Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46013
Title: | ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์ที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF USING 5E LEARNING CYCLE MODEL WITH SEMIOTICS ON UNDERSTANDING OF BIOLOGY TERMS AND LEARNING ACHIEVEMENT OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | ศุจิกา จาตุรนต์พงศา |
Advisors: | อลิศรา ชูชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Alisara.C@chula.ac.th |
Subjects: | ชีววิทยา -- คำศัพท์ ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สัญศาสตร์ การเรียนรู้ Biology -- Vocabulary Biology -- Study and teaching (Secondary) Academic Achievement Semiotics Learning |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์ และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยา และแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที หลังการทดลองผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์มีร้อยละคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในคำศัพท์ชีววิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในคำศัพท์ชีววิทยาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์มีร้อยละคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 77.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 4) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับสัญศาสตร์สามารถพัฒนาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน |
Other Abstract: | This study involved quasi-experimental research. The purposes of this study were: 1) to study the understanding of biology terms of students who learning through 5E Learning cycle model with semiotics, 2) to compare the understanding of biology terms of students between an experimental group that learning through 5E Learning cycle model with semiotics and a control group that learning through a conventional instruction method, 3) to study the leaning achievement of students who learning through 5E Learning cycle model with semiotics, 4) to compare the learning achievement of students between an experimental group and a control group. The samples comprised of two classes of mathayomsuksa 5 students in Bangkok. The samples were divided into two groups: an experimental group and a control group. The research instruments were the test on understanding of biology terms and learning achievement. Arithmetic means and standard deviations were used to analyze the collected data. The hypotheses were tested with dependent and independent t-test. The research findings could be summarized as follows: 1) The mean score of an experimental group in the post-test on the understanding of biology terms was higher than pre-test mean score. 2) The mean score of an experimental group on the understanding of biology terms was higher than a control group at.05 level of significance. 3) The mean score of an experimental group on the learning achievement was 77.46 percent which was higher than criterion score set. 4) The mean score of an experimental group on the learning achievement was higher than a control group at.05 level of significance. Thus, it could be summarized that learning through 5E learning cycle model with semiotics was able to improve the understanding of biology term and the learning achievement of students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46013 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.722 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.722 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483441527.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.