Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45897
Title: การสื่อสารเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองในสังคมไทย
Other Titles: COMMUNICATION ABOUT KUMANTHONG SACREDNESS IN THAI SOCIETY
Authors: รัญคุณานิชช กันหลง
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@Chula.ac.th,kkeawthep@hotmail.com,kkeawthep@yahoo.com,kanjana.k@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การสื่อสารเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองในสังคมไทย” เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ความเชื่อในเรื่องกุมารทองในสังคมไทย ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางโลกทัศน์และจุดยืนของผู้คนในสังคมไทยจากโลกศักดิ์สิทธิ์ที่มีศาสนาเป็นแกนกลาง มาสู่โลกฆราวาสที่มีสถาบันเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาการปรับเปลี่ยนความหมายในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองในทัศนะของผู้ปลุกเสกแบบเก่าและแบบใหม่ และการรับรู้ความหมายเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองในทัศนะของกลุ่มผู้เลี้ยงแบบเก่าและแบบใหม่ นอกจากนี้ เพื่อให้เห็นบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนซึ่งเป็นสื่อที่มีจุดยืนอยู่ในโลกฆราวาสในการสร้างความหมายเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ให้กับกุมารทอง ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะศึกษาสัญญะและการสร้างความหมายของสื่อมวลชนในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองด้วย ผลการวิจัยพบว่า การสร้างความหมายในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองตามทัศนะของผู้ปลุกเสกแบบเก่าและแบบใหม่ ขึ้นอยู่กับจุดยืนบนโลกศักดิ์สิทธิ์และโลกฆราวาสของผู้ปลุกเสก โดยผู้ปลุกเสกแบบเก่าจะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากภายใน ในขณะที่ผู้ปลุกเสกแบบใหม่จะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์จากภายนอก เช่นเดียวกับการรับรู้ความหมายเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มผู้เลี้ยงแบบเก่าและแบบใหม่ โดยพบว่า กลุ่มผู้เลี้ยงแบบเก่าจะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์จากภายใน และกลุ่มผู้เลี้ยงแบบใหม่จะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์จากภายนอก นอกจากนี้สื่อมวลชนยังให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์ของกุมารทองแตกต่างกัน โดยสื่อมวลชนประเภทละครโทรทัศน์และภาพยนตร์จะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์จากภายใน ในขณะที่นิตยสารพระเครื่องจะให้ความสำคัญกับความศักดิ์สิทธิ์จากภายนอก
Other Abstract: The communicative sacredness of Kumanthong in Thailand is a phenomenon of belief in Kumanthong in Thai society, which reflects the transformation in perspective and the point of view among Thais from a religion-centered holiness to the economy-driven secular world. The objective of this research was aimed to examine the change in meaning of the sacredness of Kumanthong in the perspective of both traditional and new mystics, and the perception of the meaning of the sacredness of Kumanthong in the perspective of both traditional and new Kumanthong worshippers. In addition, to pinpoint the role of the media where the secular world is central to conceptualize a sacredness of Kumanthong, in this study, the signs and the conceptualization of the sacredness of Kumanthong by the media were investigated. The results showed that conceptualization of the sacredness of Kumanthong according to the perspective of traditional and new mystics varied depending on the mystic’s point of view about the sacredness and secular world. The traditional mystics focused on inner sacredness while the new mystics focused on outer sacredness. The traditional worshippers focused on inner sacredness while the new worshippers focused on outer sacredness. In addition, the media focused on the sacredness of Kumanthong differently. Television drama and film focused on inner sacredness while the magazine focused on outer sacredness.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45897
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5285102028.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.