Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46385
Title: การนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเพื่อความเป็นประชาคมอาเซียน
Other Titles: PROPOSED GUIDELINES FOR PROMOTING THE ASEAN IDENTITY FOR THE INTEGRATION OF THE ASEAN COMMUNITY
Authors: จารุวรรณ พวงมาลี
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
พัชราวลัย วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chanita.R@Chula.ac.th,chanita.r@chula.ac.th
Patcharawalai.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์อาเซียน 2) วิเคราะห์การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และ 3) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเพื่อความเป็นประชาคมอาเซียนให้กับเยาวชนในประเทศไทย ผู้วิจัยวิเคราะห์หาอัตลักษณ์อาเซียนจากการศึกษาเอกสาร และการสนทนากลุ่มเยาวชนอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และกลุ่มเยาวชนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ติดพรมแดนประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ และสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง แล้วนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาหาฉันทามติด้วยเทคนิคเดลฟาย และสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเพื่อความเป็นประชาคมอาเซียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อัตลักษณ์อาเซียนจากการศึกษาตามความคาดหวังและจากการรับรู้ของเยาวชน มี 16 รายการได้แก่ (1) สันติภาพ เสรีภาพและความปรองดอง (2) เสถียรภาพและความมั่นคง (3) ความเป็นหนึ่งเดียว (4) ความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน (5) การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (6) การให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (7) การเคารพซึ่งกันและกัน (8) โครงสร้างองค์กรอาเซียน (9) ความยืดหยุ่น (10) จิตสำนึกรักศิลปวัฒนธรรม (11) การมีส่วนร่วม (12) อาณาเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (13) ธงอาเซียน (14) เพลงอาเซียน (15) สัญลักษณ์รวงข้าว และ (16) ความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยอัตลักษณ์แต่ละรายการมีรูปสัญญะได้แก่ประเพณี วัฒนธรรม กฎเกณฑ์ และระบบ ซึ่งสะท้อนความหมายสัญญะได้แก่ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) สำนึกร่วมความเป็นอาเซียน (We feeling) ความตระหนักรู้ (Awareness) และความเข้าใจซึ่งกันและกัน (Mutual understanding) 2) การวิเคราะห์การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องพบว่า การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนนั้นต้องให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่สะท้อนอัตลักษณ์อาเซียน 9 คุณลักษณะตามกระบวนการอัตลักษณ์ ประกอบด้วย 1) ขั้นก่อรูปอัตลักษณ์เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะ (1) รู้จักและเข้าใจตนเอง (2) มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (3) มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียน (4) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ขั้นสร้างอัตลักษณ์เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะ (1) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ (2) มีความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนในชั้นเรียนและนอกห้องเรียนได้ และ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนอัตลักษณ์เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะ (1) ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (2) จัดการกับปัญหาความขัดแย้งได้ และ (3) ปฏิบัติและประเมินผลงานได้ สำหรับปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ (1) ภาครัฐที่มีบทบาทในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ (2) ภาคเอกชนและองค์ภาคเอกชน (3) บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (4) ครอบครัว (5) สังคม 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ (1) องค์กรต่างๆ ได้แก่องค์กรระหว่างประเทศ องค์ภาคเอกชน (2) รัฐบาล (3) สถาบันการศึกษา (4) ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และ (5) อาสาสมัครที่มีภูมิหลังเกี่ยวข้องกับอาเซียน 3) แนวทางการเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเพื่อความเป็นประชาคมอาเซียนสำหรับเยาวชนไทย มี 31 แนวทางที่ส่งเสริมคุณลักษณะ 9 ประการที่สะท้อนอัตลักษณ์อาเซียน โดยมี 11 แนวทางที่สำคัญในลำดับต้นได้แก่ (1) การใช้ภาษาอังกฤษในการสอน (2) ได้ลงมือปฏิบัติจริง (3) การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (4) การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง (5) การเรียนรู้นอกห้องเรียน (6) การศึกษาภาคปฏิบัติที่ได้ลงมือทำ( 7) การปลูกฝังจิตสำนึกและทัศนคติ (8) การทำงานเป็นทีมผสมผสานหลากหลายเชื้อชาติ (9) การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (10) การจัดทัศนศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน และ (11) การศึกษาที่เน้นปฏิบัติจริง
Other Abstract: The objectives of this study are to 1) explore ASEAN identity, 2) analyze the ASEAN identity promotion and its factors and conditions and 3) to propose guidelines for promoting the ASEAN identity for the integration of the ASEAN community. Documentary research and focus group discussion were used to explore ASEAN identity. An in-depth interview was taken by 5 experts in relation field to seek for ASEAN identity promotion guideline for Thai youths then Delphi technique and focus group discussion were used for group consensus on ASEAN identity promotion. The findings are as follows: ASEAN identities from ASEAN expectation and youth perception are 1) peace and harmony 2) stability and solidarity 3) unity 4) cooperation on the basis of mutual benefit 5) interdependence 6) people-centered development 7) mutual respect 8) ASEAN organization 9) resilience 10) an awareness on art and culture heritage perseverance 11) collaboration 12) Southeast Asia realm 13) ASEAN flag 14) ASEAN anthem 15) the emblem of bound stalks of rice and 16) mutual understanding. Each ASEAN identity reflects through four signifiers which are traditions, culture, rules and systems that implies sense of belonging, we feeling, awareness and mutual understanding. An analysis of ASEAN promotion and its factors and conditions indicated that ASEAN identity promotion must emphasize on the nine characteristics of Thai youth inn identity process which are; first stage, Identity formation is to promote self-knowledge, effective communication skills, ASEAN knowledge and critical thinking, second stage, Identity construction is to promote synchronize and connection of information skill and collaborative working, and third stage, Identity negotiation is to promote sense of empathy and understand others, dealing with conflict positively, and effective analysis and evaluation. ASEAN identity promotion factors and conditions are 1) internal factors which are (1) government roles (2) private sectors and organization (3) people who are in concerned (4) family and (5) society and 2) external factors which are (1) international organization and private sectors (2) government (3) educational institution (4) Administrators (5) volunteers who has ASEAN background. The findings on the guidelines for promoting ASEAN identities for the integration of ASEAN community are 30 items to promote 9 characteristics that can reflect ASEAN identities. Eleven prioritize guidelines are 1) using English as a medium of instruction 2) learning through practicing 3) learning diverse cultures 4) learning in a real life setting 5) off-campus learning 6) internship learning 7) instill of sense and attitude 8) working in team among people from different background 9) education for social development and 10) an excursion to ASEAN member states and 11) applicatory learning.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46385
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284208727.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.