Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47249
Title: การแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด
Other Titles: Procedure of conversion of public limited company into private limited company
Authors: บุญยวัฒน์ การะเวกพันธุ์
Advisors: สำเรียง เมฆเกรียงไกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Samrieng.M@chula.ac.th
Subjects: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
กฎหมายบริษัท
บริษัทมหาชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Public Limited Company Act of B.E. 2535
Corporation law
Public companies -- Law and legislation
Issue Date: 2550
Abstract: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มุ่งส่งเสริมตลาดทุน โดยอนุญาตให้บริษัทจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากภาคประชาชน แปรสภาพหรือเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อนำเงินมาใช้ในการบริหารจัดการให้ได้ผลกำไร แต่ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทมหาชนจำกัดที่ไม่ประสงค์จะดำรงสถานะในรูปแบบดังกล่าว และต้องการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด กฎหมายยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการของบริษัทและไม่สะท้อนหลักธรรมชาติขององค์กรธุรกิจ ที่จะต้องเลือกสถานะให้เหมาะสมสำหรับการสร้างกำไรสูงสุด วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของการนำมาตรการแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด มาใช้ในประเทศไทย มาตรการในการนำมาใช้ให้เกิดความเหมาะสม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายต่อไป จากการวิจัยพบว่า การนำมาตรการแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัดเป็นบริษัทจำกัดมาใช้ ย่อมเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจตามความประสงค์ของผู้ถือหุ้นของบริษัท ที่อาจมองว่าบริษัทไม่ได้รับประโยชน์จากการดำรงสถานะในรูปของบริษัทมหาชน ลักษณะดังกล่าวเป็นการสร้างความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้แก่องค์กรต่างๆ ในการเลือกสถานะที่เหมาะสม และสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรและผู้เกี่ยวข้องของบริษัท พร้อมกันนี้ได้เสนอมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัดเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย ดังนี้ (1) บริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะแปรสภาพจะต้องไม่มีหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และจะต้องขอมติพิเศษให้แปรสภาพจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น (2) เนื่องจากการแปรสภาพจากองค์กรขนาดใหญ่ที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดสู่องค์กรขนาดเล็กที่ระเบียบกฎเกณฑ์ไม่เข้มงวดนัก อีกทั้งการบริหารจัดการมีข้อจำกัดมากกว่า ย่อมมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ได้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท เจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพ รวมถึงลูกจ้างของบริษัท ดังนั้นกฎหมายจะต้องมีมาตรการในการให้ความคุ้มครองผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ อาทิเช่นการพิจารณาถึงเงื่อนเวลาในการดำรงสถานะเป็นบริษัทมหาชนก่อนการแปรสภาพ การคุ้มครองผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับการแปรสภาพ การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทซึ่งการแปรสภาพอาจส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ การกำหนดสิทธิของผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่อาจมีได้ในบริษัทจำกัด การคุ้มครองลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทที่อาจถูกเลิกจ้าง เป็นต้น (3) บริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิจารณาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท ให้เป็นไปตามที่กฎหมายที่ใช้บังคับกับบริษัทจำกัดกำหนดไว้ รวมถึงการเลือกตั้งกรรมการและผู้สอบบัญชีของบริษัทจำกัด และจะต้องนำความทั้งหมดไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท การแปรสภาพจึงมีผลสมบูรณ์
Other Abstract: Intending to promote capital market, Public Limited Company Act of B.E. 2535 allows a private limited company, which desires to mobilize funds from public, to convert or change its status into public limited company to utilize money for profit. On the other hand, the public limited company which desires to return its status into private limited company is unable to do so due to no permission by law. As a result, it may obstruct the operation of the company as well as not reflect the nature of business organization which has to choose the suitable structure for the maximum profit. This thesis aims to study the advantages and disadvantages of application of conversion of public limited company into private limited company in Thailand. It purposes to find the clear, efficient, and appropriate measure as a guideline for further enactment. From the study, it is found out that the conversion of public limited company into private limited company is benefit for the business especially for the shareholder who opines that the company should not be a public limited company. This will make the company more flexible. Additionally, it suggests the legal measure regarding the conversion as follows: (1)The public limited company which desires to convert shall not have any securities traded in any stock market and shall obtain shareholders' approval by special resolution for alteration. (2)The interested persons such as shareholders, creditors, bondholders, convertible securities holders and employees will undoubtedly have effects from the alteration from a large organization with strict regulation to a smaller and less-regulated company. Moreover, the management is more limitation; therefore, it should provide some protection to them such as the duration clause about being a public limited company before conversion, the protection to the shareholders who raise an objection to the conversion, the protection to creditors and bondholders who may be affected on the payment of debts, the prescription of convertible securities holders’ right and the protection to employees who may be laid off. (3)The company shall call another meeting for reviewing of Memorandum of Association and Articles of Association. They shall be suitably amended to comply with the applicable law and to include the election of directors and auditor. Thereafter they shall be filed with the Registrar in order to complete the conversion.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47249
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.374
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.374
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonyawat_ka_front.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_ch1.pdf686.83 kBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_ch2.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_ch3.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_ch4.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
boonyawat_ka_back.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.