Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46506
Title: ผลของการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน
Other Titles: EFFECT OF APPLYING AGROINDUSTRIAL WASTE INTO THE SOIL ON SOIL CARBON SEQUESTRATION AND YIELDS OF OIL PALM
Authors: ภณิดา เจริญผล
Advisors: อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
เกริกชัย ธนรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.Si@Chula.ac.th,Orawan.Si@chula.ac.th
kd.005@hotmail.com
Subjects: อุตสาหกรรมการเกษตร
การจัดการของเสีย
อุตสาหกรรมการเกษตร -- ผลิตภัณฑ์พลอยได้
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
การกักเก็บคาร์บอน
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน
Agricultural industries
Refuse and refuse disposal
Agricultural industries -- By-products
Recycling (Waste, etc.)
Carbon sequestration
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาผลของของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน ในช่วงอายุ 6-7 ปี ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) 4 ซ้ำ มี 6 ตำรับทดลอง ประกอบด้วย ดินเดิมไม่เติมสิ่งทดลอง การเติมปุ๋ยเคมี และการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตร (กากขี้แป้ง กากตะกอนน้ำเสีย เส้นใยปาล์มน้ำมันและขี้เถ้าปาล์มน้ำมัน) อัตรา 15 กิโลกรัม/ต้น หนึ่งหน่วยทดลองคือ ต้นปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอรา จำนวน 9 ต้น ผลการศึกษาพบว่า การเติมของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรลงดินด้วยสัดส่วนต่างๆ อัตรา 15 กิโลกรัม/ต้น ส่งผลให้ดินกักเก็บคาร์บอนในรูปอินทรีย์คาร์บอน 0.75-0.89% มีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ไม่แตกต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมี โดยที่การเติมกากขี้แป้งร่วมกับขี้เถ้าปาล์มน้ำมันและเส้นใยปาล์ม (4: 1: 1) สามารถกักเก็บคาร์บอนในดินในรูปของอินทรีย์คาร์บอนเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 0.15% และปล่อยคาร์บอนในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์จากดินน้อยที่สุด (4.51 µmol m-2 s-1) แตกต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมีและการเติมของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรสัดส่วนอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) อีกทั้งให้จำนวนทะลาย (14.72 ทะลาย/ต้น/ปี) และผลผลิตปาล์มน้ำมัน (167.24 กก./ต้น/ปี) ไม่แตกต่างทางสถิติจากการเติมปุ๋ยเคมี (p≤0.05) กล่าวได้ว่า การเติมของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรลงดินเป็นการกักเก็บคาร์บอนไว้ในดินที่ส่งผลให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยมีการปล่อยคาร์บอนในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ไม่แตกต่างทางสถิติกับการเติมปุ๋ยเคมี การเลือกใช้กากขี้แป้งส่งผลให้มีการกักเก็บคาร์บอนในดินแล้วปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ากากตะกอน จึงเป็นทางเลือกของการจัดการของทิ้งอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อการเกษตรและมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน
Other Abstract: Effects of agro- industrial waste application on soil carbon sequestration and yields of oil palm was focus on oil palm age 6-7 years. The experimental design was randomized complete block (RCBD) with 4 replications and 6 treatments (control, chemical fertilizer, lutoid, wastewater sludge, oil palm pressed fiber and oil palm ash) applied at the rate 15 kg/palm. One experimental unit was 9 palms. The results showed the application of ago-industrial waste into the soil at the rate 15 kg/palm resulted in carbon sequestration in organic carbon form 0.75-0.89% and increasing of nitrogen phosphorus and potassium content non significant different from that of fertilize. The applied of Lutoid mixed with oil palm pressed fiber and oil palm ash (4: 1: 1) effected on increasing organic matter within the requirement for growth of oil palm tree. Moreover, carbon sequestration increase within the soil was the highest at 0.15% and emit carbon dioxide at the least (4.51 µmol m-2 s-1) significant different from the other treatments including fertilizer application (p≤0.05). In addition, oil palm yield from the said treatment (167.24 kg./palm/yr) was non significant different from that of fertilizer (p≤0.05). That is to say, applied agro-industrial waste into the agricultural soil which carbon sequestration effected on the increased of oil palm production besides, emit carbondioxide non significant different from applied fertilizer can be an appropriate alternative for management of agro-industrial waste.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46506
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1282
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1282
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487190720.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.