Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46223
Title: คติพุทธในเรือนพื้นถิ่นชาวไทยพุทธ ชุมชนพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: BUDDHIST PRINCIPLE OF THAI BUDDHISM VERNACULAR ARCHITECTURE: A CASE STUDY OF PHUMRIANG COMMUNITY, CHAIYA DISTRICT, SURAT THANI PROVINCE
Authors: ศสินี เตียงธวัช
Advisors: วันชัย มงคลประดิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wonchai.M@Chula.ac.th,w.mongkolpradit@gmail.com
Subjects: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- สุราษฎร์ธานี -- ไชยา -- พุมเรียง
สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา -- สุราษฎร์ธานี -- ไชยา -- พุมเรียง
ธรรมะ
สถาปัตยกรรมกับศาสนา
สุราษฎร์ธานี -- ไชยา -- พุมเรียง
Vernacular architecture -- Surat Thani -- Chaiya -- Phum Riang
Buddhist architecture -- Surat Thani -- Chaiya -- Phum Riang
Dharma (Buddhism)
Architecture and religion
Surat Thani -- Chaiya -- Phum Riang
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีเป้าหมายในการศึกษาแนวคิด หลักคติทางพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในกระบวนการสถาปัตยกรรมของเรือนพื้นถิ่นซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาในการก่อเกิดกระบวนการ วิธีการ ของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ใช้อยู่อาศัยในอดีต ในบริบทของกรณีศึกษาชุมชนพุมเรียงตั้งอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ที่พุทธศาสนาประดิษฐานมายาวนานตั้งแต่สมัยศรีวิชัยจวบจนปัจจุบัน ชุมชนพุมเรียงเป็นบ้านเกิดของพระธรรมโกศาจารย์หรือที่รู้จักในนามพุทธทาสภิกขุ พุมเรียงมีชื่อเสียงในการเป็นศูนย์การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและเรียนบาลี และตามคำบอกเล่าของท่านพุทธทาสชาวบ้านมีความตื่นตัวในการศึกษาหลักธรรมเช่นกัน พุมเรียงจึงเป็นชุมชนหนึ่งที่มีองค์ประกอบของสังคมพุทธที่น่าศึกษาซึ่งกระบวนการการสร้างสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัย จากการศึกษาภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมในอดีต วิธีการศึกษาเก็บข้อมูล ทำโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารด้านประวัติความเป็นมาของชุมชน, หลักคติพุทธศาสนา และลงพื้นที่สำรวจเรือนไม้เก่าแก่ เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 หลัง เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม และศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนโดยวิเคราะห์ในบริบทของคติพุทธ โดยศึกษารายละเอียดจากเรือนตัวแทนกรณีศึกษาจำนวน 3 หลัง ผลการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถาปัตยกรรมและธรรมชาติ ในบริบทของพุทธศาสนาธรรมชาติสะท้อนถึงหลักความจริงแท้ของสรรพสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างพึ่งพาทั้งทางตรงและทางอ้อม(อิทัปปัจจยตา) ชาวพุทธเรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติในวิถีของการพึ่งพิง พึ่งพา และเคารพต่อกันซึ่งทำให้เกิดความสมดุลในการอาศัยร่วมกัน หลักคิดนี้สร้างหลักการและวิธีการดำเนินกิจใดๆที่ก่อเกิดเป็นรูปแบบ สูตร คติความเชื่อ ซึ่งมีเป้าหมายให้เกิดความพอดี เหมาะสมในการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดความสงบเย็นแก่กายและใจ (สัปปายะและสงบ) นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมที่เป็นสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยยังแสดงให้เห็นลักษณะของการเชื่อมโยง มนุษย์สู่ธรรมชาติผ่านพื้นที่ของเรือนที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งภายใน-ภายนอก เป็นวิธีการใช้ธรรมชาติสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบเย็นแก่ขอบเขตมณฑลที่ใช้อยู่อาศัย
Other Abstract: This study aimed to investigate the Buddhism concepts underlying the architectural process of vernacular houses reflecting the indigenous knowledge behind the creation of living environments in the past. The Phumriang community in Chaiya District, Surat Thani Province was the case study. Buddhism took root in this area during the Sri Vichai era and this community was the birthplace of Phra Thammakosajarn or Buddhadasa Bhikkhu. Widely known as a study center for Buddhism and Bali, Phumriang residents are eager to learn the buddhist principles. As a result, the living environment of Phumriang – a Buddhist community – should be studied based on the architectural indigenous knowledge. The data were collected through documents related to the history of this community, Buddhist principles and a field survey of 80-120-year-old wooden houses, eight of which were selected for this purpose. Also, some architectural aspects were studied in detail. The functional areas were studied according to the Buddhist principles. An interesting issue worth pointing out is the relationship between man, architecture and nature in the context of Buddhism and nature. This relationship reflects the fact that both living things and non-living things have to depend on one another directly and indirectly (Itap-patjayata). Buddhists learn to live with nature through reliance on, dependence on and respect of each other so that they can live in harmony and in balance. Such concepts formulate patterns and beliefs aiming to create balance in the way of life, soothing the mind and the body (Sappaya). In addition, the architecture that creates the living environment also indicates the bonding between man and nature through the house that looks half inside and half outside(in-between space). This is a way to harness nature to create the tranquility of the living boundary.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46223
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1102
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1102
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673349025.pdf31.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.