Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45314
Title: รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสร้างความรู้และเพื่อนผู้เชี่ยวชาญผ่านวิกิ สำหรับนิสิตนักศึกษาครู
Other Titles: A training model enhancing learning management competency using knowledge creation process and peer assist via Wiki for pre-service teachers
Authors: อรญา อำนาจเจริญพร
Advisors: ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jaitip.N@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
วิกิ (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
นักศึกษาครู
การบริหารองค์ความรู้
Learning
Wikis (Computer science)
Student teachers
Knowledge management
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสร้างความรู้และเพื่อนผู้เชี่ยวชาญผ่านวิกิ สาหรับนิสิตนักศึกษาครู 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมฯ 3) นาเสนอรูปแบบการฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 ได้แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 วิชาเอกคอมพิวเตอร์ ระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการฝึกอบรม ด้านเทคโนโลยีการศึกษา และด้านการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test for dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากกิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้ (AAR) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบประเมินความต้องการจำเป็น 2) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการฝึกอบรม 4) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ (ปช.5.8-1) 5) แบบบันทึกกิจกรรมสะท้อนการเรียนรู้ (AAR) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการฝึกอบรม มี 10 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ 2) ชนิดของการเรียนรู้ 3) หลักสูตรการฝึกอบรม 4) ลักษณะการทางาน 5) บทบาทผู้เข้ารับการฝึกอบรม 6) บทบาทผู้ดาเนินการฝึกอบรม 7) บทบาทของเพื่อนผู้เชี่ยวชาญ 8) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บนวิกิ 9) ปัจจัยสนับสนุนการฝึกอบรม 10) การประเมินผล และมีขั้นตอนการฝึกอบรม ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกอบรม 2) ขั้นฝึกอบรม ซึ่งมีกระบวนการในขั้นฝึกอบรม 4 ขั้น ได้แก่ สื่อสารสัมพันธ์ แบ่งปันความคิด พิชิตความรู้ สู่การนาไปใช้ 3) ขั้นหลังการฝึกอบรม 2. ผลของการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการเรียนรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลของการนาเสนอรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสร้างความรู้และเพื่อนผู้เชี่ยวชาญผ่านวิกิสาหรับนิสิตนักศึกษาครู มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop a training model to enhancing learning management competency using Knowledge Creation process and peer assist via wiki for pre-service teachers; 2) to experimental a training model; 3) to propose a training model. The pilot studies have 3 phases; phase 1 there are pre-service teachers from the faculty of Education, Chulalongkorn University in education technology and communications major and experts of training, technology, and learning management; phase 2 there are pre-service teacher from the faculty of Education, Chulalongkorn University in computer education major; and phases 3 there are experts of training, technology, and learning management. The statistical methods used to analyze and present the data included percentage arithmetic mean, standard deviation, t-test for dependent, and analyzed data qualitative from After Action Review activity. The tools utilized in this research include 5 parts; 1) evaluation of Training Needs Assessments; 2) evaluation of lesson plan; 3) evaluation of learning management competency; 4) pre-post testing about learning management competency; 5) After Action Review (AAR). The research findings show that; 1. The model comprised of 2 parts consisted of 10 components and 3 steps; 1) pre-training 2) training, this step has 4 processes; Socialization Externalization Combination Internalization, and 3) post training. 2. The result of a training model indicated that the score of learning management competency in the experimental group is revealed significantly different at Alpha = .01 where the post-test was greater. 3. The result of proposed a training model were evaluated at a very good level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45314
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1338
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oraya_au.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.