Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45400
Title: การพัฒนาแบบทดสอบการก้าวขึ้นลง เพื่อทำนายสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF STEP TEST FOR PREDICTING MAXIMAL OXYGEN UPTAKE IN MALE BASKETBALL PLAYERS
Authors: วรรณวิสา บุญมาก
Advisors: เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
อรอนงค์ กุละพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chalerm.C@Chula.ac.th,lerm1951@gmail.com
Onanong.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบการก้าวขึ้นลง (Step Test) เพื่อประเมินค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) ได้แม่นยำใกล้เคียงกับวิธีวิเคราะห์ก๊าซ งานวิจัยนี้พัฒนาแบบทดสอบ Step Test รูปแบบใหม่ 16 รูปแบบ ซึ่งแตกต่างกันในเรื่องความสูงของกล่องก้าวขึ้นลง ความเร็วในการก้าว และระยะเวลาทดสอบ มีวิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (HR) โดยใช้ครื่องวัดอัตราการเต้นหัวใจ (Heart Rate Monitor; Polar) และการนับร่วมกับการใช้หูฟังทางการแพทย์ ค่า HR บันทึกในช่วงเวลาที่ต่างกัน ได้แก่ ตั้งแต่สิ้นสุดการทดสอบ, 15 วินาที, 20 วินาทีและ 1 นาที ทำการศึกษาในนักกีฬาบาสเกตบอลชายตัวแทนมหาวิทยาลัยของไทย โดยแบ่งการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกมีกลุ่มตัวอย่าง 6 คน ทำการทดสอบ Step Test รูปแบบใหม่ 16 รูปแบบ พบว่ามี 6 รูปแบบที่สามารถประเมินค่า VO2max ได้ใกล้เคียงกับวิธีวิเคราะห์ก๊าซ นำ 6 รูปแบบมาทำการศึกษาต่อไป ในระยะที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่าง 32 คน ผลการทดสอบพบว่า รูปแบบการทดสอบ 30cm.26.3M (HR C60) ซึ่งใช้กล่องสูง 30 cm ความเร็ว 26 รอบต่อนาที เป็นเวลา 3 นาทีติดต่อกัน และใช้หูฟังทางการแพทย์นับ HR ตั้งแต่สิ้นสุดการทดสอบไปจนครบ 1 นาที สามารถประมาณค่า VO2max ได้ใกล้เคียงกับ VO2max จากวิธีวิเคราะห์ก๊าซมากที่สุด (r2 = 0.714, r = 0.845, SEE = 2.726) โดยมีสมการประเมินค่า Predicted VO2max = 140.66 - 0.419(HR C60 (bpm)) - 0.248(Height (cm.)) ในขณะที่รูปแบบการทดสอบ Kn.30.3M (HR P00) ซึ่งปรับความสูงของกล่องที่ขณะก้าวข้อเข่าทำมุม 90 องศา ความเร็ว 30 รอบต่อนาที เป็นเวลา 3 นาทีติดต่อกัน และวัด HR ด้วยเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ขณะสิ้นสุดการทดสอบทันที เป็นรูปแบบการทดสอบที่ประมาณค่า VO2max สูงที่สุดเป็นอันดับที่สอง (สมการประเมินค่า Predicted VO2max = 103.40 - 0.235(HR P00 (bpm)) - 0.211(Weight (kg)) มีความแม่นยำ r2 = 0.633, r = 0.796, SEE = 3.088) ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบ 30cm.26.3M (HR C60) มีความแม่นยำสูงที่สุด แต่การนับ HR มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ จึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญ ในขณะที่ การทดสอบ Kn.30.3M (HR P00) ใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้ง่ายในการอ่านค่า HR และใช้เวลาในการทดสอบโดยรวมสั้นลง
Other Abstract: This study aimed to develop the best step test protocol which give the most accurate VO2max prediction for aerobic performance test. This research has developed 16 new step test protocols with various combination of parameters from step box height, tempo and test duration. In this study heart rate (HR) was measured by a heart rate monitor (Polar) and manual count under direct auscultation using a stethoscope. Heart rate was recorded immediately at the end of the test, and at 15 seconds, 20 seconds, and 1 minute after the test. Subjects were representative male basketball players from Thai universities. It was found in the first of study with 6 subjects under 16 new test protocols that 6 protocols were comparable to measured VO2max from gas analysis method and used for further study. In the second of study with 32 subjects, it was found that the protocol 30cm.26.3M (HR C60) with 30 cm step height at 26 steps.min-1 for 3 minutes and HR registered 1 minute after the end of the test by a stethoscope (HR C60) and with equation: Predicted VO2max = 140.66 - 0.419(HR C60 (bpm)) - 0.248(Height (cm.)) was the most accurate with respect to measured VO2max from gas analysis method (r2 = 0.714, r=0.845, SEE=2.726). While another protocol Kn.30.3M (HR P00) with an adjustable step box to achieve knee joint angle of 90 degrees at 30 steps.min-1 for three minutes and registered HR at the end of the test by the heart rate monitor (HR P00) has very high correlation with measured VO2max (equation: Predicted VO2max = 103.40 - 0.235(HRP00 (bpm)) - 0.211(Weight (kg)), r2 = 0.633, r = 0.796, SEE = 3.088). It was concluded that though 30cm.26.3M (HR C60) protocol was the most accurate, counting heart rates under direct auscultation required skillful personel. However, Kn.30.3M (HR P00) protocol used heart rate monitor that was easier and more convinient to obtain HR; thus total testing duration is reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45400
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5378959539.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.