Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46543
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเองของเยาวชน |
Other Titles: | EFFECT OF ORGANIZING NON-FORMAL EDUCATION ACTIVITIES TO ENHANCE SELF-DISCIPLINE OF YOUTH |
Authors: | ณัจขภัทร์ คุ้มถนอม |
Advisors: | อาชัญญา รัตนอุบล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Archanya.R@Chula.ac.th,Archanya@gmail.com |
Subjects: | การควบคุมตนเอง การศึกษานอกระบบโรงเรียน การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สัญญาการเรียน เยาวชน Self-control Non-formal education Self-directed learning Learning contracts Youth |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเองของเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีวินัยในตนเองของเยาวชน และเพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเองของเยาวชน ผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามทฤษฎีแอนดราโกจี โดยใช้การเรียนรู้โดยชี้นำตนเองและการทำสัญญาแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างวินัยในตนเองของเยาวชน งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทั้งหมดมีจำนวน 90 คน โดยแบ่งเป็นการศึกษาระดับการมีวินัยในตนเองจำนวน 60 คน และจำนวนกลุ่มทดลอง 15 คน และจำนวนกลุ่มควบคุม 15 คน ตามลำดับ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบวัดระดับความมีวินัยในตนเองของเยาวชน และแผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนเพศชาย จำนวน 60 คน เพศหญิง จำนวน 30 คน ส่วนใหญ่เรียนอยู่ระดับ ชั้นป. 4 – ม.6 ผลการวัดระดับความมีวินัยในตนเองของเยาวชน จำนวน 60 คน พบว่า เยาวชนมีระดับความมีวินัยในตนเองด้านตรงต่อเวลาระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.90, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.10) ด้านการวางแผนการทำงานระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.94, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.13) ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.87, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.09) ด้านการรู้จักประเมินตนระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.75, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.11) ด้านความเสมอต้นเสมอปลายระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.72, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.11) และด้านความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 3.31, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.06) ดังนั้น ผู้วิจัยจึงจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเอง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยกลุ่มแรกคือกลุ่มทดลอง มีเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเองจำนวน 15 คน การจัดทดลองเป็นเวลา 12 วัน รวมทั้งสิ้น 72 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มควบคุม เยาวชนที่เข้าร่วมในการจัดกิจกรรม 15 คน สำหรับกลุ่มนี้ ไม่ได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเอง และกลุ่มควบคุม ใช้เวลาเท่ากับกลุ่มทดลอง โดยมีการวัดระดับความมีวินัยก่อนและหลัง โดยก่อนการจัดกิจกรรมกลุ่มควบคุมมีระดับความมีวินัยในตนเองระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 3.04, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.14) และหลังการจัดกิจกรรมมีระดับความมีวินัยในตนเองระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 3.05, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.03) ก่อนการจัดกิจกรรมกลุ่มทดลองมีระดับความมีวินัยในตนเองระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 2.67, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.05) และหลังการทดลองมีระดับความมีวินัยในตนเองในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต= 4.45, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.26) จากการจัดกิจกรรมนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบภายหลังจากการทดลองพบว่า เยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้ฝึกกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อการสร้างวินัยในตนเองมีระดับการมีวินัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต=4.54, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.26) จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เยาวชนที่ได้รับการฝึกกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีระดับการมีวินัยในตนเองสูงขึ้น การเปรียบเทียบผลของการมีวินัยในตนเองของเยาวชนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน กับเยาวชนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกปกติ พบด้านที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 4 ด้านคือ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (t = 20.75, Sig. = .001) ด้านตรงต่อเวลา (t = 18.45, Sig. = .004) ด้านการรู้จักประเมินตน (t = 9.40, Sig. = .004) และด้านการวางแผนในการทำงาน (t = 10.41, Sig. = .019) สำหรับด้านที่ไม่พบความแตกต่างคือ ด้านความเสมอต้นเสมอปลาย และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ |
Other Abstract: | This research studied the effects of organizing non-formal education activities to enhance self-discipline of youth. Its objectives were to examine the level of youth’s self-discipline and to compare the results of organizing non-formal education activities affecting youth’s self-discipline level. The researcher designed non-formal education activities according to andragogy theory by using self-directed learning and learning contract method in creating youth’s self-discipline. This is a quasi-experimental design with the total sample group consisting of 90 youths: an initial group of 60 youths whose levels of youth’s self-discipline were examined, an experimental group of 15 youths, and a control group of 15 youths. The research instruments included a self-discipline test for youth and a lesson plan of organizing non-formal education activities. The findings from the sample group of 90 youths (60 male and 30 female) revealed that the majority were between fourth grade (elementary school) and twelfth grade (high school). Results from examining self-discipline of 60 youths found that they had medium level of self-discipline in the following aspects: punctuality (Mean=2.90, S.D.=0.10), planning (Mean=2.94, S.D.=0.13) , following regulations (Mean=2.87, S.D.=0.09), self-assessment (Mean=2.75, S.D.=0.11) , regularity (Mean=2.72, S.D.=0.11), and honesty (Mean=3.31, S.D.=0.06). As a result, the researcher organized non-formal education activities in order to enhance self-discipline of youths; two groups of 15 youths were formed, a total of 30 youths. The first group was the experimental group composed of 15 youths who participated in non-formal education activities for 12 days, a total of 72 hours. The second group was the control group of 15 youths who did not participate in the organized non-formal education activities to enhance self-discipline; and the control group spent the same amount of time as the experimental group. There was a test of the level of self-discipline for both groups before and after activities so that the results could be compared as to which group had higher level of self-discipline. Before the organized activities, the control group had a medium level of self-discipline ( Mean= 3.04, S.D.=0.14) and after the organized activities the level of self-discipline remained at medium (Mean=3.05, S.D.=0.03). Before the organized activities, the experimental group had a medium level of self-discipline (Mean=2.67, S.D.=0.05) and after the experiment, they had the highest level of self-discipline (Mean=4.45, S.D.=0.26). A comparison of the results of the organized activities revealed that youths in the experimental group, who participated in non-formal education activities enhancing self-discipline, had in overall aspects the highest level of self-discipline (Mean=4.54, S.D.=0.26). The result revealed that youths trained in non-formal education activities enhancing self-discipline had increased their level of self-discipline. A comparison between the experimental group and the control group showed that they differed in four aspects that were statistically significant at 0.05 level, i.e. honesty (t = 20.75, Sig.=.001), punctuality (t = 18.45, Sig.=.004), self-assessment (t = 9.40, Sig.=.004), and planning (t = 10.41, Sig.=.019). There were two aspects, however, that were not statistically significant, namely, regularity and following regulations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46543 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1304 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1304 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583384527.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.