Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45962
Title: | แบบจำลองเชิงตัวเลขเพื่อศึกษาการกระจายตัวอ่อนปะการังโดยกระแสน้ำบริเวณชายฝั่งสัตหีบ จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | NUMERICAL MODELING OF CORAL LARVAL DISPERSAL IN SATTAHIP COASTAL AREA, CHON BUIRI PROVINCE |
Authors: | ณัฐธิดา จันทศิริ |
Advisors: | ปัทมา สิงหรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patama.S@Chula.ac.th |
Subjects: | กระแสน้ำ -- ไทย -- ชลบุรี -- เกาะแสมสาร แบบจำลอง แนวปะการัง -- ไทย -- ชลบุรี -- เกาะแสมสาร ประชากรสัตว์ ปะการัง -- ตัวอ่อน Ocean currents -- Thailand -- Chonburi -- Samae-San Island Models and modelmaking Coral reefs and islands -- Thailand -- Chonburi -- Samae-San Island Animal populations Corals -- Embryos |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กระแสน้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้อธิบายความเชื่อมโยงประชากรสิ่งมีชีวิตในแต่ละบริเวณ เนื่องจากวงจรชีวิตของสัตว์ทะเลขนาดเล็กจะมีช่วงชีวิตวัยอ่อนล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำเพื่อหาแหล่งอาศัยที่ปลอดภัย ก่อนจะพัฒนาเป็นวัยเจริญพันธุ์กระจายอยู่บริเวณต่างๆต่อไป ปะการังบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ด้วยการผสมพันธุ์และได้ตัวอ่อนที่ต้องใช้กระแสน้ำพัดพาหาพื้นที่ลงเกาะแหล่งที่เหมาะสมเช่นกัน กระแสน้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการกระจายตัวอ่อนปะการัง และอาจทำให้แนวปะการังมีความหลากหลาย เนื่องจากได้รับตัวอ่อนจากแหล่งอื่น วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้จึงใช้แบบจำลองเชิงตัวเลขเพื่อศึกษากระแสน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำขึ้นน้ำลงและลม โดยจำลองกระแสน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนบนด้วยกริดขนาดกว้าง 2 กิโลเมตร ยาว 3 กิโลเมตร เพื่อนำกระแสน้ำมาขับเคลื่อนแบบจำลองกริดเล็ก ขนาดกว้างยาวด้านละ 100 เมตร บริเวณชายฝั่งสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความซับซ้อน และพบปะการังกระจายอยู่ทั่วไปตามชายฝั่ง จากนั้นนำผลการจำลองกระแสน้ำมาศึกษาลักษณะการกระจายอนุภาค ซึ่งใช้เป็นตัวแทนตัวอ่อนปะการัง และติดตามการเคลื่อนที่โดยรวมและการกระจายตัวของอนุภาคที่ได้รับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงและลมในรูปแบบต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคที่ปล่อยในช่วงน้ำตายคงอยู่บริเวณจุดปล่อยมากกว่าปล่อยช่วงน้ำเกิด และอิทธิพลของลมเด่นขึ้นเมื่ออนุภาคอยู่ในมวลน้ำนานขึ้น การกระจายอนุภาคที่ปล่อยจากบริเวณชายฝั่งเขาหมาจอในช่วงน้ำขึ้นหรือน้ำลงมีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งต่างจากการปล่อยอนุภาคบริเวณเกาะครามและเกาะเตาหม้อ ที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างการปล่อยช่วงน้ำขึ้นหรือน้ำลง ดังนั้นสภาพภูมิประเทศจึงเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางการกระจายตัวอ่อนปะการัง และเมื่อพิจารณาพื้นที่การกระจายอนุภาคที่ปล่อยจากแต่ละพื้นที่ พบว่า บริเวณเกาะเตาหม้อเป็นจุดที่อนุภาคเคลื่อนตัวมารวมกัน ส่งผลให้ปะการังบริเวณนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่าบริเวณอื่น |
Other Abstract: | Current is one of many factors being used to help explain marine population connectivity. This is because, in their early life stages, small marine organisms are plankton floating by current before settling for safe habitats for nursery. Some corals have sexual reproduction and also have larvae floating by current to fine some place for settling. Hence current is the key to coral larval dispersal, and makes coral reef having high coral diversity due to larvae coming from other sources. The aim of this study is to use numerical modeling to investigate currents that are driven by tide and wind. The model consisted of coarse-grid domain of the Upper Gulf of Thailand and fine-grid domain of Sattahip coastal area, Chon Buri Province. The study area has complex topography and many coral reefs have been found. Next, particle-tracking model was used to simulate coral larvae dispersion from three different spawning areas under different combinations of tide and wind patterns. The results showed that larvae spawned during neap tide stayed closer to spawning area than larvae spawned during spring tide. Wind has mor influence on dispersal if the coral larvae transport over longer period of time. Coral larvae dispersing by flood tide or ebb tide at Macho Bay showed different patterns, in contrast to coral larvae spawning at Ko Khram and Ko Taomo which showed no difference between flood tide spawning and ebb tide spwaning. This implied that, the topography is another key factor that affects coral larvae dispersion. Coral dispersal overlaying maps showed that Ko Taomo was the area where most coral larvae from all three spawning areas dispersed to suggesting the prospect of high corals diversity in this area. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45962 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.687 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.687 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5472234123.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.