Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46730
Title: การศึกษาความชุกของภาวะหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลคาโรติดส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบ และความชุกของหลอดเลือดแดงภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบ ในผู้ป่วยที่มารับการฉีดสีสวนหัวใจเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Prevalence of extracranial internal carotid and intracranial large arteries stenosis in patients with suspected coronary artery disease who underwent coronary angiography in Chulalongkorn Hospital
Authors: ชุมพิตา สุทธาภาศ
Advisors: นิจศรี ชาญณรงค์
สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Nijasri.C@Chula.ac.th
s_srimahachota@yahoo.co.th
Subjects: หลอดเลือดสมอง -- โรค
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
Cerebrovascular disease
Heart -- Diseases -- Patients
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: โรคหลอดเลือดแดงแข็งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองตีบก็อาจมีการตีบของโรคหลอดเลือดหัวใจได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับความชุกของหลอดเลือดสมองทั้งภายในและภายนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจมาก่อน วิธีการศึกษา: งานวิจัยฉบับนี้ได้ศึกษาความชุกของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ภายในและหลอดเลือดแดงอินเทอร์นอลแคโรติดภายนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบ ในผู้ป่วยที่มารับการฉีดสีสวนหัวใจในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 จนถึงเดือนธันวาคม 2554 จำนวน 320 ราย ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (carotid duplex ultrasound และ trancranial Doppler ultrasound) โดยให้คำจำกัดความว่ามีหลอดเลือดตีบมากกว่าเท่ากับ 50% ผลการศึกษา: จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 320 ราย พบว่า 57 รายมีหลอดเลือดเอ็กซเทอร์นอลแคโรติดส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบหรือคิดเป็น 17.8% 59 รายมีหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบหรือคิดเป็น 18.4% และมีผู้ป่วย 26 รายที่มีทั้งหลอดเลือดเอ็กซเทอร์นอลแคโรติดส่วนนอกโพรงกะโหลกศีรษะและหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบ หรือคิดเป็น 8.1% จากการตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง พบว่า 9.7% ของผู้ป่วยไม่มีหน้าต่างสวนศาสตร์บริเวณขมับ (temporal window) ที่ดีพอ การมีเสียงฟู่ที่หลอดเลือดแคโรติดบริเวณคอ (carotid bruit) หลอดเลือดหัวใจ left main ตีบ และการมีหลอดเลือดหัวใจตีบจำนวนหลายเส้นมีความสัมพันธ์กับการตีบของหลอดเลือดอินเทอร์นอลแคโรติดส่วนภายนอกโพรงกะโหลกศีรษะ การตีบของหลอดเลือดภายในโพรงกะโหลกศีรษะตีบ และการตีบของหลอดเลือดทั้งสองตำแหน่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.001, p=0.02 และ p= 0.02 ตามลำดับ) สรุป: จากการศึกษานี้พบว่า ความชุกของโรคหลอดเลือดสมองภายนอกโพรงกะโหลกศีรษะตีบในประเทศไทยนั้น พบได้บ่อยกว่าที่เคยมีรายงาน ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองเพื่อหาโรคหลอดเลือดสมองตีบในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ left main และมี carotid bruit
Other Abstract: Background: Atherosclerosis is a systemic process. Patients with cervicocerebral arteries atherosclerosis frequently have atherosclerosis elsewhere, especially coronary arteries; however prevalence of coexistence of these diseases has not been reported in Thai. Methods: We studied prevalence of extracranial internal carotid arteries stenosis (ECAS) and intracranial large arteries stenosis (ICAS) in 320 consecutive patients with angiographically documented CAD in Chulalongkorn hospital during May and December 2011. Carotid duplex ultrasonography and trancranial Doppler ultrasound were performed to identify ECAS and ICAS, respectively. We defined significant vascular stenosis as the lesion diameter stenosis more than 50%. Results: Of our patients, 57(17.8%) had significant extracranial internal carotid artery stenosis, 59 (18.4%) had intracranial large arteries stenosis, and 26 (8.1%) had both arteries stenosis. Thirty-one patients (9.7%) were absent temporal acoustic bone window. The presence of carotid bruit and left main coronary artery disease were significantly associated with extracranial internal carotid stenosis (p=0.001). The extent of coronary artery lesions were also independent predictors of extracranial internal carotid stenosis, intracranial large vessels stenosis and both ateries stenosis. (p = 0.001, 0.02 and 0.02, respectively). Conclusions: Prevalence of cervicocerebral arteries stenosis is not uncommon in patients with CAD in Thai. We recommend screening of extracranial internal carotid artery stenosis in patients with multivessel CAD diseases, left main disease and presenting with carotid bruit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46730
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2054
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2054
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chumpita_su.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.