Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46731
Title: อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ค.ศ.1979 : ศึกษากรณีมาตรการของรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ (Honour killings)
Other Titles: Convention on the elimination of all forms of discrimination against women-cedaw : case study of national measures to prevent and remedy honour killings
Authors: จรรยพร จันทร์สุขสิริ
Advisors: วิทิต มันตาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Vitit.M@chula.ac.th
Subjects: อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (ค.ศ. 1979)
การฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ
การเลือกปฏิบัติต่อสตรี -- กฎหมายและรัเบียบข้อบังคับ
Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (1979)
Honor killings
Sex discrimination against women -- Law and legislation
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าในทางระหว่างประเทศจะมีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อันเป็นอนุสัญญาที่ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของสตรีมากที่สุดในขณะนี้ แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งปัญหาการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติให้หมดไปได้ ดังนั้นจึงต้องนำมาตรการของบรรดารัฐมาเพื่อเสริมมาตรการตามอนุสัญญาฯ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติต่อไป จากการวิเคราะห์มาตรการของบรรดารัฐในกลุ่มประเทศแถบเอเชีย อันได้แก่ ภูมิภาคเอเชียใต้ (ปากีสถาน อัฟกานิสถาน) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตุรกี จอร์แดน) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย ไทย) ทุกประเทศที่ยกมาล้วนแล้วแต่เป็นภาคีของอนุสัญญา CEDAW ซึ่งผู้เขียนได้นำมาตรการในระดับรัฐเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติจำแนกได้เป็นมาตรการ 8 ประภาร ได้แก่ การกำหนดคำนิยามและลักษณะการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ มาตรการในการป้องกันปัญหาการฆ่ารักษาเกียรติ มาตรการการบังคับใช้โดยเฉพาะในครอบครัวและชุมชน มาตรการด้านการลงโทษที่ได้ผลและขจัดการลอยนวล มาตรการการบริการที่เอื้อต่อเหยื่อการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ ดุลยภาพระหว่างการตีความทางศาสนาและการป้องกันความรุนแรงต่อสตรี มาตรการการเยียวยาและทรัพยากรที่เอื้อต่อเหยื่อ มาตรการการมีส่วนร่วมของสตรีและความสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
Other Abstract: Honour killings take place in many States. Although the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW) recognizes and protects the rights of women, problems still maintain. Therefore, case study from states should supplement measures of CEDAW to prevent and remedy honour killings. The analysis of the measures of the States in Asia include here South Asia : Pakistan, Afghanistan, Southwest Asia: Turkey, Jordan, and Southeast Asia: Indonesa, Thailand. Those countries are parties of CEDAW. The author underlines measures to prevent and resolve honor kilings to be classified into 8 measures as follows; definition and characteristics of honour killings; measures to prevent and preserve honour killings; enforcement measures especially in family and community; effective sanctions and punishment to the offender; measures that support sevices to victims of honour killings; equilibrium between the nterpretaion of religious and anti-violence against women, remedy and resources conduive to healing victims; on the participation of women and their relationships with family and community.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46731
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2032
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2032
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Janyapon_ja.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.