Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45497
Title: ปัญหาความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
Other Titles: THE PROBLEMS OF COLLECTIVE RESPONSIBILITY OF THE COUNCIL OF MINISTERS IN PROTECTING RIGHTS LIBERTIES AND INTEREST OF THE PEOPLE UNDER THE CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF THAILAND B.E. 2550
Authors: รังสี มุทธามุนี
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th,tham38@hotmail.com
Subjects: พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี
ความรับผิดทางอาญา
Act on Liability for Wrongful Acts of Officials, B.E. 2539
Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542
Ministerial responsibility
Criminal liability
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัญหาความรับผิดชอบร่วมกันของคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นทั้งองค์กรสูงสุดทางบริหารและองค์กรสูงสุดของฝ่ายปกครอง โดยศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกต่าง ๆ ที่รัฐสภาและองค์กรตามรัฐธรรมนูญนำมาควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เพื่อให้คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบในทางการเมือง ทางอาญาหรือทางละเมิด จากการศึกษาพบว่า กลไกต่าง ๆ ของรัฐสภาและองค์กรตามรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เพื่อบังคับให้ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง ทางอาญาหรือทางละเมิดนั้น ยังไม่ถูกกำหนดเป็นบทบังคับไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อย่างครบถ้วน ทำให้คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมักหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อปรากฏว่าตนได้ใช้อำนาจไปในทางที่ผิดพลาดหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอบทบังคับในการสร้างความรับผิดชอบในทางการเมือง ความรับผิดทางอาญา ตลอดจนความรับผิดทางละเมิดให้เกิดขึ้นแก่คณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภาและโดยองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ให้มีการระบุบทบังคับคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าต้องรับผิดชอบในทางการเมืองให้มากขึ้น ด้วยการลาออกจากตำแหน่งและการถูกปลดออกจากตำแหน่ง และได้เสนอให้เพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โดยการระบุให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องรับผิดทางละเมิดในทางปกครองเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
Other Abstract: This study aims to investigate the problems about collective responsibilities of the council of ministers which is the highest organization in the executive branch and administrative branch. The study indicates that functions of parliament and constitutional organization controlling the exercise of power of the council of ministers and ministers to enforce them to be politically, criminally, or tortiously responsible have not been completely passed to be in the Constitution of Kingdom of Thailand B.E. 2550. The lack of the function causes the council of ministers to not exonerate when they are found that they have tortiously exercised their power affecting liberties and interest of the people. Therefore, the researcher suggests a provision in order to found political , criminal , and tortious responsibility for council of ministers with Constitutional amendment in the part concerning the inspection the power exercise of the council of ministers by of parliament and the constitutional organizations with specification that enforces the council of ministers and ministers to be more politically responsible with resignation or dismissal when entering the process of the inspection by the parliament. And the researcher also suggests to add provisions in the Constitution. The provisions should specify that the prime minister and ministers must be more administratively liable under the principles and procedure stated in the Act of Wrongful Liabilities of Officers B.E. 2539 and the Act of Founding of Administrative Court and Procedure B.E. 2542.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45497
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.949
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486025734.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.