Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46572
Title: พฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปี ในประเทศไทย
Other Titles: HOUSING BEHAVIOR OF CENTENARIANS IN THAILAND
Authors: ชมภูนุท ควรเขียน
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ -- ไทย
ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย
การสูงวัยของประชากร -- ไทย
ที่อยู่อาศัย -- การปรับปรุง -- ไทย
การพัฒนาที่อยู่อาศัย -- ไทย
Older people -- Thailand
Older people -- Dwellings -- Thailand
Population aging -- Thailand
Dwellings -- Remodeling -- Thailand
Housing development -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประชากรผู้สูงอายุของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับประเทศไทยมีการค้นพบผู้สูงอายุที่มีอายุ 100 ปี เป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดการศึกษาแนวทางเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่จะก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุเกินศตวรรษ จึงควรมีการศึกษาแนวทางเตรียมความพร้อมดังกล่าว เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวได้ โดยพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด เริ่มต้นจากการมีที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสม สามารถส่งเสริมสภาพร่างกายและจิตใจที่ดี พร้อมสู่การใช้ชีวิตในสังคมภายนอกได้ จากข้อมูลเชิงสถิติพบว่าประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุยืนที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศอยู่ในภาคกลางที่สัดส่วนร้อยละ 0.044 ของประชากรรายภาค การศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน 100 ปี 2) สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน 100 ปี และ 3) แนวทางปรับปรุงที่พักอาศัย เพื่อให้ผู้สูงอายุไทยมีอายุยืน 100 ปี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุยืน ตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกต และการสำรวจบ้านผู้สูงอายุ มีการศึกษาและทบทวนแนวความคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงที่ได้ ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุยืนทั้ง 10 คน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุอารมณ์ดี โดยผู้สูงอายุทั้ง 10 คน อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ปลอดโปร่ง ระบายอากาศได้ดี สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุในหลักการ 4 ข้อ อีกทั้งผู้สูงอายุทั้ง 10 คน อาศัยในบ้านปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี เรื่อง “การให้ผู้สูงอายุอาศัยในที่เดิม (Aging in place)” ด้านการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านของผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 50 ที่เกิดอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยพื้นที่หลักของการเกิดอุบัติเหตุ คือ บริเวณพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนระดับ ร้อยละ 60 และบริเวณเตียงนอน ร้อยละ 40 ส่วนการเกิดอุบัติเหตุภายในห้องน้ำพบว่าผู้สูงอายุมีความระมัดระวังในการใช้พื้นที่เป็นอย่างมาก ยังไม่พบอัตราการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ส่วนนี้ แต่ผลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ญาติ/ผู้ดูแล ห้องน้ำเป็นส่วนที่ญาติและผู้สูงอายุเป็นห่วงในการเกิดอุบัติเหตุมาก ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุที่มีอายุยืนมีพื้นที่สำคัญเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ดังนี้ พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนระดับ เตียงนอน พื้นที่นั่งเล่นกึ่งภายในและภายนอก และห้องน้ำ ตามลำดับ สรุปผลศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มนี้ ควรเป็นที่อยู่อาศัยที่มีระดับของพื้นบ้านเสมอกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเดินได้โดยรอบและไม่เกิดการสะดุดล้ม อีกทั้งยังควรมีการออกแบบพื้นที่อยู่อาศัยให้กระตุ้นผู้สูงอายุเกิดความตื่นตัวในการทำกิจกรรมต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนบ้าน จะทำให้ผู้สูงอายุมีความภูมิใจ และเห็นคุณค่าของตัวเองมากยิ่งขึ้น ตามแนวคิดของชาวโอกินาวา ซึ่งจากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ปัจจุบันครอบครัวของผู้สูงอายุยังขาดการตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าที่ควร
Other Abstract: The population of the elderly in the world tends to be increasing. Thailand has many residents over the age of 100. Until now, a study of the preparation of the habitat for elderly had yet to be conducted. So we should have the studying for those people, to make them live long with most self-sufficient. Start with the proper habitat, to promote the mental and physical health, ready for the social living. The data shows that most of the elderly population live in the central part of Thailand (0.044% of the population). The research aims to study 1) the economic, social and culture of the elderly people, and 2) the housing preferences of centenarians, and 3) guidelines for housing improvement for the elderly. The sample of this research included 10 people over 100 years old. Data was collected by using an interview with structure form, observation and a survey of their houses. The result found that all of 10 subjects are happy and optimistic. They seems to live in good habitat with a good airy condition. Which match up to the concept, theory, of “The Aging in Place”. Five of the subjects have been involved in an accident. Most of these accidents occurred as a result of floor height differences and changes (60%) in bedroom for 40%. Matching to the frequency of usability of these elderly is in bedroom for 49%, living room for 40%, toilet for 7%, and kitchen for 4%. Therefore the guideline for elderly housing improvement which can enhance convenience and safety are to change the level of floor in the bedroom, outdoor living area and the toilet. The conclusion of the research is a suitable habitat for the elderly should be a house which has consistent floor level. This could help the elderly walk through all areas of their homes with less risk of falling down. Also the design can activate the elderly to be alert for other activities, especially the interaction with other people like family and neighbors. These can make them proud of themesleves and appreciate in themselves match to the “Okinawa’s Theory”. The research suggests that the families of the subjects do not realize or give priority to these things.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46572
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1322
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1322
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673309025.pdf11.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.