Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46709
Title: การตัดเสียงป้อนกลับในเครื่องช่วยฟังแบบบีบอัดหลายแถบความถื่ย่อย
Other Titles: Acoustic feedback cancellation in multi-band compression hearing aids
Authors: ปพิชญา ชัยสกุล
Advisors: นิศาชล ตั้งเสงี่ยมวิสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nisachon.T@chula.ac.th
Subjects: Dynamics
Hearing aids
System identification
Sound -- Recording and reproducing
พลศาสตร์
เครื่องช่วยการได้ยิน
เสียง -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ขยายขนาดสัญญาณเสียงเข้าเพื่อให้ผู้ประสบปัญหาการสูญเสียการได้ยินสามารถได้ยินสัญญาณเสียงออกที่มีความดังมากขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ค่าอัตราขยายแบบคงที่ในเครื่องช่วยฟังแบบเดิม (Conventioanal Hearing Aids) ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่มีระดับการสูญเสียการได้ยินไม่เท่ากันในแต่ละช่วงความถี่ นอกจากนี้ ปัญหาสัญญาณเสียงป้อนกลับ ซึ่งก่อให้เกิดสัญญาณเสียงหวีดหอนรบกวนผู้ใช้เครื่องช่วยฟังนั้น จำกัดค่าอัตราขยายของเครื่องช่วยฟัง ดังนั้น ระบบการตัดเสียงป้อนกลับ (Acoustic Feedback Cancellation : AFC) ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดเสียไม่ได้การออกแบบเครื่องช่วงฟังที่มีสมรรถนะสูง การแบ่งสัญญาณเข้าของเครื่องช่วยฟังออกเป็นสัญญาณเสียงในช่วงความถี่ต่างๆ ร่วมกับการบีบอัดสัญญาณเสียง ซึ่งเรียกว่า การบีบอัดหลายแถบความถี่ย่อย จะส่งผลให้เครื่องช่วยฟังสามารถตอบสนองต่อระดับการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเครื่องช่วยฟังแบบบีบอัดหลายแถบความถี่ย่อย (Multi-band Compression Hearing Aids) และหาจำนวนแถบความถี่ย่อยที่เหมาะสมต่อการใช้งานเครื่องช่วยฟังในเชิงวัตถุวิสัย (Objective) โดยจะคำนึงถึงผลของจำนวนแถบความถี่ย่อยต่อประสิทธิภาพในการตัดเสียงป้อนกลับของวงจรกรองแบบปรับตัว และพิสัยพลวัตของสัญญาณเสียงออกของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมต่อลักษณะการสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วยตัวอย่าง 12 ท่านจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Abstract: Hearing-aid devices are normally employed to compensate for hearing loss in hearing-impaired people. However, the use of conventional hearing aids where all sounds at different frequencies are amplified with the same amount of gain cannot properly compensate for the hearing loss characteristics that are normally frequency-dependent. In addition, the acoustic feedback problem, which is perceived s howling by the hearing-aids users and interferes with the conversation, limits the possible maximum gain of the devices. The Acoustic Feedback Cancellation (AFC) system is therefore necessary to eliminate the acoustic feedback signal. The use of subband processing and compression techniques is therefore considered to be more appropriate for hearing loss compensation than the conventional ones. In this thesis, multi-band compression hearing aids are investigated to find the most suitable number of bands so that significant improvement in the performance of AFC system is obtained in objective manner. Moreover, the dynamic range of the hearing-aid output signal should fit with the hearing loss characteristics of 12 patients obtained from King Chulalongkorn Memorial hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46709
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1328
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1328
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Papichaya.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.