Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45727
Title: ความแตกต่างของผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีระหว่างผู้ป่วยที่มีการกำเริบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการกำเริบของโรคลูปุส
Other Titles: THE DIFFERENCE OF POSITIVE ANTI-NUCLEOSOME ANTIBODYIN PATIENTS WITH SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS BETWEEN ACTIVE AND INACTIVE DISEASE
Authors: นราวดี โฆษิตเภสัช
Advisors: สิทธิชัย อุกฤษฏชน
มนาธิป โอศิริ
จงกลนี วงศ์ปิยะบวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sittichai.U@chula.ac.th,g40suk@yahoo.com
Manathip.O@Chula.ac.th
Jongkonnee.W@Chula.ac.th
Subjects: เอสแอลอี
เอสแอลอี -- ผู้ป่วย
Systemic lupus erythematosus
Systemic lupus erythematosus -- Patients
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: โรคลูปุสเป็นโรคที่มีการสร้างแอนติบอดีต่อต้านตนเองหลายชนิดที่มากเกินไป และยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบันเกี่ยวการตรวจหาแอนติบอดีต่อต้านตนเองเพื่อทำนายการกำเริบของโรค การศึกษาเกี่ยวกับแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีกับการกำเริบของโรคยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีระหว่างผู้ป่วยที่มีการกำเริบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการกำเริบของโรคลูปุส วิธีการศึกษา: ตรวจเลือดเพื่อหาแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีด้วยวิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) จากผู้ป่วยโรคลูปุสที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งแผนกผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ 15 กันยายน พ.ศ.2557 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2558 โดยคัดผู้ที่มีโรคติดเชื้อและผู้ที่มีกลุ่มอาการ overlap syndrome ออกจากการศึกษา และเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย อาการแสดงและ systemic lupus erythematosus disease activity index (SLEDAI) score นำมาวิเคราะห์ความแตกต่างของอาการแสดง การกำเริบของโรค และอวัยวะที่โรคกำเริบ ตาม SLEDAI score ระหว่างผู้ป่วยที่มีการกำเริบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการกำเริบของโรคลูปุส ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลูปุส เป็นเพศหญิง จำนวน 46 ราย (ร้อยละ 93.9) และตรวจพบผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดี (> 20 RU/mL) จำนวน 28 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 49 ราย (ร้อยละ 57.1) และผลลบแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดี (<20 RU/mL) จำนวน 21 ราย (ร้อยละ 42.9) โดยมีสัดส่วนของผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีในกลุ่มที่มีการกำเริบของโรคมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีการกำเริบของโรค แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 44.9 และ 12.2 ตามลำดับ, p<0.001) โดยมีผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีสัมพันธ์กับการกำเริบที่ไต (p=0.01) และผิวหนัง (p=0.01) ผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีสัมพันธ์กับผลบวกแอนติดับเบิ้ลสแตรนด์ดีเอ็นเอแอนติบอดี (r=0.88, p<0.01) สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคลูปุสที่มีการกำเริบของโรคมีผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีมากกว่าผู้ที่ไม่มีการกำเริบของโรค ผลบวกแอนตินิวคลิโอโซมแอนติบอดีสัมพันธ์กับการกำเริบที่ไตและผิวหนัง และสอดคล้องกับผลบวกแอนติดับเบิ้ลสแตรนด์ดีเอ็นเอแอนติบอดี
Other Abstract: Background: Systemic lupus erythematosus (SLE) is a prototype of systemic autoimmune disease associated with the presence of multiple autoantibodies. Prediction of disease activity by some specific autoantibodies are still controversial. This study focus on anti-nucleosome antibody (ANuA) and SLE disease activity in clinical practice. Objective: To determine the difference of positive ANuA in patients with SLE between active and inactive disease. Methods: Both in-patient and out-patient department SLE patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand from 15 Sep 2014 to 31 Jan 2015 were prospectively enrolled. Exclusion criteria were overlap syndrome and infections. The demographic data, clinical features of SLE including systemic lupus erythematosus disease activity index (SLEDAI) score were recorded. The patients were divided into 2 groups (active and inactive disease) according to SLEDAI score. Serum ANuA were detected by Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA). The clinical features, disease activity and organ involvement of the patients between active and inactive group were analyzed. Results: Forty-nine patients with SLE were enrolled. Forty-six patients (93.9%) were female. Positive ANuA (> 20 RU/mL) and negative ANuA (<20 RU/mL) were detected in 28 patients (57.1%) and 21 patients (42.9%) respectively. The proportion of ANuA in active group (44.9%) was more than inactive group (12.2%) with statistical significance (P<0.001). Positive ANuA was associated with several organ involvements: renal (p=0.01) and mucocutaneous involvement (p=0.01). Positive ANuA had a positive correlation with anti-double stranded DNA antibody (Anti-dsDNA Ab) (r=0.88, p<0.01). Conclusion: SLE patients with active disease had significantly higher positive ANuA than SLE patients with inactive disease. Positive ANuA was associated with renal and mucocutaneous involvement. Positive ANuA was correlated with anti-dsDNA Ab.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45727
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1027
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1027
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674037430.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.