Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46248
Title: Prevalence of Cardiovascular Complications and Anti-platelet Therapy Used among Thai Type 2 Diabetes Patients in 2012
Other Titles: ความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดและความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาแอสไพรินและภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย : 2012
Authors: Soe Sandi Tint
Advisors: Pichet Sampatanukul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Pichet.S@Chula.ac.th
Subjects: Non-insulin-dependent diabetes -- Thailand
Non-insulin-dependent diabetes -- Complications
Non-insulin-dependent diabetes -- Treatment
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- ไทย
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- ภาวะแทรกซ้อน
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- การรักษา
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: Diabetes Mellitus type 2 (T2DM) is one of the global pandemic that can cause several chronic complications. The macro vascular complication is able to be prevented somehow by anti-platelet therapy. The primary and secondary prevention programs were analyzed at different levels of cares among Thai T2DM patients in 2012. Objective: To describe the prevalence of cardiovascular complications and the percentage of anti-platelet prescriptions without and with cardiovascular complications events at different levels of cares among Thai T2DM patients in 2012. Materials and method: This study was part of the Thailand DM/HT study. The data was retrospectively collected from the medical records from a stratified sampling of public hospitals under Ministry of Public Health and hospitals and clinics in Bangkok that under the national health security office program, altogether 602 institutes. The authors used this secondary source data set to analyze. Results: Of the 29,374 T2DM patients, 5.8% (95% CI: 5.6 to 6.2) had overall cardiovascular complications and 7%, 8.2% and 4.6 % were from regional center hospital, provincial general hospital and community hospital respectively. Overall 84.8% (95% CI: 82.9 to 86.6) of T2DM patients with cardiovascular complications were prescribed anti-platelet medications and 57.1% (95% CI: 56.5 to 57.7) of patients with no cardiovascular complications were prescribed anti-platelet therapy. Most patients with cardiovascular complications went to community hospital for anti-platelet drugs. Prescriptions in non-cardiovascular complications group were more likely in male and older patients, history with quit smoking and hypertension patients. Conclusion: The overall prevalence of cardiovascular complications in Thai T2DM patients in 2012 was in the range of expectation. The use of anti-platelet therapy as secondary prevention was lower than the target figure of 90%.
Other Abstract: ความเป็นมา: เบาหวาน ชนิดที่2 เป็นโรคหนึ่งที่พบมากทั่วโลก เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ สามารถป้องกันได้บ้าง จากการให้ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งนิยมใช้ยาแอสไพริน ในการศึกษานี้ จะได้วิเคราะห์อัตราการจ่ายยาต้านเกล็ดเลือดให้ผู้ป่วยทั้งเป็นการป้องกันระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่สอง ของคนไทย ใน ปี ค.ศ. 2012 วัตถุประสงค์: เพื่อคำนวณความชุกของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ และร้อยละของการจ่ายยาต้านเกล็ดเลือดให้ผู้ป่วยที่ไม่พบ และ พบ มีโรคเรื้อรังที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่สอง ของคนไทย ใน ปี ค.ศ. 2012 วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ในโครงการ เบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง ของประเทศไทย ข้อมูลต่างๆ เก็บย้อนหลังจากสารสนเทศทางการแพทย์ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นลำดับชั้น ของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และ โรงพยาบาล และคลินิกที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลที่ใช้สิทธิ์ของประกันสังคม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 602 แห่ง ผู้นิพนธ์ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมินี้ ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษา: ในจำนวนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง 29,374 คน ร้อยละ 5.8 (ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ95 อยู่ที่ 5.6-6.2) มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ โดยที่ ร้อยละ 7, 8.2, และ 4.6 เป็นผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล ระดับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ตามลำดับ การสั่งยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือดโดยรวมของผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ อยู่ที่ร้อยละ 84.9 (ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ95 อยู่ที่ 82.9-86.6) ขณะที่การสั่งยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือดโดยรวมของผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ อยู่ที่ร้อยละ 57.1 (ค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ95 อยู่ที่ 56.5-57.7) ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ส่วนใหญ่ไปรับยาที่โรงพยาบาลชุมชน การสั่งยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือดให้ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่มีแนวโน้มที่จะให้แก่ผู้ป่วยสูงอายุผู้ชาย ผู้ที่มีประวัติหยุดสูบบุหรี่ และผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง สรุปผลการศึกษา: ความชุกของภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่ ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในคนไทยในปี ค.ศ. 2012 อยู่ในเกณฑ์ที่คาดหมาย การสั่งยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือดหรือยาแอสไพรินให้ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพในหลอดเลือดใหญ่มีอัตราที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ควรจะมีร้อยละ 90
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Health Development
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46248
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.329
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.329
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674651730.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.