Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47226
Title: การประเมินผลความเป็นเมืองหลักของนครเชียงใหม่
Other Titles: An evaluation of Chiangmai city as a regional growth center
Authors: ศศิธร ยอดมงคล
Advisors: ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เมือง -- การเจริญเติบโต
เชียงใหม่ -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความเป็นเมืองหลักของเชียงใหม่ ว่าได้มีหน้าที่ตามบทบาทของเมืองหลักในแง่ของการกระจายความเจริญสู่พื้นที่ในเขตอิทธิพลได้หรือไม่โดยใช้กรอบการศึกษาตามแนวคิดทฤษฎีขั้วความเจริญ (Growth Pole Theory) ซึ่งเชื่อว่าถ้าเชียงใหม่สามารถเป็นขั้วที่จะกระจายความเจริญได้จะต้องเกิดความเจริญขึ้นที่เชียงใหม่ก่อนโดยภาคเศรษฐกิจของเชียงใหม่จะต้องมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลครอบงำต่อภาคเศรษฐกิจของจังหวัดในเขตอิทธิพลในการวิเคราะห์ใช้แนวคิดความเจริญเติบโตของภูมิภาค (Theory of Regional Economic Growth) เพื่อวิเคราะห์ระดับความเจริญของเชียงใหม่คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างภาคเศรษฐกิจของเชียงใหม่และจังหวัดในเขตอิทธิพลและใช้วิธีการหาค่าอัตราส่วนที่ตั้ง (LQ : Location Quatient )ในการหากิจกรรมที่เป็นฐานการส่งออกในแต่ละจังหวัดเพื่อพิจารณาทิศทางการค้าที่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าภาคเศรษฐกิจของเชียงใหม่มีความเจริญเติบโตในระดับสูงโดยมีพื้นฐานมาจากการขยายตัวของภาคบริการเป็นหลักส่วนจังหวัดในเขตอิทธิพลนั้นมีลักษณะการพัฒนาตามทิศทางเศรษฐกิจพื้นฐานในแต่ละจังหวัดความเจริญโดยส่วนใหญ่เกิดจากศักยภาพที่มีอยู่ประกอบกับการส่งเสริมจากภาครัฐ ภาคเศรษฐกิจของเชียงใหม่และเขตอิทธิพลมีความสัมพันธ์กันในระดับหนึ่งโดยเชียงใหม่เป็นผู้ส่งออกในภาคบริการ ในขณะเดียวกันจะเป็นผู้นำเข้าผลผลิตขั้นปฐมภูมิจากจังหวัดในเขตอิทธิพลเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งและส่งออกไปสู่ภูมิภาคอื่นอีกส่วนหนึ่งหากแต่สัดส่วนการนำเข้าไม่สูงนักเนื่องจากเชียงใหม่สามารถผลิตได้เองในระดับหนึ่ง จากการศึกษาสรุปได้ว่าเชียงใหม่ได้ทำหน้าที่ของเมืองหลักตามที่ได้กำหนดบทบาทไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ในแง่ของการเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ การท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือตอนบนและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับจังหวัดลำพูน แต่เมือพิจารณาถึงบทบาทของเมืองหลักตามแนวคิดขั้วความเจริญพบว่าเชียงใหม่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นขั้วที่จะกระจายความเจริญสู่พื้นที่ในเขตอิทธิพลนัก เนื่องจากความเป็นจุดศูนย์กลางของเชียงใหม่ได้ดึงดูดทรัพยากรและส่วนเกินในภาคเศรษฐกิจเข้ามาสู่เชียงใหม่มากกว่าที่จะกระจายไปสู่เขตอิทธิพลการพัฒนาตามแนวคิดขั้วความเจริญก่อให้เกิดการกระจุกตัวของความเจริญในระยะหนึ่งซึ่งรัฐควรเข้ามาแทรกแซงในการกำหนดศักยภาพพิเศษให้กับจังหวัดในเขตอิทธิพลเพื่อรองรับความเจริญที่เกิดขึ้นและเป็นการเร่งให้ความเจริญกระจายตัวออกสู่พื้นที่ในเขตอิทธิพลด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to study Chiang Mai as a regional growth center to evaluate the role and function of the city Chiang Mai whether or not to spreads economic influence over its hinterland. The theoretical frame work of this study is “The Growth Pole Theory” which tells that for Chiang Mai to be the growth pole, Chiang Mai has to grow first and Chiang Mai economy has to have economic relation and influence over its hinterland. This study use The Theory Regional Economic Growth to analyze the level of Chiang Mai growth, estimation the correlation coefficients for testing the economic relation between Chiang Mai and hinterland and use Location Quatient Method to find economic base of each province to analyze the commercial trend that occurs in this study area. The results are suggests that Chiang Mai economic has high growth stimulate by the expansion of service sector. The hinterland have developed according to economic base of each province. In almost every province the growth occured from potential it has plus the Government support. Chiang Mai economy and hinterland have quite close relation because Chiang Mai serves as the service exporter at the same time it imported the primary product from its hinterland for use in industrial and reexport to the other region but the rate of import is not high because Chiang Mai can also produce in the same output. It may be concluded that Chiang Mai has served its role as anticipated in The Economic and Social development plan No.6th as the center of commercial, Service, Traveling area in the Upper North and source of industrial link to Lumphun. On the other hand, when considered its role as envisioned by The Growth Pole Concept, Chiang Mai did not be succeeded to be the efficiency growth pole as the role of center, it absorbed the resource and excess in economics of its hinterland more than expanded to them. The development by Growth Pole Concept generated the polalization effects, so The Government should intervene to set the special potential for the hinterland economies, to prepare for the growth that will takeplace and to accerelate the expansion of growth to these area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47226
ISBN: 9746320521
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn_yo_front.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch4.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch5.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_ch6.pdf541.32 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_yo_back.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.