Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46049
Title: การพัฒนาระบบการวินิจฉัยข้อขัดข้องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
Other Titles: DEVELOPMENT OF DIAGNOSIS SYSTEM AND TROUBLESHOOTING FOR STANDBY GENERATORS
Authors: วสวัตติ์ เชื้อไทย
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th,fieckp@eng.chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการวินิจฉัยข้อขัดข้องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม จากที่ผ่านมาพบว่าเมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเสีย พนักงานซ่อมจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และถ้าดำเนินการแก้ปัญหาด้วยตนเองก็อาจทำให้แก้ปัญหาผิดวิธีและเกิดความเสียหายต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาได้ ระบบการวินิจฉัยที่สร้างขึ้นนี้ใช้หลักการของระบบผู้เชี่ยวชาญ โดยมีโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมประกอบด้วย 1) ส่วนฐานความรู้ ซึ่งจะใช้ Microsoft SQL Server 2) ส่วนดึงความรู้จากคู่มือการบำรุงรักษา จากบันทึกการซ่อมของลูกค้าและจากผู้ชำนาญงาน 3) ส่วนอนุมานความรู้แบบย้อนกลับ (Backward chaining method) 4) ส่วนอธิบายการวินิจฉัย และ 5) ส่วนติดต่อผู้ใช้ ซึ่งจะใช้ Visual Basic โดยระบบดังกล่าวประกอบด้วยกลุ่มการบำรุงรักษา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการตรวจเช็คตามระยะเวลา จะแบ่งย่อยตามระยะเวลาได้แก่ รายสัปดาห์ 250 ชั่วโมงหรือ 6 เดือน 500 ชั่วโมงหรือ 12 เดือน และ 1000 ชั่วโมงหรือ 24 เดือน 2) กลุ่มการตรวจเช็คทั่วไป จะแบ่งย่อยตามขั้นตอนการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้แก่ ก่อนสตาร์ทเครื่อง ขณะสตาร์ทเครื่อง และ หลังจากเครื่องหยุดทำงาน และ 3) กลุ่มการตรวจเช็คจากอาการผิดปกติ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) มี 18 อาการผิดปกติ 80 สาเหตุ และตัวผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnet Generator) มี 11 อาการผิดปกติ 40 สาเหตุ จากนั้นได้นำมาจัดความสัมพันธ์ ซึ่งได้ให้ผู้ชำนาญงานตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะสร้างระบบการวินิจฉัย ซึ่งจากการเปรียบเทียบกระบวนการวินิจฉัยข้อขัดข้องระหว่างระบบการวินิจฉัยแบบเดิมกับระบบการวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น พบว่าระบบการวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถช่วยให้การวินิจฉัยข้อขัดข้องมีขั้นตอนและมีกฎเกณฑ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความถูกต้องเทียบเท่าการวินิจฉัยโดยผู้ชำนาญงาน สามารถใช้ทดแทนผู้ชำนาญงานที่มีอยู่อย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: The objective of this research was to create a diagnostic and troubleshooting system for generators. From the past, when a generator failure occurred, technicians could not solve problems by themselves. Because they may make a wrong decision, a generator could be damaged. In this research, a diagnostic system was created using an expert system concept. The system architecture consist of 1) a knowledge base by Microsoft SQL Server 2) a knowledge acquisition facility from manuals, reports and experts 3) the inference engine with backward chaining method 4) an explanation system 5) a user interface by Visual Basic. It will be divided into 3 maintenance groups. The first check the time. There are related to weekly, 250 hours or 6 month, 500 hours or 12 month and 1000 hours or 24 month. The second is regular checks. There are related to before starting, starting and stopping. The third is troubleshooting of generator. There are related to Diesel Engine with 18 faults, 80 causes and Permanent Magnet Generator with 11 faults, 40 causes. Moreover, then format a relationship, which provide experts to check for accuracy before creating diagnostic systems. From a comparison between the traditional process diagnosis and the developed process diagnosis system, the developed process diagnosis system can help the diagnosis procedures and rules. Moreover, it has an accuracy equivalent diagnosed by experts, can replace experts with limited as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46049
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570364821.pdf10.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.