Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45621
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต
Other Titles: DEVELOPMENT OF A PROBLEM-BASED LEARNING MODEL ON SOCIAL MEDIA IN COOPERATION WITH SEARCHING TECHNIQUES TO ENHANCE CRITICAL THINKING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: สุรศักดิ์ สินประกอบ
Advisors: เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Noawanit.S@Chula.ac.th,noawanit_s@hotmail.com,noawanit_s@hotmail.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาผล และนำเสนอรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ 2) การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิตหลังจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 3) การนำเสนอรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นิสิตปริญญาบัณฑิต จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเพื่อวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิตคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Cornell critical Thinking Test Level Z กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาบัณฑิต จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เนื้อหาบทเรียน 4) การติดต่อสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ 5) การสืบค้นข้อมูล 6) การประเมินผล และขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการนำเสนอปัญหา 2) ขั้นการทำความเข้าใจปัญหา3) ขั้นการวิเคราะห์ปัญหา 4) ขั้นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและดำเนินกิจกรรม 5) ขั้นการรวบรวมและสรุปข้อมูล 2. นิสิตปริญญาบัณฑิตมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research to develop, try out, and propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students. The research methods comprised of four steps: Step 1: develop of a problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model; Step 2: try out problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model; Step 3: propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model. The research results indicated that: 1. The six components of problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model were : 1) Instructor; 2) Learner; 3) Content; 4) Social media; 5) Searching; 6) Evaluation and five steps of problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model were: 1) Presentation of the problem; 2) Understanding the problem; 3) Problem Analysis; 4) Study and implementation; 5) Collect and summarize. 2. There were significant differences between student pretest and posttest in critical thinking score at the .05 level. The samples perceived that propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students was appropriate in high level. 3. The expert perceived that propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students was appropriate in higher level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45621
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583446827.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.