Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46254
Title: ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
Other Titles: FACTORS PREDICTING QUALITY OF LIFE IN OLDER PERSONS WITH HEART FAILURE
Authors: อณัศยา ซื่อตรง
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Tassana.C@Chula.ac.th,Tassana.C@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ
วัยชรา
หัวใจวาย
คุณภาพชีวิต
Older people
Aging
Heart failure
Quality of life
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ความสัมพันธ์และอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ เพศ อายุ ความรุนแรงของโรค ภาวะโรคร่วม ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับบริการรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความรุนแรงของโรค แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.50 อายุเฉลี่ย 74.28 ปี มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป ร้อยละ 73.34 และมีระดับความรุนแรงของโรคภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 54.17 2. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อยู่ในระดับปานกลาง (60.8%) รองลงมาคือมีคุณภาพชีวิตสูง และมีคุณภาพชีวิตต่ำ ( 6.7 % , 32.5 %) ตามลำดับ 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว ความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม 4. ปัจจัย ภาวะซึมเศร้า ความรุนแรงของโรค การสนับสนุนทางสังคม และภาวะโรคร่วมสามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 53 ( R2 = .53 )
Other Abstract: The purposes of this predictive correlational study were to describe the quality of life in older persons with heart failure, the relationships and prediction between gender, age, severity of the disease, co-morbidity, depression, social support and quality of life in older persons with heart failure. A hundred twenty of people aged 60 years old and above. Both male and female, diagnosed heart failure from outpatient department, cardiovascular medicine unit, Chulalongkorn Hospital and the Police General Hospital. The instruments were composed of demographic information, severity of disease, co-morbidity ,Thai Geriatric Depressive Scale, social support, and Minnesota of Living with HF questionnaire. Descriptive statistics (Percentage, mean, and standard deviation), and stepwise multiple regression were used to analyze data. The major findings were as follows: 1. Demographic data showed that the majority of sample were male (57.50%), average age 74.28 years, with at least 3 co-morbidity and over 73.34 percent, the severity of heart failure was 54.17 percent. 2. The quality of life of older persons with heart failure was shown at moderate level (60.8 %), following by high and low quality of life (6.7 %, 32.5 %) respectively. 3. Factors significantly associated with quality of life of older persons with heart failure was sex, comorbidities, severity of the disease depression and social support ( p = .05). 4. Depression, severity of heart failure, social support and co-morbidity were together predicted quality of life at older persons with heart failure 53% ( R2 = .53 ).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46254
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1126
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1126
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677225636.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.