Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45762
Title: การแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: BEHAVIORAL PROBLEMS OF TUTORIAL STUDYING IN SENIOR PRIMARY SCHOOLSTUDENTS IN THE BANGKOK AREA
Authors: นิชนันท์ เนตรสง่า
Advisors: ปริชวัน จันทร์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: parichawan@yahoo.com,parichawan@hotmail.com
Subjects: พัฒนาการของเด็ก
การแสดงออกในเด็ก
นักเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
นักเรียนประถมศึกษา -- พฤติกรรม
Child development
Assertiveness in children
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการศึกษาวิจัย ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็ก ความแตกต่างของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชา ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 422 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับเด็ก แบบสอบถามพฤติกรรมการกวดวิชาของเด็ก และแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (The Strengths and Difficulties Questionnaire : SDQ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent samples t-test, One way ANOVA, Pearson correlation และ Multiple linear regression. ผลการศึกษาพบความชุกของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชา การประเมินของเด็กและการประเมินของผู้ปกครอง พบความชุกของปัญหาพฤติกรรม อยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ ร้อยละ 27.2, 18.4 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชา การประเมินของเด็กและผู้ปกครอง พบว่าเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีค่าคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรมและปัญหาพฤติกรรมทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชา การประเมินของเด็ก พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ระดับ p <0.05 ผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ระดับ p <0.05 โดยผลการเรียน 2.01 - 3.00 มีการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กมากกว่าผลการเรียน 3.01 - 4.00 การประเมินของผู้ปกครอง พบว่าสถานภาพสมรสของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ระดับ p <0.01 การศึกษาของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ระดับ p <0.01 โดยการศึกษาของบิดามารดาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กมากกว่าการศึกษาของบิดามารดาระดับอุดมศึกษา และผลการเรียนมีความสัมพันธ์กับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่ระดับ p <0.05 โดยผลการเรียน 2.01 - 3.00 มีการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กมากกว่าผลการเรียน 3.01 - 4.00
Other Abstract: This cross-sectional descriptive study aimed to examine the prevalence and factors associated with behavioral problems of children attending tutorial courses and also differentiate the behavioral problems between children attending tutorial courses and children not attending tutorial courses. The data were collected from 422 primary school students in senior year of Office of the Basic Education Commission in the Bangkok Area; measured by Children’s Demographic Questionnaire, Children Attending Tutorial Courses’ Behaviors Questionnaire and The Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) (answered by both children and their parents) and analyzed by descriptive statistic, Independent samples t-test, One way ANOVA, Pearson correlation and Multiple linear regression. The results of this study were: The prevalence of behavioral problems of children attending tutorial courses, assessed by children, was 27.2 % and by parents was 18.4 %. The comparisons between children attending tutorial courses and children not attending tutorial courses were found not significant in SDQ Total difficulties score and all subscale score. Factors associated with behavioral problems of children attending tutorial courses were by children’s assessment; sex was significantly related to behavioral problems at p <0.05 and children’s school records at 2.01 - 3.00 have higher behavioral problems score than children’s school records at 3.01 - 4.00 at p <0.05 and by parents’ assessment; parents’ marital status was significantly related to children’s behavioral problems at p <0.01. Children whose Parents had lower educational background have higher behavioral problems at p <0.01 and Academic achievement at 2.01 - 3.00 have higher behavioral problems score than Academic achievement at 3.01 - 4.00 at p <0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45762
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.586
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.586
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674256530.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.