control systems for their housing projects. It is believed that with these strategies, the future of the low-cost townhouse projects can be very promising.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45006
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1744
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1744
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
itsariya_bo.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.