Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46328
Title: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในการแสดงแสงเสียงประกอบจินตภาพ เรื่อง เวียงกุมกาม: เมื่อน้ำเอาชนะกษัตริย์ผู้ไม่แพ้ใคร
Other Titles: CONTEMPORARY THAI DANCE IN THE LIGHT AND SOUND PERFORMANCE: WIANG KUM KAM: WHEN WATER CONQUERED THE UNDEFEATED KING
Authors: ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta.V@Chula.ac.th,vijjuta@yahoo.com
Subjects: นราพงษ์ จรัสศรี, 2496-
การประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค (ครั้งที่ 2 : 2556 : เชียงใหม่)
ศิลปะการแสดงสด -- ไทย -- ประวัติ
โบราณสถาน -- เวียงกุมกาม
เวียงกุมกาม
Narapong Charassri, 1953-
Asia-Pacific Water Summit (2nd : 2013 : Chiang Mai)
Performance art -- Thailand -- History
Antiquities -- Wiang Kum Kam (Thailand)
Wiang Kum Kam (Thailand)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบและบริบทการแสดง แสงเสียงประกอบจินตภาพ เรื่อง เวียงกุมกาม: เมื่อสายน้ำเอาชนะผู้ไม่แพ้ใคร ของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี จัดแสดงขึ้นวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ณ โบราณสถาน วัดอีค่าง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในเชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแสดงเป็นการผสมผสานศาสตร์ทางด้านนาฏกรรมและการละครเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบการพรรณนาเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม ศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ได้ออกแบบสร้างสรรค์ลีลาทางนาฏยศิลป์ที่ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมไทย นาฏยศิลป์ตะวันตกและนาฏยศิลป์ตะวันออก มาจัดแสดงร่วมกับปูชยนียสถาน รูปแบบดังกล่าวได้นำเสนอผ่านองค์ประกอบการแสดง อันได้แก่ บทการแสดง ลีลาทางนาฏยศิลป์ นักแสดง เครื่องแต่งกาย ดนตรี ฉากเวที อุปกรณ์ประกอบการแสดง แสงเสียงและเทคนิคพิเศษ และการแต่งหน้าทำผม เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและสะท้อนบริบทที่สำคัญคือ ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การนับถือศาสนาพุทธ ความเชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจและระบบกษัตริย์ การศึกษาในแง่แหล่งเรียนรู้หลาย ๆ ด้าน สะท้อนลักษณะพื้นที่ราบลุ่มต่ำติดแม่น้ำที่เป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนเป็นศูนย์รวมของศิลปะดนตรี นาฏยศิลป์ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และจิตรกรรมที่ทรงคุณค่าแก่การธำรงรักษาให้อนุชน รุ่นหลังได้ชม
Other Abstract: The research found that the performing format is a harmonious combination of performing arts and drama, employing modern technology to accompany the description of the historical accounts of Wiang Kum Kam. The dance style is a combination of Thai arts and culture, Western performing arts and Eastern performing arts, presented with stage scenery depicting the places of worship. This format is presented through performing components, consisting of the performance script, the dance style, the performers, the costumes, the music, the stage scenery, props, light, sound and special techniques, make-up and hairstyles that enhance the audience’s understanding and reflect the important contexts of local history, faith in Buddhism, beliefs in ghosts and spirits and the monarchy. The study of different education resources demonstrates the characteristics of the alluvial low plain near the river, which has caused floods from the past to the present and has now been developed to become a tourist site in order to provide additional income for the people as well as to serve as a centre of arts, music, dance, literature, architecture and paintings, all of which are worth preserving for future generations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46328
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1187
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1187
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686626035.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.