Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46879
Title: มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ของการต้องโทษจำคุกต่อผู้พ้นโทษ
Other Titles: Legal measures in preventing and mitigating the imprisonment effects on ex-convicts
Authors: สุริยะ สิทธิชัย
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
นัทธี จิตสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
nathee@correct.go.th
Subjects: โทษจำคุก -- การบรรเทาผลกระทบของผู้ต้องโทษ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ผลจากการต้องโทษจำคุก ทำให้เกิดมลทินหรือตราบาปติดตัวผู้พ้นโทษตลอดไป เปรียบเสมือนว่า พวกเขายังคงได้รับโทษจากสังคมโดยไม่มีสิ้นสุด จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่ผู้พ้นโทษจำคุกส่วนมากมักจะได้รับ คือ การได้รับการปฏิเสธจากสังคม การสูญเสียสิทธิและได้รับการจำกัดสิทธิบางประการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถูกจำกัดสิทธิในการทำงานไม่ว่าจะจำกัดโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งหน่วยงานเอกชน บริษัท ห้างร้าน ได้กำหนดไว้ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคในการกลับคืนสู่สังคมของผู้พ้นโทษจำคุกเป็นอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน วิธีการในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบของโทษจำคุกภายหลังที่ผู้กระทำผิดได้รับ การปลดปล่อยนั้น มีเพียงการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังการปลดปล่อย และบ้านกึ่งวิถีซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษในระยะแรกเท่านั้น ผู้เขียนเสนอว่าควรมีมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อผู้พ้นโทษจำคุก เพื่อขจัดไปซึ่งอุปสรรคในการปรับปรุงแก้ไขตนเองของผู้กระทำผิด และให้โอกาสในการกลับคืนสู่สังคม จึงควรกำหนดให้มีกฎหมายล้างมลทินในลักษณะที่เป็นประโยชน์ในแง่ของการ สงเคราะห์ผู้พ้นโทษ โดยปรับปรุงมาจากพระราชบัญญัติสงเคราะห์บุคคลผู้ที่ได้รับการพักการลงโทษ ผู้พ้นโทษ และเด็กผู้พ้นการฝึกอบรม พ.ศ. 2497 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พ้นโทษจำคุกเกิดความเชื่อมั่นในการกลับคืนสู่สังคม และสามารถดำรงชีวิตในฐานะพลเมืองดีโดยไม่กระทำความผิดซ้ำอีก
Other Abstract: Imprisonment can caused a stigma or blemish with ex-convicts forever. They still get punishment endlessly. From this thesis, the refuse to return to society is the most serious problem of the ex-convicts. The limitation and losing of some rights occur with them such as the limitation for working by its rules or other regulations of the companies or private sectors which is the great barrier to return to the society. In present, the method of prevention and mitigation the ex-convicts are only after-care service and halfway house where the first stage of assistant is given. The author suggests that we should have legal measures in prevention and mitigation for ex-convicts in order to eliminate the problem to rehabilitation and give them a chance to return to the society. Restoration of the rights is necessary for after-care service or should be the supporting of rehabilitation. Moreover, We should have an update after-care service law which can be amended from the after-care service act 1954. In order to enhance the self-confidence to return to society and can be survived easily without recidivism.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46879
ISBN: 9746338668
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suriya_si_front.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_ch1.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_ch2.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_ch3.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_ch4.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_ch5.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Suriya_si_back.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.